“หุ้นส่วนการพัฒนา ขับเคลื่อนพื้นที่ เปิดประตู มะรุ่ยแห่งความสุข”

  • photo  , 1000x666 pixel , 116,214 bytes.
  • photo  , 1000x1321 pixel , 160,906 bytes.
  • photo  , 2048x1364 pixel , 201,433 bytes.
  • photo  , 2048x1364 pixel , 149,901 bytes.
  • photo  , 2048x1364 pixel , 197,705 bytes.
  • photo  , 1000x666 pixel , 91,035 bytes.
  • photo  , 2048x1364 pixel , 168,778 bytes.
  • photo  , 2048x1364 pixel , 151,029 bytes.
  • photo  , 2048x1364 pixel , 158,614 bytes.
  • photo  , 2048x1364 pixel , 153,294 bytes.
  • photo  , 2048x1364 pixel , 145,320 bytes.
  • photo  , 2048x1364 pixel , 199,598 bytes.
  • photo  , 1000x666 pixel , 98,349 bytes.
  • photo  , 2048x1364 pixel , 169,811 bytes.
  • photo  , 2048x1364 pixel , 177,673 bytes.
  • photo  , 2048x1364 pixel , 183,445 bytes.
  • photo  , 2048x1364 pixel , 189,645 bytes.
  • photo  , 2048x1364 pixel , 170,259 bytes.
  • photo  , 2048x1364 pixel , 146,746 bytes.
  • photo  , 1000x813 pixel , 123,013 bytes.

อบต.มะรุ่ย ร่วมกับ สนส.ม.อ. และ สสส.

จัดเวทีระดมความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ขับเคลื่อนพื้นที่ตำบลมะรุ่ย ให้เป็นต้นแบบการจัดการ ภัยพิบัติและอนุรักษ์ฐานทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กับการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย

“มะรุ่ยแห่งความสุข”

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ดำเนินโครงการภายใต้แผนงานศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อยกระดับและขยายผลกระบวนการทำงานแบบเครือข่ายและเพิ่มการประสานความร่วมมือของภาคีทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาชน และสื่อมวลชน ในการดำเนินงานตามประเด็นปัญหา 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงทางมนุษย์ และความมั่นคงทางฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคใต้

สำหรับพื้นที่ตำบลมะรุ่ย อ.ทับปุด จ.พังงา เป็นพื้นที่เป้าหมายด้านการพัฒนาเพื่อให้เป็นพื้นที่ต้นแบบด้านความมั่นคงทางฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการการจัดการภัยพิบัติและอนุรักษ์ฐานทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กับการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย

​องค์การบริหารส่วนตำบลมะรุ่ย นำโดยนายมนตรี พลันการ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะรุ่ย ขานรับการพัฒนา จึงได้ประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สมาคมประชาสังคมพังงาแห่งความสุข สภาองค์กรชุมชน มูลนิธิชุมชนไท และอีกหลายภาคีเครือข่าย มาร่วมกระบวนการขับเคลื่อน  ให้ตำบลมะรุ่ยเป็นตำบลแห่งความสุข มีเป้าหมายให้ประชาชนคนในตำบลมะรุ่ยมีสุขภาวะที่ดี ท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ  โดยมีทีมนักวิชาการ นำโดย ดร.จินดา สวัสดิ์ทวี จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และนางสาวซูวารี มอซู จากสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สนับสนุนการทำงานด้านวิชาการ

​วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2565 ณ ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมะรุ่ย องค์การบริหารส่วนตำบลมะรุ่ย ร่วมกับ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) และ สสส.

จัดเวที ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ “หุ้นส่วนการพัฒนา ขับเคลื่อนพื้นที่ เปิดประตู มะรุ่ยแห่งความสุข” เพื่อเปิดเวทีต้อนรับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนมาขับเคลื่อนให้ตำบลมะรุ่ยเป็นตำบลแห่งความสุขได้อย่างแท้จริง

ได้รับเกียรติจาก นายเถลิงศักดิ์ นุชประหาร รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นประธานเปิดเวทีการประชุม ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนนโยบายของจังหวัดพังงาภายใต้นโยบาย “พังงาแห่งความสุข”

การจัดเวทีในครั้งนี้ นำเสนอเพื่อร่วมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา ขับเคลื่อนพื้นที่ เปิดประตู..มะรุ่ยแห่งความสุข นำโดย

​ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดี ฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ให้แนวทางในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นต้นแบบเพื่อสร้างความมั่นคงในทุกมิติ

นายประดิษฐ์ นิจไตรรัตน์ สำนักพัฒนาภาคีและวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้แนวทางการทำงานร่วมการเป็นหุ้นส่วนที่เริ่มจากระดับบุคคล กลุ่ม เครือข่าย และการร่วมกันบริหารงานเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้จัดการโครงการภายใต้แผนงานศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ นำเสนอแนวทางการปฏิบัติโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อนำสู่เป้าหมาย “มะรุ่ยแห่งความสุข”

นายไมตรี จงไกรจักร ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท นำเสนอข้อมูลเสนอสถานการณ์ ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยในพื้นที่ตำบลมะรุ่ย เพื่อวางแผนรับมือป้องกันภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

อาจารย์พงศ์ธีระ บัวเพ็ชร คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเล นำเสนอข้อมูลสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ฉายภาพให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ด้านฐานทรัพยากรในพื้นที่นำสู่การวางแผนการอนุรักษ์ที่เหมาะสมต่อไป​​​​​​ นายสมศักดิ์ โบบทอง กลุ่มประมงพื้นบ้านเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ นำเสนอข้อมูลสถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในชุมชน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่บ้านโคกไครเป็นกลไกสำคัญในการหนุนเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

​หลังจากการเปิดเวทีหุ้นส่วนการพัฒนา ขับเคลื่อนพื้นที่ เปิดประตู...มะรุ่ยแห่งความสุขในครั้งนี้แล้ว คณะกรรมการการทำงานจะมีการจัดเวทีการอบรมเพื่อจัดทำแผนผังทรัพยากรธรรมชาติ การเก็บข้อมูลพื้นที่ตำบลมะรุ่ยในมิติต่าง ๆ และกระบวนการปฏิบัติ เพื่อจัดทำเป็นข้อมูล และนำเสนอให้คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลมะรุ่ยได้พิจารณาและนำเสนอในเวทีการประชุมสภา และเวทีสาธารณะ เพื่อสรุปเป็นแนวทางการพัฒนาสู่การกำหนดให้เกิดข้อบัญญัติท้องถิ่นในการป้องกันภัยพิบัติ และการอนุรักษ์ฐานทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ เป็นข้อตกลงร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่  โดยใช้ระยะเวลา 1 ปีในการขับเคลื่อนงานดังกล่าว

เรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาความสุขไปด้วยกัน ! เพื่อเป็น “หุ้นส่วนการพัฒนา ขับเคลื่อนพื้นที่ เปิดประตุ.. มะรุ่ยแห่งความสุข”

สุขแรก ได้ร่วมคิดร่วมทำ

สุขที่สอง คนในพื้นที่มีความสุข

และสุขสุดท้าย เกิดการลงมือทำเรียนรู้ร่วมกันไปสู่ความสุขของชุมชน...

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทร.095-6544987

#สนสมอ

#สสส

#มะรุ่ยแห่งความสุข

ขอบคุณข้อมูลจาากเพจ สื่อสร้างสุขภาคใต้


ชมคลิปย้อนหลัง

Relate topics