ขยะแลกบุญ การจัดการขยะด้วยหัวใจคนคลองทราย

  • photo  , 1000x750 pixel , 169,994 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 114,367 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 120,505 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 120,179 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 266,684 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 99,394 bytes.
  • photo  , 1920x1080 pixel , 203,193 bytes.
  • photo  , 715x960 pixel , 269,395 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 210,895 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 192,505 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 106,470 bytes.

ชาวบ้านคลองทราย นาทวี ชวนจัดการ “ขยะแลกบุญ”

ชุมชนบ้านคลองทราย อ.นาทวี สงขลา แม้จะไม่ได้นับว่า “ขยะ” จะเป็นปัญหาอะนดับต้น ๆ แต่ก็มองว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ใช้การจัดการขยะเพื่อปูทางไปเรื่องอื่น ๆ อีกหลายเรื่องด้วยมีจุดแข็งในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน

แกนนำในหมู่ 3 โดยการหนุนนำจาก รพ.สต. คลองทราย ได้ร่วมกันดำเนินงานโครงการจัดการขยะแลกบุญ ชวนชาวบ้านมาศึกษาสถานการณ์ขยะในพื้นที่ ให้ได้รู้ว่าแต่ละวันมีขยะประเภทไหนกี่มากน้อย ก่อนจะชี้ให้เห็นว่าขยะที่รีไซเคิลได้คือโอกาสที่น่าสนใจ  คือโอกาสในการร่วมกันทำบุญร่วมกัน

หลังจากแกนนำโครงการได้เน้นให้ความรู้ว่าขยะรีไซเคิลมีอะไรบ้าง ก่อนจะเชื่อมโยงไปเรื่องมูลค่าและราคาที่สามารถแปรเปลี่ยนเป็นเงิน ที่จะนำไปสนับสนุน “สำนักสงฆ์ลูกโคก” ถือเป็นการทำบุญร่วมกันของทั้งชุมชน


ชาวบ้านร่วมกันทำ “ไซรับขยะ” วางตามพื้นที่สาธารณะ เช่น หน้าร้านค้า เพื่อให้ชาวบ้านนำขยะรีไซเคิลมาใส่ เช่น ขวดพลาสติก กระป๋อง ขวดแก้ว อุปกรณ์รับขยะต้นทุนต่ำนี้ทำง่าย มีอายุการใช้งานพอสมควร สามารถผลิตได้หลายอันโดยใช้งบประมาณเพียงเล็กน้อยทำให้กระจายไปยังหลายจุดในหมู่บ้าน ก่อนที่แกนนำจะมาช่วยกันจัดเก็บแล้วนำไปใส่รวมในตะแกรงเหล็กแยกประเภทขยะในสำนักสงฆ์อีกทีเพื่อรอร้านรับซื้อขยะมารับซื้อ และเปลี่ยนเป็นเงินรายได้ ซึ่งทางชุมชนจะบริจาครายได้จากการขายขยะเหล่านี้แก่สำนักสงฆ์ฯ ซึ่งเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของคนในพื้นที่ ถือเป็นการทำบุญร่วมกันโดยใช้ขยะรีไซเคิลเป็นกลไกสำคัญ


และไม่เพียงแต่ขยะรีไซเคิลเท่านั้นที่ถูกจัดการ ขยะอีกประเภทที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ “ขยะอินทรีย์” อย่างเศษอาหาร เศษผักผลไม้ ก็ถูกนำไปเป็นอาหารของไส้เดือน ที่ทางโครงการได้เปิดสอนให้ชาวบ้านได้เลี้ยงไส้เดือนด้วยขยะอินทรีย์เหล่านี้ใน 19 ครัวเรือน เพื่อช่วยย่อยสลายขยะให้เป็นปุ๋ย นำไปใช้บำรุงต้นไม้ พืชผัก จนได้ผลผลิตผักสวนครัวงดงามใช้บริโภคในครอบครัว และบางส่วนเหลือแบ่งปันเพื่อนบ้าน และจำหน่ายเป็นรายได้เสริมอีกด้วย


จากเวทีการสะท้อนผลลัพธ์ของโครงการเมื่อไม่นานมานี้ พบว่า มีครัวเรือนเข้าร่วมคัดแยกขยะอย่างต่อเนื่อง 142 ครัวเรือน หรือราว 75 % ขยะในชุมชนลดลงกว่าครึ่ง เกิดบ้านต้นแบบการจัดการขยะ 10 ครัวเรือน ทั้งในเรื่องการคัดแยกและใช้ประโยชน์จากขยะ ถนนนทางและบ้านเรือนสะอาดมากขึ้นด้วยขยะลดลง นอกจากนี้ ชุมชนได้เริ่มพูดคุยกันถึงลดขยะประเภทอื่นๆ เช่น งดหรือลดการใช้ถุงพลาสติก เน้นการใช้ถุงผ้าอีกด้วย ซึ่งแกนนำและชุมชนมั่นใจว่าสามารถทำได้ทันที ไม่ต้องรองบประมาณจากหน่วยงานภายนอก


แม้จะเป็นการทำงานของชุมชนย่อม ๆ แต่ก็เป็นความภูมิใจของหน่วยจัดการโครงการขนาดเล็ก หรือ โหนดสงขลา ที่ได้มีส่วนร่วมปลุกปั้นให้โครงการนี้ดำเนินงานจนลุล่วงครับ

นิพนธ์ รัตนาคม รายงาน

Relate topics