ศูนย์สร้างสุขชุมชนตำบลคูหา กลไกบูรณาการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ผู้สูงอายุที่เปราะบางทางสังคม

  • photo  , 2048x1152 pixel , 171,781 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 37,108 bytes.
  • photo  , 1316x640 pixel , 102,409 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 152,728 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 169,510 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 203,968 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 143,675 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 138,748 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 147,195 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 197,763 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 138,427 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 154,812 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 36,149 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 25,010 bytes.
  • photo  , 1316x640 pixel , 77,317 bytes.

วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ นัดกรรมการศูนย์สร้างสุขชุมชนและเครือข่ายตำบลคูหา พัฒนาโครงการดูแลคุณภาพชีวิตคนพิการ ผู้สูงอายุที่เปราะบางทางสังคม

สภาพปัญหาทั่วไปก็คือ เจ็บป่วยเรื่อรัง พิการ สูงอายุติดบ้านติดเตียง ส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุการกิน จำเป็นต้องเปลี่ยนทัศนะผู้ดูแล มีหนี้สินส่วนหนึ่งจากความยากจน ส่วนหนึ่งจากการมีเวลาว่างเล่นพนัน(หวยสัตว์) ทำให้ไม่อยากทำงาน ปัญหาใหญ่ก็คือความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนมีน้อยลง ต่างคนต่างอยู่มากขึ้น และอยู่กันเฉพาะกลุ่มมากขึ้น บวกกับมีปัญหายาเสพติด ทางออกจำเป็นที่จะต้องมีกิจกรรมสร้างสรรค์สร้างความเป็นชุมชนใหม่ สร้างเครือข่ายเฉพาะกลุ่มมาร่วมกิจกรรมให้มากขึ้น พูดง่ายๆเพิ่มทุนทางสังคมให้มากขึ้น

กิจกรรมรอบนี้จะทำให้เกิดระบบการดูแลแบบเครือข่ายแนวราบโดยใช้บุคคลเป้าหมายเป็นตัวตั้ง

ปัญหาเชิงระบบการดูแลสุขภาพจะเป็นหน้าที่ของศูนย์สร้างสุข มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตในภาพรวมเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือและจัดทำแผนดูแลคุณภาพชีวิตรายบุคคลผ่านแอพฯ iMed@home จัดทำกติกาชุมชนหรือธรรมนูญตำบล วันนี้ได้นำข้อมูลกลุ่มเปราะบางที่ทีมเก็บข้อมูลมาดูกันทีละราย ภาพถ่ายที่นำเข้าระบบทำให้เห็นสภาพปัญหาที่แจ่มชัดมากขึ้น

บวกกับต้นทุนเดิมที่ดีคืองานดูแลผู้สูงอายุระยะยาว การทำงานกับรพ.สะบ้าย้อย สสอ. รพสต.ทั้งสองแห่ง พชอ.สะบ้าย้อย ผู้นำศาสนา โรงเรียน ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ ตชด. พมจ. อบต.คูหา และมีกองทุนคนคูหาไม่ทอดทิ้งกัน รวมไปถึงกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพฯ อบจ.สงขลา เหล่านี้จะทำให้การเดินหน้างานดังกล่าวเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น

จากนี้นัดทีมศูนย์สร้างสุขทำความเข้าใจบทบาทภารกิจ ลงพื้นที่ให้กำลังใจและเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายร่วมแปดสิบชีวิตเพิ่มเติม และไปดูงานที่ศูนย์ฟื้นฟูฯทับช้าง

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics