สัมมนาสร้างความเข้าใจระบบสุขภาพที่เป็นธรรมกับบทบาทกขป.สื่อสารในการขับเคลื่อนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 3 ในระดับพื้นที่

  • photo  , 960x540 pixel , 72,068 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 44,307 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 54,034 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 78,185 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 64,079 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 61,065 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 66,826 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 70,179 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 70,543 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 65,303 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 73,528 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 48,030 bytes.
  • photo  , 1280x640 pixel , 56,925 bytes.
  • photo  , 1280x640 pixel , 70,654 bytes.
  • photo  , 1280x640 pixel , 65,539 bytes.
  • photo  , 1280x640 pixel , 55,930 bytes.
  • photo  , 1280x640 pixel , 47,875 bytes.
  • photo  , 1280x640 pixel , 58,614 bytes.
  • photo  , 1280x640 pixel , 57,152 bytes.
  • photo  , 1280x640 pixel , 78,876 bytes.
  • photo  , 1280x640 pixel , 45,136 bytes.

สช.จัดประชุมสัมมนาสร้างความเข้าใจระบบสุขภาพที่เป็นธรรมกับบทบาทกขป.สื่อสารในการขับเคลื่อนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 3 ในระดับพื้นที่

วันอังคารที่ 28 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 09.00 – 15.30 น.  ณ ห้องพระวิษณุ ชั้น 3 โรงแรมอัศวินแกรนด์คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร

โดยกลุ่มเป้าหมายหลัก

ประกอบด้วยดังนี้

1.ประธาน กขป. 12 เขต

2.สื่อ กขป. 12 เขต ๆ ละ 1 คน

3.เลขานุการ ร่วม กขป. 12 เขต ๆ ละ 4 คน (สสส. สปสช. ก.สาธารณสุข และฝ่ายเลขานุการ สช.)

มีวัตถุประสงค์

1.เพื่อสร้างความเข้าใจต่อ ร่าง ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3

2.เพื่อหารือบทบาทของ กขป. ในการสร้างการรับรู้ และการขับเคลื่อนระบบสุขภาพที่เป็นธรรมตามกรอบธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ในเขตและพื้นที่ กล่าวต้อนรับโดย นายแพทย์ประทีป  ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้กล่าวนำ" ระบุสุขภาพที่เป็นธรรมกับบทบาทในการขับเคลื่อนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 3 ในระดับพื้นที่

ธรรมนูญ ว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 3 เป้าหมายระยะ 5 ปีระบบสุขภาพที่เป็นธรรมมีแนวคิดหลักของระบบสุขภาพการอธิบายระบบสุขภาพที่มุ่งเน้น 3 ส่วน

1.ด้านทักษะ ความรอบรู้  ด้านสุขภาพด้านสิ่งแวดล้อม ด้านดิจิทัล

2.การทำสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี

3.การพัฒนาศักยภาพมนุษย์

ระบบสุขภาพที่มองในทุกมิติคือ กาย จิต ปัญญาและสังคมซึ่งประกอบไปด้วยทั้งการบริการสุขภาพและการสร้างเสริมสุขภาพรวมถึงการจัดการปัจจัยสังคมที่กำหนดสุขภาพนั้นในแต่ละส่วนต้องมีการดำเนินการเชิงยุทธศาสตร์อย่างมีประสิทธิผลมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมด้วยการมีการอภิบาลระบบสุขภาพที่ดีหรือมีธรรมาภิบาลโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีและการทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของ มนุษย์ในทุกกลุ่มวัยและทุกระดับรวมถึงเรื่องอื่นๆเพื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมายระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ในระยะ 5 ปีคือระบบสุขภาพที่เป็นธรรม

หลังจากนั้น นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ประธานอนุกรรมการวิชาการและยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3  และผศ. วีระศักดิ์  พุทธาศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มาพูดถึงธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 3 กรอบแนวคิดเป้าหมายและมาตรการสำคัญ มาตรการสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่เป้าหมายของระบบสุขภาพพึงประสงค์คือระบบสุขภาพที่เป็นธรรมที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 3 นี้จะมีระบบและกระบวนการหลักๆคือ

1.กระบวนการนโยบายสาธารณะที่ดีและมีส่วนร่วมของภาคีทุกภาคส่วนภายใต้บริบทด้านเศรษฐกิจและสังคม

2.การสร้างเสริมสุขภาพและการจัดการปัจจัยสังคมที่กำหนดสุขภาพด้วยการทำสภาพแวดล้อมสนับสนุนชื่อเอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี อย่างส่งมาดลพัฒนาศักยภาพบุคคลและชุมชน

3.การจัดการระบบบริการสุขภาพที่ให้ความสำคัญกับกาย จิต ปัญญาและสังคม อย่างสมดุลอย่างมีคุณภาพได้มาตรฐาน ปลอดภัยมีประสิทธิภาพและความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการ

มาตรการที่สำคัญ

1.สร้างการ พัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านกระบวนการนโยบายสาธารณะจากชุมชนและนโยบายของรัฐในระดับต่างๆตามหลักการพัฒนาทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพรวมถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทางตรงและนโยบายด้านการเมืองด้านเศรษฐกิจด้านสังคม

2.สร้างระบบสุขภาพที่เป็นธรรมผ่านการกำหนดมาตรการและนโยบายเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นธรรมที่ทำให้เกิดการจัดการเชิงโครงสร้างกลไกและกระบวนการบริหารจัดการการจัดหาและกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรมกับทุกคนในสังคม

3.มุ่งส่งเสริมบทบาทของภาคส่วนต่างๆในการจัดการสังคมและสุขภาพในประเทศและระดับพื้นที่เพื่อให้เกิดการออกแบบสังคมและระบบสุขภาพ สู่ท้องถิ่น ตนเองได้โดยมีกลไกเชื่อมโยงบทบาทของหน่วยงานรัฐเอกชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรภาคเอกชนในการสนับสนุนการจัดการระบบสุขภาพ

4.สร้างกลไกเครื่องมือและพื้นที่กลาง เช่นสมัชชาสุขภาพธรรมนูญสุขภาพในเชิงประเด็นหรือเชิงพื้นที่เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีความร่วมมือกันและสร้างความเป็นเจ้าของในสังคมและสุขภาพทุกระดับ

ช่วงบ่ายได้จัดให้มีการประชุมกลุ่มย่อย4 กลุ่มตามภาค แลกเปลี่ยนแนวทางและบทบาทของกขป.ในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพที่เป็นธรรม ตามกรอบธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 แล้วนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อเป็นแนวทางการขับเคลื่อนระบบสุขภาพที่เป็นธรรรม

การหารือในครั้งนี้เพื่อขับเคลื่อน และการสื่อสาร ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 3

ภาพข่าวโดย  ยะห์ อาลี

Relate topics