"หาดใหญ่ sandbox : ๙ เดือน ๙"

  • photo  , 1366x768 pixel , 105,957 bytes.
  • photo  , 1706x959 pixel , 117,863 bytes.
  • photo  , 1706x959 pixel , 159,403 bytes.
  • photo  , 1706x959 pixel , 150,326 bytes.
  • photo  , 1706x959 pixel , 191,947 bytes.

"หาดใหญ่ sandbox : ๙ เดือน ๙"

วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๔

ภาคเช้า ทีมเข้าประชุมร่วมกับนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ สสอ. ภาคเอกชน หารือแนวทางดำเนินการต่อไป

๑.นายกสาครแจ้งว่าสถานการณ์ของเทศบาลนครหาดใหญ่ รายได้ลดลง ๔๐๐ ล้านบาทจากการขาดหายไปของการจัดเก็บภาษีจากมาตรการต่างๆของภาครัฐ ทางเทศบาลกำลังเตรียมรับมือน้ำท่วมไปพร้อมกับรับมือโควิดที่มีศูนย์บริหารจัดการโควิด ปัจจุบันมีรถบริการ ๕ คันที่พร้อมอำนวยความสดวก มีการตั้งกองทุนรับบริจาคความช่วยเหลือมีเงินราว ๖ แสนบาท ได้มีการสั่งจองวัคซีนชิโนฟาร์ม ๖ หมื่นกว่าโดส กระจายไปให้แต่ส่วน มีโรงแรมเป็นศูนย์พักคอยกว่า ๒๐ แห่ง ที่จะช่วยสร้างรายได้ร่วมกับร้านค้าส่งอาหารเลี้ยงผู้พัก

๒.แนวทางขับเคลื่อน ทางเทศบาลเสนอให้เดินหน้า ในพื้นที่รับผิดชอบของทน.หาดใหญ่เป็นระยะที่ ๑ คู่ขนานกับการผลักดันเชิงนโยบายไปยังจังหวัดและศบค.ระดับชาติ ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการต่อไปนี้

๒.๑ ชี้แจงทำความเข้าใจแนวคิดของหาดใหญ่ sandbox ที่ยังเข้าใจว่าเป็นเหมือนภูเก็ตรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ อาจเปลี่ยนชื่อเพื่อลดความสับสน ผ่านแนวคิด smart&clean

๒.๒ ให้มีสถานประกอบการนำร่อง ประเดิมด้วยร้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีความพร้อม และประกาศรับสมัครผู้เข้าร่วมสู่ระยะที่ ๒ ในแต่ละกิจการต่อไป สถานประกอบการที่เข้าร่วมจะได้สิทธิในเรื่องวัคซีนให้พนักงาน การสมทบงบในการตรวจเชื้อผ่าน ATK ได้ประชาสัมพันธ์ในฐานะสถานประกอบการต้นแบบ พร้อมแคมเปญการตลาดร่วมกับเครือข่าย รายละเอียดเหล่านี้จะมีการนำเสนอให้ชัดเจนอีกครั้ง รวมถึงมาตรการในส่วนประชาชนที่เข้าใช้บริการ มีความเห็นหลากหลาย ทีมอาสาจะไปร่วมคิดมาตรการมาเสนออีกครั้ง

๒.๓ ในส่วนชมรมผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่ม ได้จัดทำคู่มือสำหรับสมาชิกเพื่อใช้ประกอบการบริการแบบ New normal service ซึ่งแต่ละแห่งแต่ละประเภทจะไม่เหมือนกัน ต้องการให้เน้นวัคซีนในกลุ่มเสี่ยง เช่น หาบเร่แผงลอย แรงงานต่างชาติที่เป็นลูกจ้าง(เดือนตุลาคมทางกระทรวงแรงงานจะจัดวัคซีนลงมาให้สงขลาในกลุ่มนี้ที่ยังไม่มีเจ้าภาพ)มาตรการป้องกันที่แตกต่างระหว่าง ร้านขนาดเล็ก/ใหญ่ ที่โล่ง/ติดแอร์ ร้านโชว์ห่วย ตลาดนัด ตู้เกมส์ ฯลฯ

๒.๔ บ.iNet ได้พัฒนาระบบ ATK screening โดยเริ่มทดสอบกับห้างไดอาน่า ตลาดกรีนเวย์ ให้ความมั่นใจว่าจะสามารถพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกให้กับเมืองได้

๒.๕ การดำเนินการทำไปปรับไปภายใต้ข้อจำกัดเรื่องวัคซีน ให้ยืดหยุ่น แต่จะนำไปสู่การเปิดเมืองอย่างยั่งยืน สร้างความน่าเชื่อถือได้ สร้างมาตรฐานใหม่ของเมือง

ภาคค่ำ มีการนัดหารือต่อมีข้อสรุปสำคัญ

๑.ประเมินความพร้อมของการดำเนินการท่ามกลางข้อจำกัดของวัคซีน และผู้ใช้บริการ ที่จะต้องสมดุลกับการสร้างความเชื่อมั่นต่อการดำเนินการที่จะต้องให้ทันกับเวลาการเปิดเมือง ความสนใจของผู้คน

๒.จะมีการนัดแถลงข่าว คิ๊กออฟด้วยกันในวันที่ ๙ เดือน ๙ เปิดตัวร้านค้าเครื่องดื่มและร้านอาหารที่พร้อมจะนำร่อง "มาตรการสถานที่ปลอดภัย" เพื่อเป็นตัวอย่างสร้างการเรียนรู้ สื่อสารกับสังคม โดยเฉพาะในกลุ่มร้านค้าที่มีผู้ใช้บริการมาก ประเดิมในระยะที่ ๑ ไม่จำเป็นต้องมาก(แลกกับสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ) พร้อมนำเสนอความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆของเมือง สาธิตระบบ รับสมัครผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมในระยะที่ ๒ ควรทำงานผ่านองค์กรของแต่ละสถานประกอบการ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งภายใน

๓.ในส่วนของลูกค้า ระยะที่ ๑ จะยืดหยุ่นตามมาตรการของศบค.จนกว่าจะมีข้อมูลหมอพร้อมเข้าระบบของ onechat และมี ATK เพียงพอ ค่อยเพิ่มมาตรการมากขึ้นในแต่ละสัปดาห์ตามความพร้อมของวัคซีนและ ATK

๔.จัดระบบทีม ประกอบด้วย ๔ ทีม ได้แก่ ทีมประชาสัมพันธ์ ทีม data center ทีม hatyai smart&clean ทีมติดตามประเมินผล ประสานสมาชิกตามรายชื่อคณะทำงานโครงการและสื่อสารการนัดหมายเพื่อให้เครือข่ายที่สนใจเข้าร่วมไปจัดทำรายละเอียดของแต่ละส่วนมานำเสนอกันในวันจันทร์ที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๔

Relate topics