กลไกระบบสนับสนุนร่วมพัฒนางานดูแลผู้สูงอายุ คนพิการและกลุ่มเปราะบางสู่สังคมเป็นสุข

  • photo  , 960x540 pixel , 49,656 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 64,259 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 51,933 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 38,233 bytes.
  • photo  , 1315x640 pixel , 73,403 bytes.
  • photo  , 1315x640 pixel , 45,492 bytes.

"สังคมเป็นสุข"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

การดูแลผู้สูงอายุหรือคนพิการที่เปราะบางทางสังคม ควรประสานเชื่อมโยงกันระหว่างภาคีระดับเขต จังหวัด อำเภอ ตำบล โดยพัฒนาระบบสนับสนุนมาใช้เป็น "สนามพลัง" ในการทำงานร่วมกัน ได้แก่ ระบบสารสนเทศกลาง เวทีกลาง กองทุนกลาง กติกากลาง เหล่านี้จึงจะเสริมเติมช่องว่างการทำงานร่วมกันได้

โดยมีการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐระดับจังหวัด/อบจ./อปท.เป็นขาหลัก ร่วมกับขาประชาสังคมและเอกชน และขาวิชาการ หากเดินร่วมกันได้ทั้ง ๓ ขาจะมีส่วนช่วยเสริมเติมเต็มกันได้ ขาดขาใดขาหนึ่ง งานในพื้นที่ก็จะยังเดินหน้าได้ไม่ติดขัด

ในระดับตำบลหรือพื้นที่ปฎิบัติการ ปัจจุบันกิจกรรมที่ดำเนินการมี ๒ แนวทางคือ ๑.บูรณาการระบบการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ๒.ชุมชนดูแลในลักษณะชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน

กรณีแรก ใช้กลไกของศูนย์สร้างสุขชุมชน(หรือชื่ออื่น สามารถบูรณาการกับศูนย์คนพิการทั่วไป ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ศูนย์ประสานงานหลักประกัน ศูนย์ITC ชุมชน ฯลฯ) จึงมีมากกว่าแค่การบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยได้ร่วมบูรณาการกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องมาร่วมดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางดังกล่าว

ประกอบด้วยกลุ่มกิจกรรมที่กำลังดำเนินการ แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลและแผนดูแลคุณภาพชีวิตรายบุคคล ทำงานแบบบูรณาการโดยประสานภาคีนอกพื้นที่และในพื้นที่จำนวนมากให้สามารถทำงานร่วมกันโดยใช้ care plan รายบุคคลในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ จำแนกเป็นยุทธศาสตร์แต่ละด้าน ได้แก่ การบริการสุขภาพ การแก้ปัญหาด้านอาชีพและรายได้ การแก้ปัญหาด้านสังคมและสภาพแวดล้อม เป็นต้น โดยทำงานผ่านแอพพลิเคชั่น iMed@home และ www.communeinfo.com แบบครบวงจร โดยปรับข้อมูลรายบุคคลให้มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตด้านต่างๆเป็นปัจจุบัน ประมวลผลข้อมูลในภาพรวมเพื่อนำมาปรับยุทธศาสตร์การทำงาน และระบบเยี่ยมบ้านในรูปแบบจิตอาสาแบบบุคคลและกลุ่มบูรณาการเพื่อให้สามารถติดตามผล ประเมินผล ลดช่องว่างการให้ความช่วยเหลือที่ซ้ำซ้อนและไม่สามารถวัดผล เสริมด้วยกิจกรรมอื่นๆ ได้แก่ การระดมทุนไม่ว่าจะเป็นเพื่อการศึกษา ของใช้มือสอง สิ่งของเครื่องใช้ วัสดุสิ้นเปลือง สิ่งอำนวยความสะดวกจากชุมชนและเครือข่าย การทำธรรมนูญตำบล เป็นต้น

กรณีชุมชนดำเนินการดูแลกันเอง อาศัยภาวะผู้นำขององค์กรชุมชนที่ตระหนักถึงปัญหาเป็นผู้นำประสานความร่วมมือ และพัฒนากิจกรรมมาเสริมการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากการทำแผนร่วมและแผนรายบุคคลที่ว่าแล้ว ยังสามารถเปิดศูนย์แบ่งปันของใช้มือสอง พัฒนาอาชีพและรายได้จากสิ่งของเหลือใช้ นำมาต่อยอดเป็นธุรกิจเพื่อสังคม มีการระดมทุนจากการทอดผ้าป่าขยะหรืออื่นๆ สร้างการรับรู้และกระตุ้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสมาชิกของตน

Relate topics