คืบหน้าวิจัยโควิด 19 จ.พัทลุง : แลกเปลี่ยนบทเรียนการจัดการชุมชนในการรับมือโควิด19

  • photo  , 1000x750 pixel , 141,525 bytes.
  • photo  , 1478x1108 pixel , 194,376 bytes.
  • photo  , 1478x1108 pixel , 180,132 bytes.
  • photo  , 1478x1108 pixel , 141,692 bytes.
  • photo  , 1478x1108 pixel , 186,094 bytes.

วันที่  25 กันยายน 2564

คณะทำงานวิจัยโควิด 19 จ.พัทลุง โดยนายแก้ว สังข์ชู และคณะทำงานลงพื้นที่จัดสนทนากลุ่มย่อย แลกเปลี่ยนบทเรียนการจัดการของชุมชนในการรับมือสถานการณ์โควิด19 ชุมชนบ้านโพธิ ต.ปากพะยูน และชุมชนพรุโอน ต.ทุ่งนารี จ.พัทลุง

โดยประเด็นน่าสนใจในการรับมือสถานการณ์โควิดของชุมชนเช่นชุมชนบ้านโพธิ์ เมื่อมีการทราบข่าวการติดเชื้อ ทางชุมชน ผู้นำ รพ.สต. ร่วมกันคุยทันทีเพื่อวางแผนว่าจะจัดการอย่าง จัดระบบการพักคอย การกักตัวที่บ้าน ระบบการช่วยเหลือในด้านความรู้ อุปกรณ์ต่างๆ อาหาร

ทั้งนี้น่าสนใจที่ชุมชนได้ระดมเงินกองทุนชุมชนเองในการจัดการได้ กทบ. กองทุนสวัสดิการชุมชน ออมทรัพย์ รวม 30,000 บาทแต่ปรากฏว่าได้ใช้จริงน้อยมากแค่ 3,000 บาท เพราะทางสมาชิกในชุมชนต่างได้ร่วมสนับสนุนเงินทุนและอาหารช่วยเหลือกันเอง ทำให้เงินกองทุนใช้ได้น้อยมาก

นอกจากนั้นมีการติดตามช่วยเหลือและดูแลกันผ่านระบบการทำงานร่วมของทีม อสม. ฝ่ายปกครอง โดยติดต่อกันผ่านระบบออนไลน์ และระบบติดตามระดับครัวเรือน

ในขณะที่ชุมชนพรุโอนยิ่งน่าสนใจเมื่อมีคนติดเชื้อในชุมชน ทาง รพ.สต. อสม. และฝ่ายปกครองได้เริ่มในการจัดระบบกักตัวที่บ้าน ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ลดการตระหนก โดยการใช้กลุ่มไลน์ หอกระจายข่าวหมู่บ้านและรถแห่ประชาสัมพันธ์ มีการติดตามโดยทีม อสม.ที่ดูแล 10 ครัวเรือน ติดตามการเดินทางของคนในชุมชน เพื่อเฝ้าระวัง  ซึ่งที่นี่ไม่ได้จัดทำครัวกลาง เนื่องจากเป็นชุมชนผสมผสานของไทยพุทธ-อิสลาม จึงใช้การสนับสนุนอาหารสดให้แต่ครัวเรือนกักตัวได้ปรุงเอง

นอกจากนั้นที่สำคัญได้สร้างให้เกิดวิถีการปฏิบัติที่ทุกคนจะต้องสวมหน้ากากทุกครั้งเมื่ออยู่ในชุมชน เพราะหากมีคนหนึ่งคนใดไม่สวมก็จะกลายเป็นแปลกแยก จะไม่ได้รับการพูดคุยเสวนาด้วย นั่นทำให้เกิดวิถีปฏิบัติใหม่ที่ทุกคนปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

สิ่งหนึ่งที่พบเจอในวันนี้ของทั้งสองชุมชนคือ การลุกขึ้นมาจัดการแก้ปัญหาของชุมชนเองในช่วงเริ่มต้นที่เจอปัญหา มีความร่วมมือของผู้นำ อสม. และรพสต. ในการให้ความรู้ต่อเนื่อง ช่วยประชาสัมพันธ์ลดความวิตกกังวล ความกลัวของคน ใช้ระบบข้อมูลที่รู้จักทุกคนในชุมชนในการเฝ้าระวัง และนำไปสู่การเกิดวิถีปฏิบัติใหม่ของชุมชน เช่นการสวมหน้ากาก การล้างมือ ใช้เจลและข้อตกลงในการซื้อขายของ สินค้าในชุมชนเอง  ซึ่งทางชุมชนเองเริ่มเรียนรู้และปรับตัว เข้าใจ และปฏิบัติกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

สุดท้ายปัจจัยสำคัญที่เกิดขึ้นที่นำมาสู่การจัดการดังกล่าว คือ การมองว่าต้องช่วยตนเอง พึ่งพาตนเอง หารือร่วมกันทันที ไม่รอหน่วยงาน ใช้เงินกองทุนที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ทันท่วงที

ทั้งนี้กระบวนการสนทนากลุ่มย่อยเพื่อสรุปบทเรียนการจัดการรับมือโควิด19 ของชุมชนเป็นแผนการดำเนินงานภายใต้โครงการวิจัยโควิด19 ฯ จ.พัทลุง ดำเนินการใน 5 ชุมชน มีแผนระยะเร่งด่วน ระยะฟื้นฟู และบทเรียนรูปแบบการจัดการโดยชุมชน

อำนาจชัย สุวรรณราช  บันทึกเรื่องราว

Relate topics