ทิศทางการดำเนินงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๒

  • photo  , 1000x563 pixel , 120,236 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 149,468 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 182,796 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 126,461 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 101,236 bytes.

เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒

ความเป็นมา

๑. เกิดจากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน พ.ศ. ๒๕๕๙  โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๖) และ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔

๒. การจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชนนับเป็นมิติใหม่ของการทำงานในลักษณะเครือข่าย โดยใช้พื้นที่ระดับกลุ่มจังหวัดเป็นฐานในการทำงานแบบมีส่วนร่วม จัดการประเด็นหรือปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญของประชาชนในเขตพื้นที่ โดยจำเป็นต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วม (ทางสุขภาพ) ของเขตพื้นที่ของตนเอง เพื่อให้ตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และมีการระดมสรรพกำลัง ทั้งองค์ความรู้ ความคิด และทรัพยากรในการขับเคลื่อนร่วมกันก่อนจะนำไปปฏิบัติภายใต้กลไกหรือกฎระเบียบตามภารกิจความรับผิดชอบของหน่วยงานของแต่ละคนต่อไป

เขต ๑๒ มี ๔ ประเด็นร่วมที่จะขับเคลื่อนร่วมกัน ได้แก่

๑. บุหรี่และปัจจัยเสี่ยง

๒. การดูแลสุขภาพตามกลุ่มวัย

๓. สุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มเปราะบางทางสังคม

๔. เกษตรและอาหารสุขภาพ

๓.รูปแบบของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน กลไกหลัก ประกอบด้วยคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) จำนวน ๔๕ คน กขป. มีวาระ ๔ ปี มีบทบาทหน้าที่กำหนดเป้าหมาย ทิศทาง และยุทธศาสตร์ ในการดำเนินการและพัฒนาระบบสุขภาพในเขตฯ โดยบูรณาการภารกิจ อำนาจหน้าที่ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ดำเนินการหรือประสานงานให้เกิดการขับเคลื่อน ติดตาม,ประเมินผลการดำเนินงาน

ทั้งนี้เขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๒ มีโครงสร้างการดำเนินงานดังนี้

ประธานคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒ นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ ผู้แทนบุคลากรด้านสาธารณสุขในเขตพื้นที่

รองประธาน คนที่ ๑ นายสมพร สิริโปราณานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหาร หรือเศรษฐศาสตร์

รองประธาน คนที่ ๒ นายนฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพัฒนาสังคมและชุมชนท้องถิ่น

คณะเลขานุการร่วม ประกอบด้วยเลขานุการ ได้แก่ นายชาคริต โภชะเรือง  ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) และมีเลขานุการร่วมประกอบด้วย ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร ผู้แทนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นางนิธินาถ ศิริเวช ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และเภสัชกรประเวศ หมีดเส็น ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยมีผู้ประสานงานประจำศูนย์ ได้แก่ นางสาวกมลทิพย์ อินทะโณ

ศูนย์ประสานงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒ อยู่ที่ ๗๓ ซอย ๕ ถนนเพชรเกษม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โทรศัพท์และแฟกซ์ ๐๗๔ ๒๒๑๒๘๖

ช่องทางประชาสัมพันธ์กิจกรรมประกอบด้วยเว็บไซต์ www.ahsouth.com เฟชบุ๊คกลุ่มสาธารณะ ชื่อ เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒ และเพจ : เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒

เป้าหมาย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในพื้นที่ เขต ๑๒

มีแนวทางหลักๆ ได้แก่

๑.เรียนรู้ เติมเต็ม ต่อยอด ขยายผล

๒.ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์ดังนี้

๑)การปรับกระบวนทัศน์การทำงาน ร่วมปรับกระบวนทัศน์การทำงานจากแยกส่วนกันทำ ต่างคนต่างทำมาทำงานร่วมกันในรูปแบบ soft power และเชื่อมโยงประสานความร่วมมือผ่านการจัดการความรู้จากพื้นที่ต้นแบบ จนสามารถกำหนดกรอบการดำเนินงาน บูรณาการแผนทบทวนแผนปฎิบัติการของแต่ละหน่วยงานความร่วมมือศึกษาสถานการณ์สุขภาพ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

• กขป.ตั้งคณะทำงานวิชาการศึกษาสถานการณ์สุขภาวะระดับเขตวิเคราะห์ปัญหา/ทุนทางสังคมตามกรอบปัจจัยกำหนดคุณภาพชีวิต(ปัจเจก/สภาพแวดล้อม/ระบบ) พิจารณาทิศทางการทำงานของภาคีหลักได้แก่ สสส. สธ. สปปสช. และสช. รวมถึงข้อเสนอแนะจาก กขป. นำมากำหนด ๔ ประเด็นร่วมและเป้าประสงค์

• แต่ละประเด็นประชุมกลุ่มย่อย ค้นหาภาคีเครือข่าย เรียนรู้พื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จ

• สร้างช่องทางสื่อสารกลาง เรียนรู้ แลกเปลี่ยนทัศนะการทำงาน

• Mapping องค์กร/ภาคี ได้แก่ ภาครัฐ ท้องถิ่น วิชาการ เอกชน ประชาสังคม ชุมชน ตั้งแต่หน่วยงานระดับเขตจนถึงชุมชน และพื้นที่ปฎิบัติการในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน

• จัดประชุมเชิงปฎิบัติการ ค้นหาอนุกรรมการจากภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องที่ได้มาจากการ Mapping กำหนดแนวทางหรือยุทธศาสตร์การดำเนินงาน

• นำเสนอกขป.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดกรอบการดำเนินงาน

หมายเหตุ ดำเนินการในปีที่ ๑

๒)การทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ ยึดหลักการทำงาน “แนวตั้งถักทอแนวราบ” ใช้พื้นที่เป็นฐาน สนองตอบปัญหาและศักยภาพ บูรณาการทำงานด้วยการ “เรียนรู้ เติมเต็ม ต่อยอด ขยายผล” อย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อมโยงกับภาคีระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ภูมินิเวศ จังหวัด เขต และภาค แต่ละเครือข่ายกับภาคีสนับสนุนดำเนินการร่วมกันด้วย “ท่าที” เป็นมิตรเป็นเครือข่าย ไม่ขึ้นตรงต่อกัน มีอิสระต่อกัน เน้นการมีส่วนร่วมถึงระดับบุคคลและครัวเรือน ร่วมกันพัฒนาระบบสนับสนุนกลาง ในลักษณะเป็นเจ้าภาพร่วมหนุนเสริมการทำงานร่วมกัน มีการเสริมศักยภาพชุมชนในการปรับพฤติกรรมเสี่ยงส่วนบุคคล สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี และพัฒนาเชิงระบบหรือนโยบายสาธารณะ ทั้งนี้แต่ละภาคีจะสร้างความร่วมมือตั้งแต่ค้นหาเป้าหมายร่วม พื้นที่ปฎิบัติการร่วม หาเจ้าภาพหลักและรอง บางประเด็นจะเน้นการสร้างพื้นที่ต้นแบบเพื่อสร้างชุดความรู้ใหม่ ก่อนที่จะนำไปสู่การสื่อสารสาธารณะ มีการติดตามผล รายงานผลอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ โดยมีแนวทางดังนี้

• จัดประชุมเชิงปฎิบัติการคณะอนุกรรมการ ๔ ประเด็นและอนุวิชาการและสนับสนุนการจัดทำยุทธศาสตร์เชิงประเด็น กำหนดยุทธศาสตร์ แผนปฎิบัติการ ๒ ปี ค้นหาเจ้าภาพหลัก/รอง

• พื้นที่ปฎิบัติการร่วม one plan นำเสนอภาพรวมของพื้นที่ดำเนินงาน

• สร้างพื้นที่ต้นแบบที่แสดงผลรูปธรรมความร่วมมือและความสำเร็จของประเด็น

• จัดการความรู้

• การสื่อสารสาธารณะ

• ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามผล หนุนเสริมการทำงานและรายงานผล

หมายเหตุ ดำเนินการในปีที่ ๒ และ ๓

๓.การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ นำความรู้ที่ได้จากการดำเนินงานขยายผลไปสู่นโยบายสาธารณะ ควบคู่กับการผลักดันการแก้ปัญหาในเชิงระบบ

• ร่วมกับอนุกรรมการผลักดันเชิงนโยบายโดยอาศัยเวทีสาธารณะในระดับภาค เขต และจังหวัดที่เหมาะสม

• เสนอผ่านกขป.ร่วมผลักดันไปสู่ส่วนกลาง

• ร่วมกับกขป.เขตอื่นดำเนินการ

หมายเหตุ ดำเนินการในปีที่ ๒ และ ๓

๔.พัฒนาระบบสนับสนุน นอกจากการมีกลไกและศูนย์ประสานงานฯข้างต้นในการอำนวยความสะดวกการประชุมแล้ว ยังได้พัฒนาระบบข้อมูลกลาง การสื่อสารสาธารณะ การพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย และการติดตามประเมินผล

หมายเหตุ ดำเนินการในปีที่ ๑-๔

Relate topics