ลดปัจจัยเสี่ยง ๑ ใน ๔ ยุทธศาสตร์ ภารกิจร่วมของภาคีเครือข่ายเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๒

  • photo  , 1000x563 pixel , 100,889 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 62,765 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 94,778 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 133,022 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 116,465 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 190,349 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 186,655 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 91,351 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 155,833 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 142,176 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 125,976 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 91,274 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 148,874 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 164,269 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 182,176 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 202,563 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 135,932 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 95,205 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 133,026 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 91,709 bytes.

"ลดปัจจัยเสี่ยง"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๒  ประชุมอนุกรรมการและภาคีประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒ จัดทำแผนบูรณาการ ประสานภาคีและกิจกรรมโครงการที่จะร่วมมือกันดำเนินการในช่วงปี ๒๕๖๒ พร้อมกับข้อเสนอแนะการทำงานเพื่อสร้างต้วแบบในพื่นที่เขต ๑๒ พบการนำมะนาว ตะลิงปลิง สมุนไพรมาใช้ในการเลิกบุหรี่

๑.เริ่มด้วยการแนะนำและทบทวนยุทธศาสตร์การทำงานของเขตสุขภาพต่อภาคีใหม่ ทบทวนยุทธศาสตร์ของประเด็น

๒.ประสานภาคีความร่วมมือ ดังข้อสรุปต่อไปนี้

๒.๑ ทีมกลางได้ Mapping เครือข่ายองค์กรภาคส่วนต่างๆ พื้นที่ปฎิบัติการในภาพรวมของเขตตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล เพื่อให้รู้ว่ามีใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไรในภาพรวมของเขต ๑๒ ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว และเพิ่มเติมข้อมูลให้ได้มากที่สุด โดยจะนำเสนอไว้ใน www.AHsouth.com หากมีการสกัดชุดความรู้หรือตัวแบบที่ดี ต่อไปสามารถเสนอแนะเชิงนโยบายต่อองค์กรต่างๆนำไปใช้สนับสนุนโครงการ ปรับกิจกรรมที่ยังเน้นการอบรมปรับพฤติกรรมปัจเจกที่ได้ผลน้อย

๒.๒ ความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ดำเนินการในเชิงความร่วมมือกับเขตสุขภาพ เน้นกิจกรรมโครงการที่มีเป้าหมายร่วมเดียวกันได้แก่ สกัดผู้เสพรายใหม่และลดผู้เสพรายเก่า และลดปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่

โดยมีภาคีสำคัญได้แก่

-ชมรมเภสัชกรชุมชน : ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าปัจจุบันร้านยาขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยร่วมบริการกับสปสช. สามารถรับการสนับสนุนกิจกรรม เสนอให้มีการใช้สื่อถึงระดับครัวเรือนโดยเฉพาะการใช้ยาเลิกบุหรี่(หมากฝรั่งเลิกบุหรี่)ถึงครัวเรือน ทีมร้านขายยามีทีมให้ความรู้ มีพื้นที่ทำโครงการในสงขลา(10 ร้าน) ตรัง ปัตตานี เสนอแนะการให้ความรู้กับคนในครัวเรือน เน้นสื่อกระตุ้นให้กำลังใจที่ลงถึงครัวเรือนร่วมถึงทำงานร่วมกับชุมชน

-มูลนิธิเพื่อนหญิง มีพื้นที่ดำเนินการในทม.คอหงส์ หาดใหญ่ ร่วมกับรร./รพ.สต/ครอบครัว อยู่ระหว่างติดตามเคส (แผน ๓ ปี)

-สมาคมจันทร์เสี้ยว ได้ดำนินการเรื่องเลิกบุหรี่ในปอเนาะ ๑๐ แห่งใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ อยากได้ร้านยาที่มีหมากฝรั่งเลิกยาในพื้นที่สามจังหวัด พบปัญหาเด็กในปอเนาะไม่กล้าให้ข้อมูลเลข ๑๓ หลักทำให้ประสบปัญหาการขอสนับสนุนจากสปสช.

-สนง.ประชาคมงดเหล้าปัตตานี มีโครงการบุหรี่(สสส.ชุมชนน่าอยู่ สำนัก ๖) ขึ้นปีที่ ๓ มี ๔ โครงการดำเนินการในชุมชน/หมู่บ้าน(ใช้ศาสนธรรมบำบัด/เก็บข้อมูลก่อนและหลัง-เก็บข้อมูลร้านบุหรี่/มีสภาผู้นำชุมชนดำเนินการ/คืนข้อมูลรายจ่ายจากการสูบบุหรี่ฯลฯ) เสนอว่าต่อไปควรเชื่อมโยงกับรพ.สต. รพ. และมีโครงการรอมฏอมเลิกสูบบุหรี่ นอกจากนั้นยังบูรณาการกับสสจ.มีปฎิบัติการร่วมกันตรวจพื้นที่สาธารณะ เช่น ศาลากลาง มีศูนย์เรียนรู้ชุมชนสู้เหล้า/บุหรี่ ๓ ชุมชน(ชุมชนนวตวิถี) มีโครงการ Node สสส.ขนาดเล็ก มีชุมชนมัสยิดปลอดบุหรี่ขยายไปสู่ชุมชน สร้างกติการ่วมในชุมชนในลักษณะชุมชนบำบัด

-สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ใช้ศาสนธรรมบำบัดในช่วงเดือนรอมฏอม หรือนำหมอมาให้ความรู้ประชาชน เสนอให้ใช้สมุนไพร(เช่น หญ้าดอกขาว)มาใช้ในการรักษาลดความอยาก มีตัวอย่างที่ต.ทรายขาว มีข้อเสนอให้นำหลักศาสนา(คุตบะ)มาขยายผลในมัสยิดโดยเฉพาะเดือนรอมฏอม ๑๐ คืนสุดท้าย

-รพ.สต.ตำบลน้ำผุด อ.ละงู จ.สตูล เสนอให้ใช้คำว่าบุหรี่และยาสูบควบคู่ไปด้วย การทำงานกับท้องที่ควรทำกับท้องที่ที่มีผู้นำรุ่นใหม่ๆ พัฒนาผู้นำท้องที่ทำงานเสริมกับเรื่องที่เป็นปัญหาร่วม เน้นการทำสื่อ/ป้ายรณรงค์ให้เห็นมากขึ้น ควรให้เยาวชนได้ร่วมในการประชุมกรรมการหมู่บ้านมากขึ้น

-สภาเทคนิคการแพทย์ มีสื่อความรู้/ใบปลิวในเชิงวิทยาศาสตร์ สื่อถึงโรคที่เกิดจากบุหรี่(เชื่อมโยงกับการตรวจสุขภาพ) มีชุดทดสอบแบบง่ายสามารถทำให้เกิดความตระหนัก ทุกปีจะมีงานรณรงค์

-เครือข่ายองค์กรงดเหล้า ทำงานในพื้นที่ อ.ตากใบ อ.รามัน

-รพ.รามัน เริ่มดำเนินการเชิงรุกตั้งแต่ปี ๕๒ โดย รพ.เปิดคลีนิคเลิกบุหรี่ เริ่มจากการเก็บข้อมูลและติดตามผลอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา ๑ ปี/ร่วมกับคลีนิคฟ้าใส-มีแอพพลิเคชั่น มียากระตุ้นเลิกใช้ที่รพ.จัดซื้อมาเอง คลีนิคเปิดช่วงเช้า มีการเชื่อมโยงระหว่างรพ. กับ รพ.สต. ปัจจัยความสำเร็จคือผู้บริหารเห็นร่วม พนักงานโสตให้คำปรึกษา มีหลักสูตรระยะสั้นอบรมจากมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

-พชอ.รือเสาะ จ.นราธิวาส สำรวจข้อมูลพบว่ามีคนสูบบุหรี่ในพื้นที่ ๑๙% ติดบุหรี่ ได้คืนข้อมูลให้กับกลุ่มเป้าหมาย ติดตามผล ตรวจคาร์บอนในลมหายใจ สร้างข้อตกลงร่วม มีพื้นที่ต้นแบบที่ศาสนสถานร่วมกับอ.รามัน ในการดำเนินการ สสอ.ใช้เวทีพชอ.หารือความร่วมมือในพื้นที่ มอบป้ายเขตปลอดบุหรี่+พื้นที่สีเขียว มีบุคคลต้นแบบและชวนเพื่อนมาร่วมด้วย กำลังขยายไปยังเยาวชน

-สื่อชุมชน จ.พัทลุง ควรใช้มาตรการกฏหมายอย่างจริงจังในพื้นที่ราชการ ที่สาธารณะ สร้างแรงจูงใจชื่นชม ในพื้นที่ได้ยกย่องผ่านสื่อวิทยุ ขอความร่วมมือกับสถานบริการรพ.สต.สร้างมาตรการเพื่อควบคุมการสูบบุหรี่

-สถานพินิจ อ.ยะหริ่ง อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ลงตรวจพื้นที่(ตำรวจ สรรพสามิต สสจ. สสอ.ประชาคมงดเหล้า สถานพินิจ) มีการบังคับใช้กฏหมาย(หากพบสถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะไม่มีป้ายรณรงค์สามารถแจ้งจับปรับ หรือพบการทำความผิดสามารถบันทึกภาพเป็นหลักฐานแจ้งตำรวจ) พบเยาวชนเข้าถึงบุหรี่นอกได้ง่าย การลงตรวจพื้นที่พบว่าสามารถควบคุมการสูบได้

-ตำรวจภูธร ภาค ๙ ในภาพรวมมาตรการลดพื้นที่สูบบุหรี่ได้ผลมากขึ้น การจับกุมผู้สูบน้อยกว่าเหล้า มีชุดจัดระเบียบสังคมเน้นเรื่องเหล้าและยาเสพติด ต่อไปจะให้เน้นเรื่องบุหรี่ไปด้วย การเลิกบุหรี่ต้องมีแรงบันดาลใจด้วย เช่น เลิกเพื่อลูกเมียในวันสำคัญ ผลกระทบต่อสุขภาพ(ตำรวจตรวจสุขภาพปีละ ๑ ครั้ง ทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายทุก ๓ เดือน) เสนอให้ชุมชนมีสถานที่ออกกำลังกายให้เยาวชน พบเหตุแจ้ง ๑๙๑ ตำรวจก็มีมีแอพฯเฉพาะ

-อบจ.สงขลา พร้อมช่วยประชาสัมพันธ์งานบุหรี่ ปัจจุบันอบจ.เก็บภาษีโรงแรม และน้ำมัน (รายได้เพิ่มขึ้น) ส่วนยาสูบเก็บรายได้ลดลง ๘๐%จากการที่มีร้านค้าลดลง และมีความร่วมมือกันตรวจจับ

-พชอ.อ.ควนโดน ดำเนินกิจกรรมลดละเลิกบุหรี่ ปัจจัยความสำเร็จอยู่ที่หัวขององค์กร ความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงาน และใช้มาตรการทางกฏหมายอย่างจริงจัง พบปัญหาการส่งตรงของบุหรี่นอกถึงครัวเรือน คนสูบหน้าใหม่ลดลง คนสูบเก่าเสียชีวิต

-เยาวชนร่วมกับ สกว.จ.สตูล ทำกิจกรรมปรับพฤติกรรมเลิกสูบบุหรี่ ร่วมกับแกนนำหมู่บ้านค้นหาผู้เสพย์ มีเยาวชนต้นแบบที่สามารถเลิกสูบบุหรี่(สูบจากสภาพแวดล้อมจูงใจ เลิกได้เพราะสื่อกระตุ้นบวกกับการอยากเลิกโดยใช้มะนาวซีกหนึ่งบีบน้ำดื่มสดทุกเช้าเย็น)

-วิทยาลัยพยาบาลฯ จ.ตรัง จัดการเรียนการสอนเรื่องบุหรี่แทรกเรื่องใหม่ๆในหลักสูตร เพื่อนำไปใช้บริการกับประชาชน บุหรี่เป็นนโยบายหลักขององค์กร ปัจจุบันมีการใช้ตลิงปลิง(สะกัดน้ำทำเป็นสเปรย์พ่น)ลดความอยากสูบบุหรี่ มีงานวิจัยเชิงลึกปัจจัยการสูบบุหรี่ มีการรณรงค์ในงานกีฬา มีเครือข่ายพยาบาล/การศึกษา มีพื้นที่นำร่อง ต.หนองกรุด

-เพิ่มเติมข้อมูลว่าปัจจุบันสมาพันธุ์บุหรี่แห่งชาติมีการตั้งสมาพันธุ์ระดับจังหวัด มีทุกจังหวัด ที่สตูลทำเรื่องท่าเรือปลอดบุหรี่(ทำ MOU จัดมุมสูบ ติดป้ายปรับ ๕ พันบาท)

-กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล มีงานบุหรี่เป็น ๑ ใน ๕ แผนงานในการสนับสนุนกิจกรรมกับประชาชนในพื้นที่ โดยมีเว็บไซต์กลางที่ให้ท้องถิ่นบันทึกข้อมูลเข้าระบบ ยังขาดวิทยากรหรือทีมเฉพาะไปช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้กับพื้นที่ และชุดความรู้ประกอบการทำกิจกรรม มีระบบการติดตามผลที่เห็นผลการเปลี่ยนแปลง

-ศอ.บต. เสนอให้คัดกรองผู้เสพจัดกลุ่มปัญหา จัดทำหลักสูตรปรับพฤติกรรม ปรับสภาพแวดล้อม ระบบ สร้างแรงจูงใจโดยไม่จำเป็นที่จะต้องทำเรื่องบุหรี่โดยตรง เน้นที่เยาวชน ครอบครัว ชุมชนต้นแบบ สร้างฐานชุมชนเข้มแข็งรองรับหรือสร้างภูมิคุ้มกัน ให้เยาวชนเรียนจบมีงานทำ เสนอให้ทำนโยบายสาธารณะเรื่องฉีดวัดซีนป้องกันโรคหัดและอื่นๆในพื้นที่ ๓ จังหวัดโดยใช้เงื่อนไขการให้เงินพิเศษสำหรับเด็กแรกเกิด

-สภาเด็กและเยาวชน จ.สงขลา มีความใกล้ชิดกับเยาวชนด้วยกัน สามารถสื่อสารประชาสัมพันธ์ ได้ทำกิจกรรมค่าย ๓ วันสร้างภูมิคุ้มกันทางอ้อม เสนอให้ทำสื่อที่สร้างแรงบันดาลใจสร้างความรู้สึกร่วม

-เครือข่ายงดเหล้าจ.พัทลุง จัดค่ายเมาดิบ เป็นอีกช่องทางปลดปล่อยพลังของเยาวชน

-รพ.ราษฏร์ยินดีเสนอให้มีตัวอย่างเชิงประจักษ์เพื่อสร้างความตระหนัก หรือประสานชมรมผู้ไร้กล่องเสียง รพ.มอ.ไปเป็นวิทยากร หรือสร้างสภาพแวดล้อมสร้างแรงจูงใจผ่านข้อตกลงในครอบครัว

๒.๓ ร่วมกันพัฒนาตัวแบบใหม่

-พัฒนากลไกเชื่อมประสาน จังหวัด อำเภอ ตำบล จุดเน้นอยู่ที่อำเภอและตำบล ทำงานในเชิงบูรณาการ ประสานให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน ลงลึกถึงครัวเรือนเชื่อมโยงกับชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน สถานบริการ

-ศึกษาข้อมูลผู้เสพรายบุคคลถึง ผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม จัดทำยุทธศาสตร์ จัดกลุ่มปัญหา

-คืนข้อมูลประสานภาคีเครือข่ายรัฐ ท้องถิ่น ท้องที่ เอกชน วิชาการ ประชาสังคม บูรณาการงานยึดเป้าหมายรายบุคคล วัดผลความสำเร็จ

-พัฒนาระบบสนับสนุนผ่านแอพพลิเคชั่นที่จะพัฒนามารองรับข้อมูลรายบุคคลแบบครบวงจร(นำเข้าข้อมูล ประมวล รายงานผล วัดผลการเปลี่ยนแปลงเชิงบุคคล) ปรับแนวทางที่มูลนิธิชุมชนดำเนินการในการดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคมผ่าน แอพฯ iMed@home

-พื้นที่ต้นแบบที่จะทำร่วมกัน ได้แก่ อ.รามัน จ.ยะลา อบต.ยะรัง จ.ปัตตานี ต.ย่านซื่อ อ.ควนโดน จ.สตูล ทม.คอหงส์ จ.สงขลา ต.โคกสัก จ.พัทลุง ต.หนองตรุด จ.ตรัง

หลังจากนี้จะนัดทีมวิชาการ จัดการความรู้ ทำกรอบคิด  ลงพื้นที่อำเภอรามันนำร่อง  ประสานภาคีจังหวัดอื่นมาร่วมเรียนรู้  และร่วม kickoff  ในภาพรวม  Mou กับภาคี

Relate topics