"ความร่วมมือทางนวตกรรม"

  • photo  , 600x338 pixel , 50,194 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 110,852 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 108,467 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 197,040 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 121,630 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 146,501 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 145,420 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 134,620 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 138,395 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 122,542 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 161,904 bytes.
  • photo  , 1170x1560 pixel , 102,041 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 137,103 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 171,453 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 89,288 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 172,876 bytes.
  • photo  , 1170x876 pixel , 137,860 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 118,205 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 130,037 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 101,483 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 98,588 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 171,311 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 168,653 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 177,625 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 183,209 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 173,844 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 180,516 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 155,889 bytes.
  • photo  , 1170x876 pixel , 162,681 bytes.

"ความร่วมมือทางนวตกรรม"

วันที่ 17 มิถุนายน 2565

นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท หัวหน้ากลุ่มวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักวิชาการสาธารณสุข สป.สธ. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (tcels) ลงพื้นที่จังหวัดสงขลา หารือกับมูลนิธิชุมชนสงขลาและชุมชนแหลมสนอ่อน ทน.สงขลา เข้าร่วมโครงการความร่วมมือเพื่อยุติการระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยนวัตกรรม Ending Pandemics through Innovation (EPI)

จุดเน้นนำนวตกรรมมาสนับสนุนการบริการ ยกระดับนวตกรรมทางสังคมที่เป็นการคิดเพื่อสังคมของชุมชน บนฐานความสัมพันธ์กับกลไก ทีม ระบบสนับสนุนของตน มาทำงานร่วมกันกับภาครัฐ โครงการจะมาร่วมถอดบทเรียนและขยายขีดความสามารถทางสาธารณสุข ร่วมสร้างเครือข่ายการทำงาน การขยายผลไปยังชุมชนอื่น มีระยะเวลาทำงาน 5 ปี ภาคเช้าลงพื้้นที่ชุมชนแหลมสนอ่อน ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ชุมชนที่จะนำร่องของโครงการ ได้รับฟังการนำเสนอบทเรียนการรับมือโควิดของกลุ่มคนจนเมืองที่ปัจจุบันขยายเครือข่ายทำงานร่วมกันกว่าสิบชุมชน ทำความรู้จักโครงการ แนวคิดการทำงานที่เน้นการทำงานร่วมกัน
ภาคบ่ายพบกรรมการมูลนิธิชุมชนสงขลา และโปรแกรมเมอร์ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระบบข้อมูลกลางผ่าน www.communeinfo.com แอพพลิเคชั่น iMed@home พบว่าเข้าลักษณะเป็นวตกรรมทางเทคโนโลยี และนวตกรรมเชิงกระบวนการ รับฟังแนวทางการจัดทำธุรกิจเพื่อสังคม iMedCare ที่จะเสริมหนุนภาคประชาสังคมและพัฒนาระบบบริการสุขภาพในระดับชุมชนเขตเมือง มีข้อสรุปที่จะทำงานร่วมกัน

1)ขยายศักยภาพภาคประชาสังคม ขยายผลการใช้ iMed@home หาช่องทางสนับสนุนทางเทคนิคในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อลดค่าใช้จ่ายของทีมมูลนิธิชุมชนสงขลา

2)นำระบบการทำ ID เลข 13 หลักของคนไทยไร้สิทธิ์ ที่ส่วนกลางได้จัดระบบแล้ว มาใช้ในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการทำงาน ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง

3)พัฒนาระบบข้อมูลที่ชุมชนเป็นเจ้าของข้อมูลผ่านโปรแกรม EP1-7.1, 7.2และ7.3ของโครงการ


วันที่ 18 มิถุนายน 2565

คณะผู้บริหาร TCELS ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ นำโดยนพ.สุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ ประธานกรรมการ มาเยือนสงขลา 16-19 มิย.ที่ผ่านมา เลยมีโอกาสได้เข้าไปร่วมเรียนรู้ในบางกิจกรรม คือการดูงานการรับมือโควิด-19 ของสสจ.สงขลาในหลายมิติ ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

นพ.ปพน ดีไชยเศรษฐ รองสสจ.นำเสนอการการรับมือโควิดที่ผ่านมาด้วยระบบบริหารจัดการที่ใช้ระบบสารสนเทศดิจิตอลในหลายรูปแบบ ได้แก่ Songkhla Covid-19 Tracker, Songkhla Care, Songkhla Hotel Care, Songkhla Labor Care และ Songkhla Phamacy Care (และยังมีระบบย่อยทั้งจากภายในสาธารณสุขเอง จากสถาบันการศึกษา และเอกชน)ตั้งแต่เดือนมีค.63 ที่สงขลาเริ่มมีผู้ติดเชื้อจากเบต้า มาถึงเดลต้า และโอไมครอน ทำให้เข้าใจแนวคิด แนวทางบริหารจัดการในภาวะวิกฤตของจังหวัดมากขึ้น

นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ นำเสนอการดูแลคนต่างชาติในเชิงมนุษยธรรม ณ ศูนย์กักตัว ตม.สะเดา นำประสบการณ์การบูรณาการหน้างาน ยึดเป้าหมายและความร่วมมือโดยไม่รองบประมาณและข้ามข้อจำกัด นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย เล่าถึงบทบาทของสถาบันการศึกษาต่อการเตรียมความพร้อมบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่เกี่ยวข้องให้สามารถรับมือกับสถานการณ์

ทาง Tcels และสำนักปลัดสธ. สช. จับมือกันผลักดันโครงการความร่วมมือเพื่อยุติการระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยนวัตกรรม Ending Pandemics through Innovation (EPI) ประกอบด้วย 7 แผนงานสำคัญ และแผนงานที่ 7 นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท ได้นำเสนอแนวทาง รวมถึงประสานชุมชนแหลมสนอ่อน ทน.สงขลา(กรณีช่วยคนจนเมือง/แรงงานต่างถิ่นต่างด้าวด้วยนวตกรรมทางสังคม "ปิ่นโตตุ้มตุ้ย") และมูลนิธิชุมชนสงชลาเข้าร่วมดำเนินงานกับอีก 9 ชุมชนในกทม.ภาคเหนือ และอิสาน

เห็นทั้งความก้าวหน้า ศักยภาพ ข้อจำกัด ช่องว่างที่จะต้องช่วยกันเติมเต็ม บนฐานการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่ไม่ได้มีแต่ภาครัฐ

ที่สำคัญ ได้เห็นบทบาทแพทย์ชนบทยกขบวนไปช่วยกรุงเทพฯ 3 ครั้ง ทำให้เห็นว่าระบบสาธารณสุขมูลฐานหรือปฐมภูมิในเมืองหลวงอ่อนแอเพียงใด เมื่อพบความรุนแรงของเชื้อเบตา ทำให้เราเห็นคนเสียชีวิตเป็นข่าวได้ง่าย ขณะที่ต่างจังหวัดพื้นฐานที่ดีของระบบสาธารณสุข รพ.ชุมชนและการทำงานร่วมกันกับภาคส่วนต่างๆจึงช่วยรองรับผลกระทบได้มาก ซึ่งเป็นจุดเด่นของประเทศไทย

ทั้งยังเห็นข้อดีของราชการไทย อนุญาตให้บุคลา่กร(เช่น นพ.สุภัทร นพ.สุวัฒน์)มาเป็นเลขา/ผู้จัดการ/ประธานองค์กรไม่แสวงหากำไร ช่วยกระชับการทำงาน เชื่อมโยงการทำงานกับภาคส่วนต่างๆได้อีกทางหนึ่ง และเป็นประโยชน์เสริมหนุนระบบสุขภาพได้มาก

ที่ประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานกันโดยเฉพาะเรื่องข้อมูล การเชื่อมโยงส่งต่อ และบูรณาการ

"คำถามมีความสำคัญมากกว่าข้อมูล" ศ.นพ.วีระศักดิ์ ให้ข้อคิดเอาไว้ เพื่อมิให้ติดหล่มการทำงาน

Relate topics