เรียนรู้ "ธรรมนูญตำบลท่าข้าม" ร่วมขับเคลื่อนธรรมนูญตำบลน่าอยู่

  • photo  , 960x720 pixel , 82,224 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 98,835 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 84,687 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 86,907 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 84,846 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 75,953 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 83,521 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 73,476 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 72,013 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 87,091 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 56,600 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 80,315 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 63,086 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 100,901 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 53,481 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 71,986 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 75,974 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 69,044 bytes.

"ธรรมนูญตำบลท่าข้าม"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

วันนี้ชวนทีมวิทยากรจากพื้นที่ ๗ จังหวัดภาคใต้ตอนล่างมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่ด้วยกระบวนการธรรมนูญสุขภาพ

เริ่มตั้งแต่นายกสินธพแนะนำพื้นที่ สถานที่ตั้งและสำนักงานที่มาจากการมีส่วนร่วม เน้นการนำวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นมาออกแบบ ให้ผู้เข้าร่วมแสดงความคาดหวัง ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการนำประสบการณ์การทำธรรมนูญสุขภาพจากตำบลท่าข้ามมาต่อยยอดในฐานะงานวิทยากรที่จะต้องเป็นพี่เลี้ยงไปช่วยดำเนินการในพื้นที่ จากนั้นก็มาดูนิยามธรรมนูญร่วมกัน ซึ่งมีได้ตั้งแต่ระดับการสร้างนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ตำบล การทำกติกาชุมชน ข้อตกลงชุมชน มาตรการทางสังคม แล้วแต่ว่าจะให้ความหมายอย่างไร บนฐานพื้นที่เป็นฐาน

จากนั้นเรียนรู้การทำธรรมนูญสุขภาวะตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นำโดยนายกสินธพตั้งแต่การตั้งคณะกรรมการ การวิเคราะห์ตัวเอง ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในแต่ละด้าน กำหนดเป้าหมายร่วมการจัดทำธรรมนูญ การรวบรวมข้อมูลสภานการณ์ ศักยภาพ การยกร่างในพื้นที่หมู่บ้านนำร่อง การขยายผลทำแบบสอบถามระดับครัวเรือน การประชาพิจารณ์ และจัดงานประกาศใช้ธรรมนูญ มาจนนำมาสู่การขับเคลื่อนด้วยการแบ่งงานกัน ในส่วนท้องถิ่นก็จะมีภาระหน้าที่ในบางหมวดบางข้อดำเนินการ พร้อมยกตัวอย่าง

ผู้เข้าร่วมได้เห็นตัวอย่างรูปเล่ม ธรรมนูญแต่ละข้อที่เข้าใจง่าย ปฎิบัติได้ไม่ยาก จากนั้นแต่ละจังหวัดได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางดำเนินการ เทคนิคกระบวนการมีส่วนร่วม
ข้อห่วงกังวล ข้อเสนอแนะร่วม มีทั้งจังหวัดที่ยังไม่ได้ดำเนินการ หรือดำเนินการไปบ้างแล้ว

จุดเน้นก็คือ การค้นหาพื้นที่ซึ่งปราถนาอย่างจริงจัง เชื่อมั่นในเครื่องมือธรรมนูญ ระบบทีม การค้นหาปัญหาร่วม ประเด็นร่วมบนฐานการมีส่วนร่วมและการใช้ความรู้ประกอบการยกร่าง การเรียนรู้เช่นนี้จะช่วยหลอมรวมทำให้รับรู้และเข้าใจการทำธรรมนุญตำบลน่าอยู่มากขึ้น พร้อมจะนำบทเรียนที่ได้ไปปรับกระบวนการทำงาน

จบปิดท้ายด้วยการหารือแนวทางหนุนเสริมการทำงานกันและกัน สร้างช่องทางติดต่อ ช่องทางประชาสัมพันธ์กิจกรรมกลางของเครือข่ายพื้นที่ ๗ จังหวัดใต้ล่าง(เขต ๑๒)

"เรียนรู้ เติมเต็ม พัฒนา ต่อยอด ขยาย"

Relate topics