รายการเสียงประชาชนภาคใต้

photo  , 1000x560 pixel , 117,281 bytes.

วันที่ 18 ตุลาคม 2564

รายการฟังเสียงประชาชนเชิญผู้แทนสมัชชจังหวัด 5 จังหวัดพื้นที่ภาคใต้ที่ได้บังคับใช้มาตรการควบคุมสูงสุด

รับทราบสถานการณ์และการมีส่วนร่วม การมีข้อเสนอต่อคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัด

บทบาทสมัชชากับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ในพื้นที่

ฟังเสียงประชาชน วันที่ 18 ตุลาคม 2564 ตอนมาตรการควบคุมสูงสุด  5 จังหวัดภาคใต้ เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ?

ทางรายการได้เชิญผู้แทนสมัชชาสุขภาพจังหวัด นราธิวาส , ยะลา , ปัตตานี , สงขลา , และนครศรีธรรมราช ได้รับเกียรติจากคุณชาคริต  โภชะเรือง  ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนสงขลาและเลขานุการ กขป.เขต 12 และผู้แทนสมัชชาสุขภาพ จ.สงขลา เลขานุการ กขป.เชต 12 กัลยา เอี่ยวสกุล คุณกัลยา  เอี่ยวสกุล คณะกรรมการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 คสช. ผู้แทนสมัชชาสุขภาพ จ.ปัตตานี คณะกรรมการวัคซีน จ.ปัตตานี นาย รอซีดี เลิศอริยะพงษ์กุล ผู้แทนสมัชชาสุขภาพ จ.ยะลา ดำเนินรายการโดย อานนท์ มีศรี

เปิดประเด็นโดยการคุยถึงสถานการณ์โดยรวมของการแพร่ระบาดในระดับประเทศ และ การที่ทาง ศบค. มีมารตการ ล่าสุด กำหนด 23 จังหวัด ยกระดับเป็นการใช้มาตรการควบคุมเข้มงวดสูงสุด ซึ่งทางภาคใต้ มี 5 จังหวัด ในการใช้เงื่อไขนี้ด้วย ประเด็นชวนคุย สถานการณ์ ที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อมีอัตรา เพิ่มขึ้น มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง


คุณชาคริต โภชะเรือง ตอบได้น่าสนใจยิ่งนัก "เราอย่าไปตกใจและตระหนกตามตัวเลขที่เพิ่มขึ้น" แต่ต้องสนใจและให้ความสำคัญกับ อัตราการตาย เพราะเราจะทำอย่างไร ร่วมมือกันแก้ปัญหาอย่างไร ให้ลดอัตราการตายถึงไม่ให้มีเลย จะต้องใช้มาตรการอะไรบ้าง วัคซีน เป็นทางเลือกและทางรอด ซึ่งจะลดความเสี่ยง จากการตายน้อยลง และการมีส่วนร่วมกันทุกภาคส่วน การจัดทำข้อมูลหรือจัดเก็บข้อมูลเพื่อมาวิเคราะห์ในทุกๆด้าน นายรอซีดี ได้ให้ภาพถึงการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วย ปัจจัยๆต้นๆ คือส่วนหนึ่งกลับไปใช้ชีวิตปกติเดิม (การ์ดตก) ไม่เคร่งครัดต่อมาตรการป้องกัน ที่เคยทำมาในช่วงแรกๆ ประเพณีทางความเชื่อ ทางศาสนา แนวโน้มจะมีการเพิ่มขึ้นเป็นหลักพัน ในขณะที่ภารกิจ หรือ ภาระงานของภาครัฐในการรักษา ล้นมือ เกินกำลัง การร่วมกันแก้ปัญหา ให้ทุกฝ่ายแบ่งเบาภาระ เช่น ร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็ง กับการแก้ปัญหาโควิด ให้คุ้มบ้านละแวกบ้าน รับผิดชอบกันเองในละแวกใช้บ้านเป็นโรงพยาบาลและคนในละแวกบ้านต้องร่วมมือกัน ตั้งแต่การจัดการระบบอาหาร จัดการด้านการรักษา แต่ภาคสาธารณสุขต้องมีการอบรมให้ความรู้ด้านสาธารณสุขเบื้องต้น

คุณกัลยา  เอี่ยวสกุล บอกถึงปนะสบการณ์ตัวเอง คือคนในครอบครัวแม่และน้องสาว ได้รับวัคซีนครบ 2 โด๊ด ติดโควิด ด้วยสาเหตุจากบ้านตัวเองเปิดเป็นร้านค้า ทั้งๆที่ใช้ระบบการป้องกันทุกทาง ยังมีการติดเชื้อ แต่ข้อดีของการได้รับวัคซีน เมื่อติดแล้วจะลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือการป้องกันเชื้อลงปอด ส่วนตัวยังมองว่า ควรระดมวัคซีนฉีดให้ครบ 2 โด๊ด โดยเร็ว กับการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น และการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน

คุณเจริญ  ถิ่นเกาะแก้ว จาก จ.ภูเก็ต มองว่า ภูเก็ตมีจุดแข็ง ตรงที่ ภาคธุรกิจ เข้มแข็ง เพราะส่งผลต่ออาชีพของเขาโดยตรงและส่วนใหญ่ เพราะธุรกิจท่องเที่ยวเป็นรายได้หลักของภูเก็ต ดังนั้นการรวมตัวของนักธุรกิจจึงเป็นพลังอำนาจในการต่อรองสูง ประกอบกับ ความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม เช่นสภาพลเมืองภูเก็ต สมัชชาสุขภาพ จ.ภูเก็ต ที่ประกอบด้วนความหลากหลายของกลุ่มคนและอาชีพ งานวิชาการที่มีการสำรวจ การเปิดภูเก็ตแซนบ๊อก เพื่อฟังความเห็นจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมีการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปเสนอต่อ คณะกรรมการควบคุมโรค เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน วัคซีนเป็น ทางรอดหนึ่งที่จะให้คนในภูเก็ตปลอดภัยจากการเปิดภูเก็ตแซนบ๊อก ข้อเสนอเหล่านี้ ทาง ศบค.จังหวัดได้นพไปเป็นแนวทางเพื่อการปฏิบัติถึงตอนนี้ คนภูเก็ตได้รับวัคซีนเกิน 90% และบางกลุ่มได้รับเป็นโด๊ดที่ 3 ซึ่งตอนนี้ระดมฉีดกันอยู่ และ ภูเก็ตมีเส้นทางเข้าหลัก 2 ช่องทาง 1.ทางบก จุดเดียว 2.ทางอากาศ ง่ายต่อการควบคุม ซึ่งเหล่านี้อาจจะทำให้ภูเก็ตควบคุมได้ค่อนข้างง่าย แต่ก็ยังมีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน มองว่าการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนและหาแม่เหผล็กให้เจอ ทำงานร่วมกันให้ความสำคัญของกันและกัน ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญ และมองว่าบริบทของพื้นที่เป็นปัจจัยที่สำคัญ


มีข้อเสนอให้ใช้กลไกภาคประชาสังคม ร่วมกับกลไกทางกฎหมาย เช่น กขป.เขต สมัชชาสุขภาพจังหวัด สภาองค์กรชุมชนตำบล และใช้ช่องทางของ คสช.ในการนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน

ขอบคุณสำหรับเสียงของประชาชนทุกๆท่านครับ

อานนท์  มีศรี รายงาน


ชมย้อนหลังได้ที่

Relate topics