23 ภาคีความร่วมมือร่วมแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่และการแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดนราธิวาส

  • photo  , 960x460 pixel , 52,834 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 68,932 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 62,238 bytes.
  • photo  , 960x460 pixel , 56,634 bytes.
  • photo  , 960x460 pixel , 56,016 bytes.
  • photo  , 960x460 pixel , 50,456 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 50,562 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 54,743 bytes.

พิธีลงนามความร่วมมือ โครงการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่และการแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดนราธิวาส ระหว่าง มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กับภาคีความร่วมมือในจังหวัด 23 หน่วยงาน

ภายใต้โครงการวิจัยและนวตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่ยำ โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด นายบุญพาศ รักนุ้ย มาเป็นประธาน ในวันที่ 22 กันยายน 2564 ณ ห้องประชุม ดร.จงรัก พลาลัย สำนักงานอธิการบดี  ในจำนวน 23 หน่วยงาน และมีนายอำเอภ 3 อำเภอร่วมลงนามเป็นพยานในการขับเคลื่อนกระบวนการ

โดยมีกลุ่มเป้าหมายคนจนจากระบบฐานข้อมูล จำนวน 17,449 คน ทั้ง 13 อำเภอของจังหวัด สามารถแยกประเภทได้ 4 กลุ่ม คือ

1.หน่วยงานรัฐ ที่ทำหน้าที่แกไขปัญหาความยากจน

2.หน่วยงานเอกชนที่สนับสนุนชุมชน

3.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และ

4.หน่วยงานที่ทำงานกับชุมชน(พอช.)

จากระบบที่ผ่านมาในพื้นที่ 3 จังหวัดประสบปัญหาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มคนยากจนทั่วไป กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากความมั่นคง และกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด 19

โดยมีหน่วยวิชาการเป็นแม่งานหลักและหน่วยงานอื่นเป็นทีมสนับสนุนในการทำกิจกรรม โดยใช้ระบบการสอบทานคนจนเป็นเป้าหมายในการทำงานและระบบการช่วยเหลือคนจนที่ให้หน่วยงานดำเนินการต่อเพื่อให้คนจนหลุดพ้นจากความจนได้อย่างยังยืน จากการวิเคราะห์ความจนจาก 5 ฐานทุนในการค้นหาความจน ในอำเภอนำร่อง 3 อำเภอ ได้แก่

อำเภอเมือง มีจำนวนคนจน 2,473 คน

อำเภอสุไหงปาดี จำนวน 3,975 คน และ

อำเภอสุคิริน จำนวน 930 คน รวมคนจนที่ตกสำรวจเพิ่มเติม

โดยมี ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท. มาร่วมบรรยายพิเศษ ในเวทีบันทึกความร่วมครั้งนี้ด้วย

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานภาคใต้

Relate topics