"จากนโยบายโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยสู่การพัฒนาพื้นที่กลางร่วมพัฒนางานเกษตรสุขภาพอย่างเป็นระบบ"

  • photo  , 960x539 pixel , 63,092 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 61,336 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 55,369 bytes.

"โรงพยาบาลอาหารปลอดภัย"

วันที่ 11 สิงหาคม 2564  นายชาคริต โภชะเรืองเข้าร่วมนำเสนอข้อมูลในฐานะมูลนิธิชุมชนสงขลาและเลขานุการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 12

ในงานสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขจัดการประชุมแลกเปลี่ยนการดำเนินงานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย

ร่วมนำเสนอในฐานะพื้นที่จังหวัดสงขลา บอกเล่าการทำงานส่งเสริมเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพในพื้นที่จังหวัดและเขต 12

กิจกรรมนี้มีตั้งแต่ปี 2549 มายกระดับเป็นนโยบายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องมาร่วมดำเนินการในปี 2560 โดยมุ่งหวังให้โรงพยาบาลซึ่งจำเป็นจะต้องจัดทำเมนูอาหารสุขภาพดูแลผู้ป่วย บุคลากร และญาติผู้ป่วย

คณะทำงานอาหารปลอดภัยระดับจังหวัดและเครือข่ายโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยเขต 12 ได้วางแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาผลผลิตที่มียังไม่เพียงพอ ไม่ต่อเนื่อง ติดขัดชุดทดสอบสารปนเปื้อน และการหนุนเสริมสภาพคล่องให้กับเกษตรกรรายย่อย สงขลาเองทางสสจ.ได้ประสานเครือข่ายเกษตรกรมาร่วมดำเนินการแต่ปรากฏว่าส่งผลผลิตได้รอบเดียวก็ขาดความต่อเนื่อง

ต่อมาได้พยายามทำมาตรฐานอาหารปลอดภัยGAPและเกษตรอินทรีย์ PGS มาตรฐานผัก PACK ณ โรงคัดแยกให้มีบรรจุภัณฑ์สามารถสอบย้อนกลับผลผลิต รวมถึงให้แต่ละโรงพยาบาลจัดทำนโยบายของตนขึ้นมาสนับสนุน อีกทั้งส่งเสริมตลาดกรีนในพื้นที่ มีการจัดอบรมและจัดชุดทดสอบสารปนเปื้อนในสงขลา 4 โซน (ปีที่ผ่านมาตรวจได้ 670 ตัวอย่าง) และยกระดับรพ. Green&Clean พลัส(ดีมาก)

รพ.หาดใหญ่ เป็นพื้นที่เด่นที่สามารถดำเนินกิจกรรมดังกล่าวมาตั้่งแต่ปี 2562 ที่นี่มีขนาดเตียง 800 เตียง จัดทำเมนูอาหารให้ผู้ป่วย x 3 มื้อต่อวัน มีคนไข้ บุคลากร 3-4000 คนต่อวัน ประกอบกับอยู่ใกล้ตลาดสด เหล่านี้คือโจทย์พื้นฐานก่อนดำเนินการแก้ไขระเบียบพัสดุการเงิน ประสานเครือข่ายทั้งมาตรฐาน GAP ส่งผลผลิตเข้าสู่โรงครัวและมาตรฐาน PGS เปิดตลาดกรีนสมาย พร้อมทีมลงตรวจถึงแปลงเกษตรกร และมีการทดสอบ ณ โรงพยาบาลเป็นระยะ ในส่วนของการส่งผลผลิตอาหารปลอดภัยมาตรฐาน GAP มีวิสาหกิจคนกลางที่เข้ามาเป็นคนกลางรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรมาสู่โรงครัว สงขลามี 2 เจ้า คือวิสาหกิจกล้วยหอมทองระโนดและจะนะ สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่กันยายน ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน ผลการดำเนินการดังกล่าว บวกกับการบริหารสต็อค ทำให้โรงพยาบาลลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงกว่า 3 ล้านบาทต่อปี

ความสำเร็จของการส่งผลผลิตเข้าสู่โรงครัวมาจากคนกลางที่มีระบบขนส่งที่แต่ละวันนำผลผลิตเข้าสู่ร้านสะดวกซื้อ ทำให้สามารถพ่วงผลผลิตมาสู่โรงครัวได้อย่างต่อเนื่อง และยังจ่ายเงินสดให้กับเกษตรกร รับซื้อผลผลิตทั้งหมดอีกด้วย ทำให้เกษตรกรเกิดความเชื่อมั่น สามารถทำการผลิตและส่งผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง เฉพาะของวิสาหกิจกล้วยหอมทองมีสมาชิกเกษตรกร 80-100 รายที่เข้าสู่ระบบ มีเงินหมุนเวียนเดือนละประมาณ 5 แสนบาท และยังจัดส่งวัตถุดิบไปให้โรงพยาบาลอื่นๆในสงขลาอีก 7 แห่ง อนาคตจะขยายส่งให้กับโรงแรม โรงเรียน ร้านอาหาร โรงงานอีกด้วย

ในส่วนของมูลนิธิชุมชนสงขลาได้ดำเนินการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่ก่อนก่อตั้งมูลนิธิฯ ปี 2547 ต่อมาได้จัดตั้งกลุ่มสวนผักคนเมือง ดำเนินกิจกรรมเรื่อยมาจนเข้าไปทำตลาดกรีนโซนกับกรีนเวย์ในปี 2560 และพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกษตรกรร่วมกับสนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพื่อรวบรวมข้อมูลเกษตรกรเป้าหมายรายคน และจัดทำแอพพลิเคชั่น Greensmile ร่วมกับธกส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคใต้ตอนล่าง เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร การทำสวนยางยั่งยืน ธนาคารต้นไม้ และได้ร่วมมือกับเครือข่ายจัดตั้งเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดและเริ่มทำมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SGS-PGS จนนำมาสู่การเปิดตลาดกรีนสมายกับรพ.หาดใหญ่ และเปิดตลาดรถเขียวที่เป็นตลาดเคลื่อนที่

ปี 64 เป็นต้นไป มูลนิธิชุมชนสงขลาและคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 12 จะยกระดับการส่งวัตถุดิบอาหารปลอดภัยสู่โรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้นด้วยความร่วมมือกับสนง.นวตกรรมแห่งชาติ จัดทำPlatform iGreenSmile เพื่อดำเนินการเรื่องนี้โดยเฉพาะผ่านรูปแบบตลาดล่วงหน้า นำโรงพยาบาล เกษตรกร คนกลาง และหน่วยงานมาทำงานบนระบบเดียวกัน เพื่อให้สามารถส่งเสริมสนับสนุนได้ครบกระบวนการ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

Relate topics