ประชุมภาคีเครือข่ายประเด็นสุขภาวะทุกช่วงวัย(แม่และเด็ก)

  • photo  , 2048x1152 pixel , 168,809 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 193,307 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 144,314 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 154,555 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 167,376 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 164,344 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 179,660 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 160,819 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 97,809 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 86,494 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 172,293 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 202,459 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 102,400 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 170,763 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 160,532 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 141,442 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 170,734 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 195,983 bytes.
  • photo  , 1152x2048 pixel , 131,404 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 194,178 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 97,780 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 122,980 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 163,414 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 193,526 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 95,804 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 131,143 bytes.
  • photo  , 1152x2048 pixel , 122,970 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 132,606 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 162,363 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 171,467 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 202,927 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 138,505 bytes.
  • photo  , 1152x2048 pixel , 116,632 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 163,494 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 183,218 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 163,274 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 177,896 bytes.
  • photo  , 1152x2048 pixel , 131,482 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 105,170 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 179,855 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 186,334 bytes.

เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒  เขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๒ จัดประชุมภาคีเครือข่ายความร่วมมือประเด็นสุขภาวะทุกช่วงวัย(แม่และเด็ก)

มีผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ได้แก่

ตัวแทน กขป.เขต ๑๒  ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ รองประธาน กขป.เขต ๑๒ พร้อมด้วยพร้อมด้วยอาจารย์บุญเรือง ขาวนวล  คุณชาญวิทูร สุขสว่าง คุณมาเรียม ชัยสันทนะ

ตัวแทนภาควิชาการ ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา คณะแพทยศาสตร์ หมาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

และตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่

คุณทรงสมร พิเชียรโสภณ ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา

คุณภควดี นนทพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

คุณวาสนา ชูคง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส

คุณกิตติเชษฐ์ สุขเกษม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา

คุณอารยา ชีวะสาธจ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี

คุณสุทน มานะสุวรรณ และคุณ พิชญ์สินี บุญยอด จากศูนย์บริหารการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้(ศบ.สต.)

คุณอลัน สาดีน จากศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคใต้ (กระทรวง พม.)

คุณเปรมยุดา พัฒชนะ จากโรงพยาบาลสตูล

คุณขนิษฐา  สวนแสน จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 12

ตัวแทนภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม/ภาคประชาชน

คุณอิลฟาน ตอแลมา จากสถาบันนวัตกรรมสุขภาพวิถีอิสลาม สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข

คุณอนัญญา แสะหลี จากสมาคมผู้บริโภคจังหวัดสตูล

คุณปราณี วุ่นฝ้าย จากมูลนิธิชุมชนสงขลา

รวมทั้งเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต 12 ร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย

สรุปการประชุม

สถานการณ์แม่ท้องตาย (หญิงท้อง) ในพื้นที่เขต ๑๒ (พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) ณ ๓๑ มีนาคม ๖๒ มีจำนวน ๒๑ เคส

เมื่อวิเคราะห์จะพบว่าสาเหตุเกิดจากภาวะของการตั้งครรภ์ เช่น การตกเลือด ๘ ราย เป็นโรคทางอายุรกรรม ๙ ราย เช่น เบาหวาน ความดัน ไทรอยด์ ลูคิวเมีย หอบ อ้วนฯ มีภาวะตกเลือดหลังคลอดที่มดลูกหดตัวไม่ดี ทำแท้ง

เมื่อวิเคราะห์สาเหตุลึกๆ คือ ในเรื่องของ การตัดสินใจช้าในการรับบริการที่สถานบริการ เรื่องของความเชื่อผีเข้าเป่าของโดนมนต์ ไม่มาตามนัด-รักษาตัวเอง ขาดการวางแผนครอบครัวในกลุ่มคนที่ท้องหลายครั้งอายุมาก การเข้าถึงบริการ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ยาเสพติด เรื่องของระบบบริการ เช่น ระบบส่งตัวจากโรงพยาบาลหนึ่งมายังอีกโรงพยาบาลหนึ่ง ภาวะพึ่งพาผู้นำครอบครัว เปลี่ยนสามีใหม่ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของแม่ท้อง ฯลฯ

ปัญหาที่ให้ความสำคัญ คือ อัตราการตายของแม่(หญิงท้อง) มองในเรื่องคุณภาพการให้บริการตามมาตรฐานที่กำหนด และความรู้ในเรื่องสุขภาพของประชาชน ในเรื่องของความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ และการตัดสินใจในการตั้งครรภ์ ภายใต้ความเชื่อ การปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพของตนเอง การเว้นระยะการมีบุตร และภาวะเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์

(บันทึกข้อมูลโดยคุณปราณี วุ่นฝ้าย)

ในเขต ๑๒ มีแม่ตาย(หญิงท้อง) จำนวน ๒๑ ราย เห็นว่าควรมีการสื่อสารกับเครือข่ายต่างๆ ผ่านสื่อสารมวลชน อย่างทั่วถึง แก่ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ในการเผยแพร่แก่ประชาชนและสร้างความรอบรู้เพื่อการดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิเคราะห์พฤติกรรมความรู้มี ๓ รูปแบบ คือ

ไม่รู้ = ไม่ทำ

รู้ = ไม่ทำ

รู้ = ทำ

การสร้างองค์ความรู้ให้แก่ประชาชน เพื่อมีความสามารถใช้ได้ในชีวิตจริง ประกอบด้วย
๑.ผู้ให้ความรู้ คือเจ้าหน้าที่ ๒.ประชาชน ๓.ศักยภาพและวิธีการ

ในวันนี้ที่ประชุมได้พูดถึง node ในการให้บริการและศักยภาพของสถานบริการ กระบวนการให้บริการ การดูแลต่อเนื่อง
การสื่อสารสาธารณะ เพื่อสร้างความรู้แก่ชุมชน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ แบะความตระหนักแก่ครอบครัวและชุมชน

มองถึง พื้นที่รูปธรรม การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม การสื่อสารของ MCH board

ควรมีจุดเน้นในเรื่อง.. ๑.การค้นหา กลุ่มเป้าหมาย เพื่อการเข้าถึงบริการ ๒.การคัดกรองความเสี่ยงโดยการมีส่วนร่วม ๓.การเฝ้าระวัง และการดูแล ต่อเนื่อง

นอกจากนี้ การค้นหาความครอบคลุมของกลุ่มเป้าหมาย เช่นกรณีฝากครรภ์ในคลินิก เพื่อการลดภาวะเสี่ยงและดูแลต่อเนื่อง การพัฒนาศักยภาพของ CM ระดับอำเภอ จังหวัด เพื่อการประสานในการดูแล กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

นักสุขภาพครอบครัว(นสค.) เพื่อการติดตามดูแลในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

MCH board และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

การทบทวน Flow ในการดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

วิเคราะห์ RCA เพื่อการค้นหา Gap เพื่อแก้ปัญหา

การมีและใช้แนวปฏิบัติ ศักยภาพในการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

และการขับเคลื่อนงานโดยใช้กระบวนการร่วมกับเครือข่าย พชอ.

นอกจากนี้ยังมีปัจัจยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การวิเคราะห์ข้อจำกัด สภาพบริบทหรือปัญหาในพื้นที่นั้น และบทเรียนในการดูแลผู้ป่วย

(บันทึกข้อมูลโดยคุณเปรมยุดา พัฒชนะ)

งานแม่ตายหรือ สุขภาวะหญิงท้อง เป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนของปัญหา การร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดอย่างละเอียดและจำเป็นต้องทำงานข้ามเครือข่ายกระทรวงมากขึ้น นอกจากกระทรงสาธารณสุขที่มีศูนย์อนามัยที่ ๑๒ เป็นแม่งานหลัก ทาง กขป. ช่วยประสานงานตัวแทนกระทรวง พม. กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ ฯลฯ ล้วนแต่เกี่ยวข้องและสามารถร่วมกันมแก้ปัญหาสุขภาวะหญิงท้องได้อย่างแท้จริง

มีวงคุยกันอีกหลายยกผ่านกระบวนการ "เรียนรู้ เติมเต็ม ต่อยอด ขยายผล" และเป็นความสำเร็จร่วมของทุกภาคส่วน

ภาพโดย ทีมงานศูนย์ประสานงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๒

โครงการพัฒนาและสนับสนุนกระบวนการดำเนินงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชนในพื้นที่เขต ๑๒ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒

ข่าวสารประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10214238094450922&id=1372001531

Relate topics