คืบหน้าวิจัยโครงการ covid-19 จังหวัดพัทลุง

  • photo  , 679x960 pixel , 153,530 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 108,435 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 82,387 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 88,608 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 88,432 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 79,989 bytes.
  • photo  , 719x960 pixel , 96,335 bytes.
  • photo  , 719x960 pixel , 63,455 bytes.
  • photo  , 719x960 pixel , 76,237 bytes.
  • photo  , 719x960 pixel , 71,772 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 88,034 bytes.
  • photo  , 719x960 pixel , 52,054 bytes.
  • photo  , 719x960 pixel , 76,028 bytes.
  • photo  , 719x960 pixel , 120,591 bytes.
  • photo  , 719x960 pixel , 72,746 bytes.
  • photo  , 922x960 pixel , 172,406 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 118,025 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 134,337 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 132,382 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 98,845 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 94,388 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 101,865 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 103,483 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 72,736 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 66,014 bytes.
  • photo  , 1000x1340 pixel , 272,662 bytes.
  • photo  , 1000x464 pixel , 136,487 bytes.
  • photo  , 1000x1340 pixel , 245,736 bytes.
  • photo  , 1000x1340 pixel , 224,884 bytes.
  • photo  , 1000x746 pixel , 173,159 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 130,304 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 182,417 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 172,183 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 148,239 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 199,961 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 171,926 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 138,487 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 148,660 bytes.
  • photo  , 1478x1108 pixel , 183,372 bytes.
  • photo  , 1478x1108 pixel , 201,673 bytes.
  • photo  , 1478x1108 pixel , 190,937 bytes.
  • photo  , 1478x1108 pixel , 203,488 bytes.
  • photo  , 1478x1108 pixel , 194,738 bytes.

วันที่ 26 กันยายน 2564 สนทนากลุ่มย่อยวิเคราะห์การรับมือ covid -19  ทีมวิจัยโครงการ covid-19 จังหวัดพัทลุง

ประชุมร่วมทีมชุมชนหมู่บ้านปลายตรอก ต.ทะเลน้อย จ.พัทลุง ที่นี่ผู้ติดเชื้อไม่มาก มีผู้กักตัวมาก เนื่องจากชุมชนรอบข้างมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก นับตั้งแต่มีข้อมูลผู้ติดเชื้อ ทางทีมชุมชนปกครองประชุมร่วมกันแล้วแบ่งบทบาททางทีมดูแลให้กักตัวที่บ้านจัดการเรื่องสุขภาพ ฝ่ายปกครองดูแลการเดินทาง เคลื่อนย้ายของคนในชุมชน กระทั่งสามารถควบคุมได้ในระดับหนึ่ง แม้บทเรียนสำคัญที่ใช้สารความเป็นตัวญาติของฝ่ายปกครองในการดูแลควบคุมให้คนดำเนินการตามกติกาที่กำหนดไว้  ที่นี่คนฟังหมอน้อยกว่าผู้นำชุมชน คำตอบต่อคำถามที่ว่าทำไมจนต้องดำเนินการทั้งที่ตนเองก็เสี่ยงและกลัวเหมือนกัน

คำตอบเรื่องนี้คือนี่คือเรื่องของชุมชนบ้านของเขาเองยังไงก็ต้องช่วยกัน  ทั้งนี้ชุมชนเริ่มต้นด้วยตัวเองใช้ทีมผู้นำในชุมชนและเงินจากกองทุนของชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชนในการดูแลกันในเบื้องต้นเมื่อเกิดปัญหา

ที่นี่คนส่วนใหญ่มีอาชีพทำสินค้า จากกระจูด และหาปลาประมงพื้นบ้าน สถานการณ์โควิดที่ผ่านมาส่งผลกระทบอย่างมากรายได้ลดลงกว่า 70% ทางชุมชนคิดแนวทางในการเพิ่มช่องทางการตลาดและวัตถุดิบกระจูดเพิ่มเติม

บทเรียนที่นี่คือการลุกขึ้นมาดูแลคนในชุมชนกันเองใช้เครือข่ายความเป็นเครือญาติติดตามดูแลกันและใช้เงินกองทุนที่มีอยู่ในการเริ่มต้นแต่ยังมีข้อจำกัดในการแก้ปัญหาเรื่องรายได้การตลาดที่เป็นอาชีพหลักของคนในชุมชน


ทีมชุมชน ม.4 ,9 ทต.บ้านสวน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ลงสำรวจปรับปรุงเพิ่มเติมข้อมูลคนจนในระดับพื้นที่ ซึ่งดำเนินการพร้อมกันในทุกหมู่บ้านทุกตำบลใน 3 อำเภอของจังหวัดพัทลุง >> ภายใต้ ความร่วมมือโครงการแก้จนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดพัทลุงโดยมหาวิทยาลัยทักษิณร่วมกับกระบวนการชุมชนลงพื้นที่จัดระบบข้อมูลคนจน ใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในระดับชุมชน ทั้งนี้ ดำเนินการในระยะแรก 3 อำเภอคืออำเภอควนขนุนอำเภอเมืองและอำเภอปากพะยูนโดยจัดทีมลงสำรวจข้อมูลครัวเรือนในชุมชน

วันที่  27 กันยายน 2564  คุยกลุ่มย่อย focus group ทีมชุมชนเทศบาลบ้านสวนจังหวัดพัทลุง(>) ร่วมวิเคราะห์การรับมือ covid ของชุมชนที่นี่เมื่อมีผู้ติดเชื้อก็ดำเนินการทันทีโดยส่วนท้องถิ่นฝ่ายปกครองพมตร่วมกันกำหนดที่กักตัวสำหรับคนติดเชื้อที่เดินทางจากกรุงเทพฯชุดแรกทาง รพ.สต.แสม. ช่วยในการจัดการเพื่อสุขภาพ ฝ่ายท้องถิ่นจัดการเรื่องสถานที่อาหารการจัดการ ภาพรวมต่างๆและฝ่ายปกครอง ดำเนินการเรื่องการติดตามข้อมูลการเคลื่อนย้ายคนและด่าน ชุมชน

ช่วงแรกคนมีความกังวลมากแต่ด้วยผู้นำนายกกำนันลงคุยทุกบ้านทุกคนที่เสี่ยงทำให้เกิดการต่อต้านความกังวลของชุมชนลดลง โดยภาพรวมสามารถควบคุมจัดการได้แต่ก็ยังมีผู้บุกเสี่ยงเพิ่มขึ้นเนื่องจากบริเวณรอบชุมชนอื่นมีการติดเชื้ออย่างรุนแรงและรวดเร็ว

ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญของที่นี่คือความร่วมมือของส่วนท้องถิ่นฝ่ายปกครองและรพ.สต.ที่คุยกันอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดมีระบบการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกันตรงกันและทันท่วงทีรวมถึงการมีผู้นำลงไปถึงครอบครัวชุมชนทำให้ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับคนในชุมชน

ในส่วนผลกระทบที่นี่รายได้อาชีพส่วนใหญ่เป็นชาวนาได้รับผลกระทบจากข้าวราคาตกต่ำและทำสวนปาล์มในส่วนนี้จึงไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงแต่มีคนกลับบ้านและคนตกงานจำนวนหลายร้อยครัวเรือนซึ่งทางคณะทำงานมีแผนในการฟื้นฟูอาชีพรวมถึงการทำเรื่องสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่มีหมอสมุนไพร และเครื่องมือในการดำเนินการอยู่แล้ว


วันที่  27 กันยายน 2564  ด้วยสถานการณ์โควิด19 ยังคงไม่น่าไว้ใจ มีการระบาดต่อเนื่องในชุมชน ทางทีมวิจัยชุมชนบ้านพรุโอน ตำบลทุ่งนารี จังหวัดพัทลุงจึงมีการเดินสายทำความเข้าใจกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยมีทีม รพ.สต.  อสม.  ฝ่ายปกครองร่วมกันประชาสัมพันธ์อย่างแข็งขันในชุมชน ซึ่งที่นี่ความร่วม,nvกันดีของทุกฝ่าย ไม่ลดระดับการเฝ้าระวัง และปฏิบัติการต่อเนื่อง รวมทั้งมีการเตรียมสถานที่กักตัว วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการรองรับสถานการณ์ที่ยังไม่แน่นอน ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการสนับสนุนภายใต้โครงการวิจัยโควิดจังหวัดพัทลุงที่ชุมชนนี้เป็นหนึ่งในห้าชุมชนที่ดำเนินการและลุกขึ้นมาปกป้องจัดการโดยชุมชนเอง


บ้านโพธิ์ชุมชนแห่งการร่วมด้วยช่วยกัน  ด้วยสถานการณ์โควิด19 ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง กระบวนการร่วมคุยร่วมคิด ร่วมปฏิบัติจึงเกิดขึ้นในหลายชุมชน เช่นเดียวกันกับชุมชนบ้านโพธิ์ ต.ปากพะยูน จ.พัทลุง ที่ได้ร่วมกันพูดคุยร่วมของท้องถิ่น ปกครอง รพ.สต.และผู้นำชุมชน นำไปสู่การจัดการศูนย์กักตัว นำงบกองทุนมาใช้ รับพี่น้องลูกหลานกลับบ้านมารักษา กักตัว จนเกิดเป็นความเอื้อเฝื้อคนในชุมชนเองลุกขึ้นมาสมทอาหาร อุปกรณ์ต่างๆให้ศูนย์ชุมชน จนมิได้ใช้เงินของกองทุนเลย สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนความเอื้อเฝื้อ ความเป็นพี่น้องที่ต้องช่วยเหลือกัน และกลายเป็นพลังของชุมชน พลังความร่วมมือขึ้นมาอีกครั้ง  นี่อาจเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในมุมดีๆที่โควิดทำให้เกิดขึ้นในหลายๆชุมชนของจังหวัดพัทลุง

บ้านสวน  พลังแห่งความร่วมมือ  จากสถานการณ์โควิดที่แพร่ระบาดเข้ามาในชุมชนทำให้ทางผู้นำชุมชน กำนัน นายกทต.บ้านสวน รพ.สต. และชุมชน ต้องพยายามในการดูแลคนกันเอง ทางเทศบาลโดยทางนายกสมเกียรติร่วมกันกำนันและผู้นำตัดสินใจอย่างรวดเร็ว จัดตั้งศูนย์ แยกคน จัดการเรื่องปัจจัยยังชีพ จัดตั้งด่านดูแล จัดระบบข้อมูลคนเดินทางเข้ามา ใช้งบ เทศบาลสนับสนุน แบ่งบทบาท ทางรพ.สต. อสม. ดูแลด้านสุขภาพ เทศบาลจัดการสถานที่อาหารสิ่งอำนวยความสะวด ฝ่ายปกครองนำโดยกำนันจัดระบบดูแลคน การเดินทาง คัดกรองคนต่างๆ ประสานจัดการตรวจ atk ส่งต่อโรงพยาบาล แะอีกมากมาย

คำถามหนึ่งที่ได้ถามไปในระหว่างการพูดคุยคือ ทำไมต้องทำอย่างนี้ ทำไมไม่รอหน่วยงาน คำตอบคือ เพราะนี่คือคนในชุมชน ลูกหลานกันเอง ต้องช่วยกันเองก่อน และถามต่อไปว่าเจอปัญหาอะไรบ้าง ซึ่งคำตอบคือ เจอเยอะมาก เช่นจะมายุ่งทำไม ไม่พูดความจริง และที่นี่แก้ปัญหาโดยการให้นายก กำนันลงไปเจอไปคุยด้วยตนเอทุกครอบครัว และนั่นมาซึ่งความเชื่อมมั่นของครอบครัวและคนในชุมชน

นี่คือหนึ่งในหลายๆปัจจัยของชุมชนที่ลุกขึ้นมาดูแลกันเอง โดยที่ยังไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่าง แต่วันนี้ขอให้คนในชุมชนปลอดภัยเป็นพอ


อำนาจชัย  สุวรรณราช  บันทึกเรื่องราว

Relate topics