๕ หุ้นส่วนของ อปท. ต่อระบบสุขภาพไทย

  • photo  , 1000x513 pixel , 103,567 bytes.
  • photo  , 1920x1080 pixel , 140,779 bytes.
  • photo  , 1920x1080 pixel , 96,836 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 100,953 bytes.
  • photo  , 1920x1080 pixel , 190,089 bytes.
  • photo  , 1920x1080 pixel , 149,039 bytes.
  • photo  , 1920x1080 pixel , 190,535 bytes.
  • photo  , 1000x527 pixel , 96,548 bytes.

๕ หุ้นส่วนของ อปท. ต่อระบบสุขภาพไทย

วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔  เปิดเวทีรับฟังความเห็นจากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ๓๒ จังหวัด นายกเทศมนตรี ๑๘ แห่ง และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ๔๕ แห่ง เพื่อร่วมกันยกร่างธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ ๓

ตัวแทนผู้บริหารท้องถิ่น ที่เข้าร่วมอาทิ พล ต.ท. คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี , อทิตาธร วันไชยธนวงค์ นายก อบจ. เชียงราย, สมทรง พันธ์ุเจริญวรกุล นายก อบจ. พระนครศรีอยุธยา , ดร.ภาณุวุธ บูรณพรหม นายก อบต. ผาสิงห์ น่าน , นายกสินธพ อินทรัตน์ อบต.ท่าข้ามสงขลา เป็นต้น

มี ๕ ประการที่จะสะท้อนให้เห็นความเป็นเจ้าของในระบบสุขภาพที่ทุกภาคส่วน ต้องมาร่วมกันวางระบบไปด้วยกัน ได้แก่

๑."คนท้องถิ่น" ต่างก็มองสุขภาพในวงกว้าง คือ ไม่ใช่แค่สุขภาพกาย แต่ไปถึงสุขภาพจิต สังคม ปัญญา เช่นพูดถึงการมีสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ในสังคมที่ดี คนในชุมชนมีจิตใจดี มีสติ มีความตระหนักรู้ รู้ผิดรู้ชอบ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นคุณค่าของกันและกัน หรือมีมิติของสุขภาพทางปัญญาที่ดีร่วมด้วย

๒.ช่วงวิกฤต covid-19 ท้องถิ่นได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าได้ทุ่มเทสรรพกำลังในทุกๆ ด้านที่จะช่วยให้วิกฤตเบาบางลง เห็นได้ชัดว่าการดูแลกันเองในชุมชน การจัดการตนเองได้ในทุกๆ เรื่องจะคลี่คลายวิกฤติได้ดี

๓.ความเห็นในธรรมนูญสุขภาพ ฉบับที่ ๓ ที่กำลังรับฟังอยู่นี้ ควรนำมาเป็นกรอบ ทิศทาง ยุทธศาสตร์ และเป็นภาพพึงประสงค์ของระบบสุขภาพร่วมกัน แต่ต้องได้รับการยอมรับ จึงจะนำไปใช้อ้างอิงในการทำงานได้ ดังนั้น กระบวนการจัดทำจึงต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง รวมถึงข้อมูลที่ได้ก็ต้องมีหลักฐานเชิงประจักษ์หรือข้อมูลวิชาการสนับสนุนด้วย

๔.ตระหนักว่าท้องถิ่นและชุมชนนั้นมีศักยภาพและทรัพยากรมากมาย ทั้งในเรื่ององค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สมุนไพร กลไก แผน และงบประมาณ รวมถึงคนในท้องถิ่นเอง ก็ให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันควบคุมโรค เช่นนี้ กฏ ระเบียบ ที่เก่าแก่ ไม่ทันการ เคร่งครัด รัดตัว ต้องปรับปรุง ให้สอดคล้องกับการทำงานในยุคปัจจุบัน

๕."รัฐบาลท้องถิ่น" เราสามารถคิดค้น วางระบบการทำงานได้ด้วยตนเอง เน้นประโยชน์สูงให้กับคนในชุมชน เน้นการดูแล "คุณภาพชีวิต" ทุกมิติ บางประการไม่ต้องรอรัฐส่วนกลางไฟเขียว เราควรมีกติกาของเราเอง มีธรรมนูญของคนในชุมชน เช่นนี้จึงจะเป็นองค์กรของท้องถิ่น ทำเพื่อชุมชนที่แท้จริง


บัณฑิต มั่นคง สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชา่ติ

บันทึกเรื่องราว

Relate topics