ประชุมคณะทำงานยุทธศาสตร์ประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ สัญจร ณ จังหวัดชายแดนใต้

  • photo  , 2048x1152 pixel , 133,588 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 62,647 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 63,265 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 64,644 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 68,220 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 48,604 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 58,165 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 57,744 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 62,498 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 47,463 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 47,395 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 41,198 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 89,719 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 137,683 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 106,818 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 174,428 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 144,070 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 120,801 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 162,611 bytes.

วันที่ 26 มีนาคม 2562  คณะทำงานประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒ จัดเวทีสัญจรยัง ๓ จังหวัดชายแดนใต้

ดภาคีเครือข่ายมาพบกัน ณ ร้านอาหารไลลา อ.เมือง จ.ยะลา เพื่อเติมเต็มการขับเคลื่อนงาน

๑.ทบทวนเป้าหมายของประเด็น กระบวนการทำงาน และผลที่จะได้ประกอบด้วย ๑)mapping ข้อมูลภาคีหน่วยงานแต่ละภาคส่วน พื้นที่ปฎิบัติการร่วมของแต่ละองค์กร ในภาพรวมของประเด็นเพื่อให้เห็นว่ามีใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร นำเสนอในรูปแบบแผนที่/ข้อมูล ๒)รูปธรรมความร่วมมือที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการประสานทรัพยากรการทำงานบนฐานเป้าหมายร่วม พื้นที่ร่วม งบประมาณร่วม ๓)พื้นที่ตัวแบบที่สะท้อนเป้าหมายของประเด็น ได้แก่ สวนยางยั่งยืน เกษตรสุขภาพ/พืชอัตลักษณ์ การเฝ้าระวังสารเคมี การอนุรักษ์พันธุ์กรรมท้องถิ่น และตลาดอาหารสุขภาพ

๒.ประเภทผลผลิตที่ต้องการ : ข้าว ผัก ยางพารา ไม้ผล สภาพปัญหาที่พบก็คือการผลิตยังใช้สารเคมีอันเป็นผลจากความรู้/ความเชื่อของเกษตรกร ผลผลิตมีน้อยไม่พอกับการเชื่อมโยงการตลาด ค่านิยมคนในพื้นที่ไม่ชอบทำเกษตร มีการใช้แรงงานจากอิสาน ผลผลิตมาจากราชบุรี/ที่อื่นๆเข้ามาใน ๓ จังหวัด ขณะที่สภาพดินดี สมบูรณ์ มีโครงการพระราชดำริฯ ต้องการส่งเสริมผู้ผลิต มีตลาดรองรับ/ประกันราคาผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต/ปัจจัยการผลิต โดยให้รวมกลุ่ม ๔ คนขึ้นไปเป็นวิสาหกิจชุมชน สถาบันเกษตรประชารัฐ ศอบต.ร่วมกับเกษตรอำเภอสนับสนุนเกษตรกรในตำบล ให้รวมกลุ่มกัน ปลูกพืชพลังงาน ไม้ผล ไบโอแก๊สจากพืชพลังงาน ประมงพื้นบ้านเลี้ยงปู/ป่าชายเลน (นำร่อง)

๓.สภาเกษตรยะลา ส่งเสริมสายพันธุ์ทุเรียนบ้านที่ดี ๓๐ สายพันธุ์จัดงานมหกรรมทุเรียนบ้าน จัดงานวิชาการทั้งปี โดยร่วมมือ เกษตรกร เทศบาลนครยะลา หน่วยงานราชการ มอ. สกว.โดยงานมหกรรมฯจะจัดในช่วงที่ทุเรียนออกมาก ทุกปีจะคัด ๔ สายพันธุ์จากการประกวด เพื่อยกระดับสายพันธุ์ อบจ.และธกส. สนับสนุนงบประมาณ เชื่อมโยง และฟื้นฟูสวนดูซง ผ่านการนำพันธุ์ทุเรียนพันุ์ดีกลับเข้าพื้นที่ ปัจจุบันการผลิตทุเรียนคุณภาพ ส่งออก มีประมาณ ๓๐ %ที่ผ่านมาตรฐาน ส่วนอีก ๗๐ % ตกไซด์ ปัจจุบันผู้รวบรวมทุเรียนเพื่อขายส่งออกอยู่ที่ล้ง ชุมพร กำลังจะมีการศึกษาวิจัย ครบวงจร มีผู้ผลิต ผู้รวบรวม ผู้แปรรูป เพราะมีมูลค่าส่วนต่าง ๑,๗๐๐ ล้านบาทที่หายไปจากพื้นที่

๔.ข้อเสนอว่าทำอะไรต่อไป
๑)ขับเคลื่อน ๖โครงการหลักของประเเด็น(สวนยางยั่งยืน/อนุรักษ์พันธุกรรม/เกษตรสุขภาพ/เฝ้าระวังสารเคมี/ตลาดอาหารสุขภาพ/งานวิจัย) ด้วยการสร้างต้นแบบ : ผัก ข้าว ทุเรียนบ้าน ยางยั่งยืน ส่งเสริมพืช GI ของแต่ละท้องถิ่น หน่วยราชการพร้อมหนุนได้แก่ ศอบต./วช./ทหาร/สภาความมั่นคง

๒)เวทีกลาง : ให้เกษตรกร ผู้บริโภคและผู้สนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ได้มาพบกัน สร้างกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ(เกษตรกร/ปัจจัยการผลิต/แหล่งน้ำ) กลางน้ำ ปลายน้ำ บนฐานประเด็นร่วมของ ๗ จังหวัด ได้แก่

-ปัตตานี/ตรัง/พัทลุง-ข้าว
-ยะลา-ผัก/ยาง : กรงปินัง-เบตง มี YSF อำเภอละ ๓-๕ คน มีสมาชิกปลูกผัก และยาง : พืช-สัตว์ร่วมยาง/พึ่งตนเอง สร้างต้นแบบ(รูปแบบ-ระยะ-ชนิดพืชร่วม-แหล่งน้ำ ฯลฯ)

-นราธิวาส : บ.ประชารัฐ/เครือข่ายเทือกเขาบูโด/เลมอนฟาร์ม/รัฐ: ทุเรียนพันธุ์(เรียนรู้จากจันทบุรี) มังคุด สละอินโด

-สตูล-พัทลุง/สงขลา : ตลาดอาหาร

-ยะลา/สงขลา : ทุเรียนพื้นบ้าน(เขา/ลุ่มน้ำ)

๓)เสนอเชิงนโยบาย

-ให้ศอบต.เปลี่ยนการสนับสนุนนาร้างมาเป็นสนับสนุนนาดี

-จัดการแหล่งน้ำแบบมีส่วนร่วมทั้งระบบ

-ส่งตัวแทนเข้าไปอยู่ในเวทีจังหวัด(คศป.)

-ชลประทานพัฒนาระบบน้ำทางท่อ มีสระในนา

บันทึกไว้โดย ชาคริต โภชะเรือง เลขานุการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๒

Relate topics