เครือข่ายการดำเนินงาน : การทำงานเป็น(ทีม)เครือข่าย

  • photo  , 960x540 pixel , 59,346 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 59,625 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 72,695 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 38,989 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 65,821 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 32,632 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 71,571 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 55,590 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 41,667 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 52,674 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 55,776 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 56,590 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 61,770 bytes.

"เครือข่ายการดำเนินงาน"

ประชุมทีมทำงานประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒ นัดหมายลงข้อมูลพื้นฐานประกอบการดำเนินงานในโครงการสำคัญที่จะดำเนินการใน ๒ ปี

เป้าหมายสำคัญ วางไว้ ๓ ประการได้แก่ ช่วยชาวสวนยางให้พออยู่พอกิน ส่งเสริมเกษตรสุขภาพ และตลาดอาหารสุขภาพ

๒ปีที่ผ่านมา กขป.(คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน)กำหนดเป้าหมาย ทีมกลางได้ Mapping ภาคีเครือข่ายภาครัฐ ท้องถิ่น วิชาการ เอกชน ประชาสังคม ชุมชน ให้เห็นบทบาทภารกิจและพื้นที่ปฎิบัติการ จากนั้นได้นำมาประชุมเชิงปฎิบัติการ กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงาน และจัดตั้งอนุกรรมการและคณะทำงานเพื่อประสานการขับเคลื่อนงาน จุดที่น่าสนใจก็คือ ทีมได้ย่อยยุทธศาสตร์ออกมาเป็นรูปของโครงการสำคัญ ประกอบด้วย

๑.โครงการสุขภาวะชาวสวนยาง ดำเนินการสำรวจและรวบรวมกรณีศึกษาพื้นที่ต้นแบบ และรูปแบบการผลิต การแปรรูป การตลาด ที่มีการดำเนินงานส่งเสริมให้เกิดสวนยางยั่งยืน เน้นการผลิตที่สร้างระบบนิเวศเป็นองค์กรวมมากกว่าเชิงเดี่ยว มีการปลูกแบบวนเกษตร ผสมผสาน สมรม ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ เสริมพืชอัตลักษณ์ประจำถิ่น เพิ่มพืชเศรษฐกิจใหม่ลดความเสี่ยงจาการพึ่งพิงยางพารามากเกินไป มีการผลักดันเชิงนโยบายจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวสวนยาง

๒.โครงการเฝ้าระวังสารเคมีอันตราย ร่วมกับ Thai pan สำรวจผักผลไม้ในตลาดสำคัญของพื้นที่ ส่งแลปต่างประเทศที่น่าเชื่อถือ นำเสนอผลการตรวจสอบสารปนเปื้อนสู่สาธารณะ รณรงค์เผยแพร่ความรู้ให้กับชุมชน สังคม นำความรู้เข้่าสู่ระบบการศึกษา

๓.โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมเชิงอัตลักษณ์ เน้นการค้นหาพื้นที่ต้นแบบที่มีการรวบรวมเมล็ดพันธุ์ การคัดเมล็ดพันธุ์ การจัดทำธนาคารเมล็ดพันธุ์ เน้นการต่อยอดยกระดับพืช ผลผลิตอาหารที่มาจากพันธุกรรมเชิงอัตลักษณ์ของพื้นที่ใน ๗ จังหวัด

๔.โครงการส่งเสริมเกษตรเพื่อสุขภาพ ดำเนินการทั้งเรื่องข้าว ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ อาหารแปรรูป ฯลฯ ในเขตเมืองนำแนวทางสวนผักคนเมืองมาขยายผลให้เกิดการผลิตในระดับครัวเรือน เขตชุมชนเน้นการสร้างตวามร่วมมือกับศูนย์เรียนรู้ กองทุนสุขภาพ ท้องถิ่น เกษตร ขยายผลการผลิต เน้นการปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน ผสมผสานกับการปลูกและผลิตเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้และผู้ประกอบการใหม่

๕.โครงการส่งเสริมการตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ เน้นกิจกรรมทัวร์สุขภาพหรือท่องเที่ยวเชิงเกษตร นำผู้บริโภคไปพบผู้ผลิตถึงแหล่งผลิต มีตลาดระดับชุมชน ตลาดในรพ. ศูนย์เด็กเล็ก และตลาดกลางระดับอำเภอที่มีฐานผู้บริโภคมากๆ เชื่อมโยงส่งต่อระบบการรวบรวมและส่งผลผลิต ทำการตลาดในรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม

๖.โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาและสื่อสารสารสนเทศ รวบรวมข้อมูลกรณีศึกษา ต้นแบบ ศึกษาสถานการณ์ปัญหา นำไปต่อยอดเป็นงานวิจัย สื่อสารกับสังคมและนำไปขยายผลเชิงนโยบาย

แนวทางขับเคลื่อนสำคัญก็คือบูรณาการเป้าหมายร่วมกับภาคีเครือข่ายเชิงยุทธศาสตร์แต่ละภาคส่วนเพื่อให้เกิดการสร้างรูปธรรมร่วมกัน ประสานความร่วมมือในเชิงพื้นที่ปฎิบัติการ และผลักดันเชิงนโยบายเพื่อแสวงหางบประมาณและการแก้ไขเชิงระบบ จากนี้จะจัดทำแบบฟอร์มให้แต่ละเครือข่ายทั้ง ๗ จังหวัดเพิ่มเติมรายละเอียด จัดทำแบบฟอร์มข้อมูลพื้นฐานผลผลิตการเกษตรแต่ละชนิดที่เป็นพันธุกรรมเชิงอัตลักษณ์ จัดทำฐานข้อมูลเผยแพร่ใน www.AHsouth.com คู่ขนานกับการสัญจรลงพื้นที่ ต่อไปนัดพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๒

เรียนรู้ เติมเต็ม ต่อยอด ขยายผล

เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตสุขภาพของทุกคน

Relate topics