สมาคมเพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมยะลา

  • photo  , 1000x563 pixel , 100,072 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 36,599 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 52,927 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 74,486 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 105,963 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 141,666 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 120,392 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 119,982 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 20,138 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 109,382 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 100,796 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 132,032 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 42,358 bytes.
  • photo  , 1000x1778 pixel , 237,151 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 170,078 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 124,468 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 193,463 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 174,647 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 91,851 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 96,152 bytes.
  • photo  , 1152x2048 pixel , 167,017 bytes.

สมาคมเพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมยะลา

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

วันที่ 26 มีนาคม 2562 แบยาชวนไปเยี่ยมสวนมะนาวที่ปลูกในปล้องบ่อราว ๔๐๐ ลูก กำลังจะให้ผลผลิตรุ่นแรก มีตลาดของร้านค้าในปั้มน้ำมันและอื่นๆรองรับ

กลุ่มของแบยารวมตัวเป็นสมาคมเพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในองค์กรใหม่ของยะลา ในพื้นที่เดียวกันนอกจากจะเป็นแหล่งชุมนุมนัดหมายของเครือข่ายต่างๆและสมาชิกในวัยเกษียณแล้ว ทีนี่ยังมีบริษัทตอยยีบัน ฟู้ดส์ จำกัดผลิตนมถั่วเหลืองแปรรูปเพื่อสุขภาพส่งออกอีกด้วย

คุณสมชาย กรรมการผู้จัดการของที่นี่เล่าว่าได้นำประสบการณ์นำเทคโนโลยีและการตลาดมาใช้ในการผลิตจากการไปช่วยซีพีบุกเบิกงานที่เมืองจืนและจากบริษัทเครือสหพัฒน์ เริ่มจากการผลิตนมต่อมาก็ปรับมาเป็นนมถั่วเหลือง โดยมีวัตถุดิบนำเข้า ช่วงแรกใช้วัตถุดิบในประเทศกลับพบการปนเปื้อนสูงมาก

ปัจจุบันนมถั่วเหลืองที่นี่มีหลายผลิตภัณฑ์
และเริ่มทดลองสินค้าใหม่ๆ เช่น บางรุ่นผสมนมแพะ ส่งออกไปประเทศต่างๆ ได้แก่ จีน ประเทศตะวันออกกลาง แอฟริกา ในไทยมีส่งขายแค่เซเวนใน ๓ จังหวัดเท่านั้น พะยี่ห้อแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน โดยมีแบรนด์ชื่อ LABAN SOY ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานต่างๆ ด้านอาหาร ได้แก่ เครื่องหมาย อย. เครื่องหมาย HALAL มาตรฐาน HACCP และมาตรฐาน GMP

การมีผู้ประกอบการที่ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพในเชิงพาณิชย์ได้นี้ไม่ใช่เรื่องง่าย นโยบายที่ส่งเสริมกระจุกตัวอยู่ในส่วนกลางเป็นหลัก แถมมีการเลือกปฎิบัติหรือเรียกค่าหัวคิว(โควต้า)อีกต่างหาก ขณะเดียวกัน ผู้ผลิตของเราส่วนใหญ่เป็นรายย่อย ผลผลิตไม่เพียงพอ ไม่ต่อเนื่องสำหรับตลาด จำเป็นที่จะต้องแก้ไขด้วยนโยบาย เปิดพื้นที่หรือกำหนดโซนการผลิต เอื้อโครงสร้างพื้นฐานให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ได้สามารถเข้าถึง ลดต้นทุน ในลักษณะเปิดเสรี หากทำได้การตลาดนำการผลิตจะช่วยสร้างรายได้และแรงจูงใจในการผลิตมากขึน ได้ประโยชน์กันทั้งขบวน

Relate topics