จังหวะก้าว Node Flag Ship สงขลา (กลไกเพื่อการขับเคลื่อนงานสุขภาวะตามยุทธศาสตร์จังหวัด)

  • photo  , 960x720 pixel , 67,454 bytes.
  • photo  , 960x466 pixel , 69,926 bytes.
  • photo  , 960x466 pixel , 57,486 bytes.
  • photo  , 960x466 pixel , 59,831 bytes.
  • photo  , 466x960 pixel , 52,877 bytes.
  • photo  , 466x960 pixel , 50,543 bytes.

จังหวะก้าว Node Flag Ship สงขลา

เขียนโดย SaiEcon

จากการเข้าร่วมประชุม
ปฐมนิเทศ "หน่วยจัดการระดับจังหวัดขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด (Node Flagship)" ที่ สสส. จัดขึ้น ในวันที่ 18-19 มีนาคม 2562 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นท์ กทม.

ในนาม Node Flagship Songkhla ขอแชร์ข้อมูลจากการประชุม ประมาณนี้ค่ะ

การประชุมทั้งหมด แบ่งเป็น 7 ช่วง โดยรวมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ Node Flagship และประสบการณ์ทำงานจริงของพี่ๆ Node Flagship รุ่นที่ 1


ช่วงที่ 1 ภาพรวมบทบาทภารกิจ Node Flagship เป็นการระดมความเข้าใจจากผู้เข้าร่วมทั้ง 8 จังหวัด ได้แก่ ศรีสะเกษ สุรินทร์ จันทบุรี นครศรีธรรมราช ลพบุรี สระบุรี อุบลราชธานีและสงขลา ผ่านคำถามที่ว่า มี Node Flagship ไว้ทำไม? จากการนำเสนอของทุกกลุ่ม สรุปภาพรวมได้ว่า Node Flagship เป็นพื้นที่กลางของแต่ละจังหวัดที่จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสานภาคีต่างๆในจังหวัด มาร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของจังหวัดได้ด้วยความต้องการที่แท้จริงเพื่อให้เกิดเป็นจังหวัดที่สามารถจัดการตนเองได้ ผ่านการรับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส.สำนัก 6

ช่วงที่ 2 การขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด เป็นช่วงการเสวนาเล่าเรื่องผ่านประสบการณ์จริงจากการทำงานมาแล้ว 8 เดือนของ Node Flagship จังหวัดพัทลุงและจังหวัดสระแก้ว โดยคุณไพฑูรย์ ทองสม และคุณปาลิน ธำรงรัตนศิลป์ ผู้รับผิดชอบโครงการของทั้ง 2 จังหวัด ทำให้ได้เห็นบทเรียนและแนวทางการทำงานเชิงปฏิบัติการ อาทิเช่น ในการทำงานย่อมมีความเกรงใจสำหรับภาคีที่มาขอให้อนุมัติทุน แล้วเราจะผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์ได้อย่างไร คำตอบคือ เราจำเป็นจะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจของเป้าหมายการทำงานของเราให้ชัดเจน และการทำโครงการหรือกิจกรรมเหล่านั้น ก็จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่การขับเคลื่อน แม้อาจจะไม่ได้เป็นตัวหลัก แต่ตัวเสริมก็ส่งผลให้ขบวนแข็งแกร่งขึ้นได้ หรืออีกบทเรียน คือ ผลที่เกิดไม่กระแทกยุทธศาสตร์ เพราะ เราเลือกทำงานกับคนเดิมๆ กับภาคีเดิมๆ กับแนวทางเดิมๆ เราก็จะได้กิจกรรมเหมือนเดิม กิจกรรมที่ทำแล้วจบไป หลังจากผ่านการถอดบทเรียนไปซักระยะ จึงเริ่มคิดใหม่ เดิมเข้าหาทุกสมัชชา ทุกภาคี ทุกกลุ่ม เพื่อเข้าร่วมงานที่ภาคประชาสังคมได้จัดขึ้น จึงได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กลุ่มใดบ้างที่ยัง active อยู่ และมีการเคลื่อนไหวจริง มีความต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมในส่วนที่เราทำได้จริง และยังมีบทเรียนอื่นๆ ที่น่าสนใจและเรื่องที่พึงระวังอีกด้วย เป็นช่วงที่อาจจะช่วยร่นระยะเวลาการทดสอบและลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นให้กับพวกเรา Node Flagship จังหวัดสงขลาได้

ช่วงที่ 3 การติดตามผลลัพธ์และการถอดบทเรียน ผู้ทรงของ สสส. คือ คุณวีรพงษ์ เกรียงสินยศ และนายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ได้ให้โจทย์ว่าให้แต่ละจังหวัดเลือกประเด็นที่ค่อนข้างมั่นใจ มาทำวิธีการ Grant ทุน การกำกับติดตามผลลัพธ์และการรายงานผล ขอบประเด็นนั้น เรามีวิธีการอย่างไีรบ้าง จังหวัดสงขลาได้ถกกันและเลือกนำเสนอประเด็น "ลดการพึ่งพาเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว" โดยมีวิธี Grant ทุนเป็นภาพของขบวนรถไฟ ที่จะให้อำนาจการตัดสินใจร่วมไปที่หัวขบวนหรือพี่เลี้ยงและปรึกษาหารือจนกระทั่งมีการร่วมตัดสินใจจากทุกโบกี้ ถึงความสมเหตุสมผลของปริมาณงบประมาณที่แต่ละโครงการควรจะได้รับ ส่วนการกำกับติดตาม แบ่งได้ 3 ระดับ คือ 1. ระดับปฏิบัติการ เป็นการกำกับติดตามในพื้นที่ดำเนินการผ่านพี่เลี้ยง ภาคีที่ปรึกษา เป็นส่วนมาก 2.นักวิชาการ มีส่วนช่วยในการยกระดับเนื้อหาที่ดำเนินการในพื้นที่ สนับสนุนข้อมูล รวมถึงให้คำแนะนำทางวิชาการที่เข้ากับบริบทของพื้นที่ 3.ภาคีอำนวยการ จะเป็นกำลังหลักในการผลักรูปธรรมในพื้นที่ส่งต่อไปยังภาครัฐ เช่น นำเสนอในวงคุยของจังหวัดสงขลา เสนอเข้าแผนงานจังหวัด
ส่วนการจัดทำผลลัพธ์ จะเน้นการจัดธรรมผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม วัดได้ เช่น สามารถเพิ่มรายได้จากพืชร่วมยางได้จำนวน x บาท เป็นต้น

ช่วงที่ 4 การสื่อสารสาธารณะและการขับเคลื่อนนโยบาย เป็นวงเสวนาและร่วมแลกเปลี่ยนถึงวิธีการของแต่ละจังหวัดที่มีบริบทแตกต่างกันไป ในส่วนของจังหวัดสงขลาอาจทำเพจเพื่อกระจากข้อมูลในสิ่งที่ Node Flagship Songkhla ได้ทำขึ้น เช่น การจัดเวที การตั้งวงระดมความเห็น ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน รวมไปถึงเรื่องเล่าจากตัวโครงการย่อย เป็นต้น

ช่วงที่ 5 บทเรียนรู้ ข้อสังเกตและข้อควรระวังในการดำเนินงานของหน่วยจัดการ โดยคุณสุรพล เหลี่ยมสูงเนิน ผู้พัฒนากรอยการประเมินหน่วยจัดการ ชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาการทำงานในระหว่างการทำงานเป็นอย่างไร ความสำคัญของการถอดบทเรียนการทำงานในแต่ละช่วง พัฒนาการของแต่ละจังหวัดตั้งแต่เริ่มพัฒนาข้อเสนอโครงการ จนกระทั่งเริ่มประสบความสำเร็จในการผลักดันยุทธศาสตร์บางตัว ของ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำปาง จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดสระแก้วและจังหวัดพัทลุง โดยมีข้อเรียนรู้ที่ค้นพบ 5 ด้าน คือ 1.ด้านประสิทธิภาพของหน่วยจัดการ 2.ด้านประสิทธิผลของหน่วยจัดการ 3.ด้านบทบาท 4.การออกแบบโปรแกรมผลลัพธ์ของโครงการหน่วยจัดการระดับจังหวัด 5.ข้อพึงระวัง/ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ

ช่วงที่ 6 การพัฒนาศักยภาพและสิ่งที่ค้นพบจากการประชุมครั้งนี้ เป็นการให้ร่วมคิดถึงการพัฒนาศักยภาพของหน่วยจัดการเอง การพัฒนาศักยภาพของโครงการย่อยและสิ่งที่จะนำไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไป ทำให้ทีมได้เห็นภาพชัดขึ้นว่า ทักษะใดที่เรายังต้องพัฒนาและทำให้โครงการย่อยต้องพัฒนาร่วมไปกับเรา รวมถึงได้ร่วมกันสรุปบทเรียนว่าจากการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ พวกเราเห็นอะไรชัดขึ้นบ้างและพร้อมที่จะกลับไปคืนข้อมูลรวมทั้งตอบคำถามชาวสงขลาที่มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัด

ช่วงที่ 7 ทำความเข้าใจภาพรวมการบริหารจัดการโครงการตามแนวปฏิบัติของ สสส. และชี้แจงแนวทางการดำเนินงานขั้นต่อไป โดยคุณสุธาสินี เสลานนท์ เพื่อขมวดความเข้าใจทั้งหมดและให้ข้อมูลที่สำคัญต่อการดำเนินโครงการต่อไป

ท้ายที่สุด ต้องขอขอบคุณ สสส.สำนัก 6 ที่เปิดโอกาสการเรียนรู้ให้กับคณะทำงาน ผ่านการจัดเวทีปฐมนิเทศ

ขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำเนินการประชุมเพื่อเอื้อให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดการเรียนรู้ ค้นพบได้ และแบ่งปันกันได้อย่างดี

ขอบคุณทีมงาน Node Flagship Songkhla ป้าดุกPhichaya Kaeokhao อาจารย์ปอม อาจารย์วันดีWandee Nuansoi และพี่ฮุ้งJatuporn Lim ที่ร่วมลงเรือลำเดียวกันกับชาวสงขลา

ขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านทั้ง 8 จังหวัด ที่ร่วมสร้างเสียงหัวเราะ รอยยิ้ม ความสนุกสนาน และส่งต่อข้อมูลที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน

ขอบคุณพี่ๆในจังหวัดที่คอยสนับสนุนและให้การช่วยเหลือพวกเรา

สุดท้ายคงต้องขอบคุณตัวเองที่กล้ามาเจอเรื่องแบบนี้ และเป็นส่วนหนึ่งที่จะขับเคลื่อนพลังชาวดีดีของชาวสงขลาต่อไป

#บนความไม่อยากเขียน ก็มีวาทกรรมว่า "ถ้ารู้ว่าสุดท้ายก็ต้องทำ แล้วทำไมเราไม่หัดทำเลย"  cr.อ.Nattapong Apichotdechasakul #จุดประสงค์เพื่อสื่อสารสู่ชาวสงขลา และเชิญชวนร่วมงานวันที่ 29 มีนาคม2562 นี้

Relate topics