กลไก Node ขนาดเล็ก สสส.ตรัง กลไกสนับสนุนงานสร้างเสริมสุขภาวะระดับพื้นที่

  • photo  , 960x719 pixel , 77,977 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 62,156 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 67,039 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 70,674 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 70,127 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 61,171 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 72,544 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 61,010 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 37,276 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 85,027 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 86,582 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 60,883 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 80,996 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 80,141 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 67,548 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 67,087 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 76,756 bytes.
  • photo  , 960x547 pixel , 48,497 bytes.

กลไก Node ขนาดเล็ก สสส.ตรัง กลไกสนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะระดับพื้นที่

เขียนโดย เชภาดร จันทร์หอม

สรุปจากเวทีสะท้อนผลลัพธ์โครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็กและโครงการเปิดรับทั่วไป

ตอนที่ 1 โค้งสุดท้าย

เผลอแปปเดียวก็เข้าเดือนที่ 10 ของการดำเนินกิจกรรมโครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็กและโครงการเปิดรับทั่วไป ของพื้นที่ชุมชนในจังหวัดตรังจำนวน 22 พื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุนโครงการตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2561 จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

โดยกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพครอบคลุม 8 ประเด็นย่อย ได้แก่ ประเด็นการจัดการขยะ ประเด็นการส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้เพื่อสุขภาพในโรงเรียน ประเด็นการผลิตและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน ประเด็นงานบุญประเพณีปลอดเครื่องดื่มแอลกกอฮอล์ ประเด็นการลด ละ เลิกบุหรี่ ยาสูบโดยชุมชนเป็นฐาน ประเด็นสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ประเด็นการจัดการจุดเสี่ยงป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน ประเด็นส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น จำนวน 18 พื้นที่ และโครงการเปิดรับทั่วไปอีก 4 พื้นที่

ครั้งนี้ระหว่างวันที่ 19-20 พฤษภาคมเราเปลี่ยนบรรยากาศใช้สถานที่ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นพื้นที่แนบชิดติดภูเขา ณ ภูผายอดรีสอร์ท ซึ่งตั้งในพื้นที่ตำบลลำภูรา อ.ห้วยยอดเป็นสถานที่นัดหมาย หลังจากเจอกันครั้งแรกอย่างเป็นทางการที่บ้านมดตะนอยรีสอร์ท ต.เกาะลิบง อ.กันตังในเวทีปฐมนิเทศโครงการฯ และอีกครั้งที่ห้องประชุมของทางวิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธรตรัง หนึ่งในภาคีวิชาการของทาง Node สสส.ตรัง

เมื่อทีมคณะทำงานโครงการมาพร้อมกันจากทุกโครงการรวมกับทีมคณะทำงาน Node สสส. ตรัง และที่ปรึกษา รวมแล้วเกือบ 70 ชีวิต ทำให้ห้องประชุมที่นี้ดูเล็กไปถนัดตา สำหรับเป้าหมายการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ การสะท้อนผลลัพธ์การดำเนินโครงการฯโดยเป็นการสะท้อนจากมุมมองของพี่เลี้ยงสนับสนุนวิชาการ และแลกเปลี่ยนร่วมกันกับคณะทำงานโครงการฯ ประการถัดมา คือ การติดตามการรายงานออนไลน์ และตรวจความเรียบร้อยเอกสารการเงิน

วันแรกภายหลังจากพี่สุวณี สมาธิ หัวหน้าหน่วยจัดการร่วม สสส.ตรังชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมแล้วก็เป็นกระบวนการสะท้อนผลลัพธ์โครงการโดยแบ่งตามกลุ่มประเด็นที่พี่เลี้ยงวิชาการรับผิดชอบ เริ่มจากที่พี่เลี้ยงช่วยกันสะท้อนผลลัพธ์ตามมุมมองที่พี่เลี้ยงลงพื้นที่ติดตามเสริมพลัง ต่อด้วยการให้ทีมคณะทำงานโครงการได้ร่วมให้ข้อมูลผลลัพธ์เพิ่มเติม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซักถามกันระหว่างโครงการ กว่าบ่าย 2 ที่แต่ละกลุ่มประเด็นย่อยจะมีการสะท้อนผลลัพธ์กันแล้วเสร็จ จากนั้นเป็นการนำเสนอข้อมูลสะท้อนผลลัพธ์ต่อวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยพี่เลี้ยงวิชาการ นำเสนอไปได้ 15 โครงการ โดยมีประเด็นส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้เพื่อสุขภาพในโรงเรียน ประเด็นการจัดการขยะ ประเด็นการผลิตและบริโภคผักในครัวเรือน ประเด็นสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และต้องขอยุติการนำเสนอของวันนี้ตอน 6 โมงเย็น ส่วนภาคค่ำหลังจากรับประทานอาหารเย็นมื้อพิเศษด้วยเมนูปลาหลังแข็งย่าง และปลาหมึกผัดน้ำดำ วัตถุดิบสดใหม่จากทะเลตรังของพี่น้องบ้านมดตะนอยแล้วก็เป็นไปตามอัธยาศัย บ้างก็พักผ่อน บ้างก็เป็นการพบกับพี่เลี้ยงช่วยกันดูเอกสารการเงิน การรายงานออนไลน์ และซักถามข้อสงสัย

วันที่ 2 ภาคเช้าเริ่มด้วยการขยับอุ่นเครื่องร่างกาย เมื่อผู้เข้าร่วมประชุมพร้อมก็ดำเนินการสะท้อนผลลัพธ์โครงการฯ(ต่อ)จากเมื่อวาน ตั้งแต่ประเด็นส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรม ประเด็นการจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน ประเด็นการลด ละ เลิก บุหรี่ ยาสูบโดยชุมชนเป็นฐาน และประเด็นโครงการทั่วไปอีก 2 พื้นที่ ได้แก่ เรื่องนาอินทรีย์ และตลาดกรีนชินตา ภาคบ่ายเป็นการชี้แจงแลกเปลี่ยนซักถามระบบการเงิน การรายงาน การเบิกจ่ายเงิน และการรายงานออนไลน์ และมีนัดส่งการบ้านการรายงานต่างๆทางออนไลน์รวมถึงงานการถอดบทเรียนโครงการของพื้นที่ในประเด็นผลลัพธ์ความสำเร็จ กิจกรรมสำคัญ ปัจจัย และเงื่อนไขที่อยากเล่าสู่กันฟังภายใน 30 พฤษภาคมนี้

อีกอึดใจเดียว สู้ไปด้วยกัน Hey!

ปล.ขอบคุณภาพจากlineกลุ่ม Node สสส.ตรัง

ตอนที่ 2 ผลลัพธ์แต่ไม่(ลับ)

เรื่องราวถูกบอกเล่าแบบเพื่อนถึงเพื่อนในวงกลุ่มย่อยเพื่อบอกเล่าผลลัพธ์การทำงานในพื้นที่กว่า 10 เดือนของโครงการสร้างเสริมสุขภาพที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ทั้งกิจกรรม กลวิธี และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ดอกผลมีทั้งที่เป็นไปตามเป้าหมายโครงการ บ้างก็มีผลลัพธ์ที่มากกว่า อาทิ

กรณีการกินผักของครูหลายคนจากโครงการส่งเสริมการกินผักและผลไม้ในโรงเรียนที่มุ่งเป้าสร้างพฤติกรรมกินผักผลไม้ในนักเรียน นวัตกรรมปิ่นโตต้านบุหรี่ หรือ

แคมเปญหนองบ่อเลิกบุหรี่ academy season 1 ของโครงการลดเลิกยาสูบโดยชุมชนเป็นฐานที่บ้านหนองบ่อที่ทำให้คนลดเลิกบุหรี่ได้ในชุมชน และขยายวัดจัดพื้นที่ปลอดบุหรี่ได้ 3 วัดในพื้นที่

กลวิธีจัดประชุมอย่างไรไม่ให้ชาวบ้านเบื่อจากหมอโชคหมอหนึ่งจากบ้านมดตะนอย

การสร้างพื้นที่ต้นแบบนาอินทรีย์ที่บ้านควนสวรรค์ ตำบลนาหมื่นศรีจากชุมชนที่คนไม่เชื่อว่านาอินทรีย์ว่าจะทำได้

ตลาดกรีนชินตาตลาดที่สร้างการเรียนรู้ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคกับแนวคิดการใช้กิจกรรมปลูกคน และตลาดที่ใช้บุญนำ

ฟังแล้วอดชวนว้าว ชวนคิดไม่ได้ หลังจากนี้แต่ละพื้นที่ทั้ง 22 ชุมชนมีการบ้านในการถอดบทเรียนเพื่อเก็บเกี่ยวบทเรียนการทำงานพื้นที่เน้นบอกเล่าผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสำคัญจากโครงการ ปัจจัยเงื่อนไขสำคัญ รวมถึงทีม Node สสส.ตรังที่ต้องไปถอดบทเรียนเชิงลึกอีก 4 กรณี

โปรดติดตามกันต่อนะครับว่าบทเรียน ประสบการณ์การทำงานครั้งนี้ของแต่ละพื้นที่เรื่องราวแบบไหน อย่างไรบ้าง​

ตอนที่ 3 AAR อาฮ้า

เมื่อการประชุมรูดม่านปิดอย่างเป็นทางการ ทีมเครือข่าย 22 ชุมชนทยอยเดินทางกลับ ทีมทำงาน Node สสส.ตรัง พร้อมที่ปรึกษาชวนกันล้อมวงคุยสะท้อนผลการประชุมเพื่อสะท้อนผลการประชุมครั้งนี้ พบว่า

-บรรยากาศการเรียนรู้ในกลุ่มย่อยมีมาก ทั้งการแลกเปลี่ยนมุมมองความคิด การซักถาม

-การเรียนรู้ร่วมในวงใหญ่ภาคบ่ายวันแรกมีน้อย อาจจะด้วยมีจำนวนโครงการจำนวนมากที่ต้องทยอยมาคืนข้อมูลในวงใหญ่ ซึ่งใช้เวลามากเสร็จเกือบ 6 โมงเย็นแล้ว ทำให้ความสนใจช่วงท้ายนี้ลดน้อย

  • ภาคเช้าวันที่สองหลายพื้นที่กังวลกับการรายงานการเงิน และรายงานออนไลน์ ทำให้ขาดการตั้งใจฟังการนำเสนอข้อมูลสะท้อนผลลัพธ์

  • ให้ความรู้สึกเป็นกระบวนการส่งการบ้าน( การรายงานออนไลน์ รายงานการเงิน)

  • หลายโครงการอยากทำต่อแต่อาจจะไม่ของบประมาณสนับสนุนต่อ

  • สถานที่ห้องประชุมเล็กไป

ข้อเสนอแนะ

  • ถ้าจะเน้นสร้างผู้นำการเปลี่ยน ต้องสร้างบรรยากาศที่จะเอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเชิงลึกและให้ความสำคัญการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

บันทึกไว้เป็นข้อมูลสำคัญเพื่อการเรียนรู้ พัฒนา เติมเต็ม และต่อยอดสิ่งดี ๆ ร่วมกันอย่างยั่งยืน

Relate topics