เรื่องเล่าชาวนาปัตตานี การต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของเกษตรชายแดนใต้

  • photo  , 1000x750 pixel , 139,040 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 112,497 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 221,585 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 335,023 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 259,023 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 181,968 bytes.

เรื่องเล่า "ชาวนาปัตตานี"

เขียนโดย สุกัญญา สุขสุพันธ์


บ้านราวอ เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ตั้งอยู่ในตำบลกระหวะ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

คนที่นี่นับถือศาสนาอิสลาม 100 % และมีอาชีพหลักคือการทำนาข้าวขายข้าวเปลือกให้กับพ่อค้าคนกลาง ในราคากิโลกรัมละ 8 บาท

เคยถามว่าทำไมไม่ขายข้าวสารน่าจะได้ราคาดีกว่า พี่น้องชาวนาตอบว่าโรงสีอยู่ไกล ต้องไปสีที่อำเภอปะนาเระ และ ไม่รู้จะขายใคร

สองสามปีที่ผ่านมา การทำนาในพื้นที่เจอปัญหาหอยเชอรี่ระบาดหนัก ทำลายต้นข้าวได้รับความเสียหาย ต้องเสียเวลาในการปลูกซ่อม และเสียเงินค่าเพื่อนำมากำจัดหอยเชอรี่ ส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง

ประมาณเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา ชาวนาสังเกตเห็นฝูงนกปากห่าง(อยู่ในวงศ์นกกระสา (Ciconiidae) ฝูงใหญ่บินมาโฉบจิกกินหอยเชอรี่ในแปลงนา ซึ่งนกปากห่างมีจุดเด่นที่ไม่เหมือนใคร ก็คือปากที่ยามที่ยามหุบจะเหลือช่องตรงกลาง ทำให้มันคาบเปลือกหอยโข่งและหอยเชอรี่ที่ทั้งกลมทั้งลื่นได้อย่างช่ำชอง เมื่อจับหอยได้แล้วมันจะคาบไปหาทำเลเหมาะ ๆ เพื่อใช้จะงอยปากทำหน้าที่เหมือนแหนบจิกเนื้อหอยออกมากิน ส่งผลให้ปริมาณหอยเชอรี่ในแปลงนาลดลงจำนวนมาก

วันนี้ (พฤษภาคม 2562) ชาวนาบ้านราวอ เริ่มเตรียมพื้นที่สำหรับทำนารอบใหม่ บางรายมีกำลังกายก็ใช้รถไถเดินตามหรือที่รู้จักกันดีในนาม "ไอ้ควายเหล็ก"

บางรายพอมีกำลังทรัพย์ก็จ้างรถไถใหญ่ แม้นจะราคาแพงหน่อย แต่เพื่อความรวดเร็วและสะดวกก็ยินดีจ่าย

ชาวนาที่นี่ส่วนใหญ่ยังคนทำนาตามวิถีเดิม ๆ ใช้พันธ์ข้าวท้องถิ่น พันธุ์ยอดฮิตคือ ข้าวพันธุ์เจ๊ะบิเด๊าะ ข้าวมะจานู เพราะปลูกง่าย ทนแล้งทนฝน และมีพ่อค้ามารับซื้อแน่นอน

แม้ราคาจะไม่ถูกใจ แต่ก็ดีกว่าต้องไปหาตลาดด้วยตัวเอง

Relate topics