ประชุมคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๐ สัญจร ณ อำเภอนาทวี

  • photo  , 1000x667 pixel , 105,391 bytes.
  • photo  , 2048x1366 pixel , 200,160 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 89,779 bytes.
  • photo  , 2048x1366 pixel , 200,317 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 87,383 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 115,531 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 170,663 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 110,563 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 108,253 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 89,730 bytes.

วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๐  ประชุมคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒ สัญจรมายังอำเภอนาทวี แลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนคณะกรรมการสุขภาพระดับอำเภอ(DHS)ที่ปรับมาเป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(DHB)ของอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

รอบเช้าผู้เข้าร่วมซึ่งประกอบด้วยกขป. ๒๐ คน ทีมงานเลขานุการร่วม คณะทำงาน นักศึกษา และคณะทำงานในพื้นที่อำเภอนาทวี พบกัน ณ ห้องประชุมชั้น ๕ รพ.สมเด็จฯนาทวี ต้อนรับด้วยเสียงเพลง การแสดงทอคโชว์หนังตะลุง นำศิลปะวัฒนธรรมเป็นสื่อนำ ก่อนเรียนรู้กิจกรรมของนาทวี ผ่านกิจกรรมของผู้สูงอายุ การทำงานของอปท.ในพื้นที่ การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ในระดับชุมชน การมีส่วนร่วมของชมรมคนพิการระดับอำเภอ การพัฒนาระบบข้อมูลกลางด้วยแอพพลิเคชั่น iMed@home

จุดเริ่มต้นของงาน DHS นาทวี มาจากเห็นประเด็นร่วมคนพิการ และได้ศึกษาข้อมูลแบบสำรวจใหม่ 100% จนพบสาเหตุ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มากกว่าด้านสุขภาพ และเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายต่างๆเข้ามา โดยมีกลไกสำคัญ พัฒนาจาก DHS(คณะกรรมการสุขภาพระดับอำเภอ)มาสู่ DHB(คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ) ระดับอำเภอ และมีกลไกระดับหมู่บ้านขึ้นมารองรับ ขยับให้เกิดยุทธศาสตร์คุณภาพชีวิตอำเภอ ปัจจัยความสำเร็จหลักมาจากการปรับทัศนะการทำงาน เปลี่ยนสุขภาพมาเป็นคุณภาพชีวิต ใช้ความร่วมมือจากจิตอาสา สหวิชาชีพต่างๆที่เป็นทุนของพื้นที่

ช่วงเที่ยงได้ทานอาหารแบบบุฟเฟต์ซึ่งอำเภอนาทวีเป็นต้นแบบการจัดเลี้ยงแบบบริการตนเองในงานศพ งานบวช ทำมาจนเป็นค่านิยมร่วมของคนในพื้นที่และต่อมาได้ขยายไปทั้งจังหวัดสงขลา

ช่วงบ่ายลงเรียนรู้พื้นที่บ้านเขานา ตำบลคลองทราย อำเภอนาทวี เป็นพื้นที่หมู่บ้านเข้มแข็งได้รับรางวัลทั้งระดับจังหวัดและระดับภาค ผู้นำชุมชนเล่าว่าจุดเริ่มต้นการพัฒนามาจากความล้มเหลวในการพัฒนาของหมู่บ้านที่ล้าหลัง เป็นหมู่บ้านปิด จนกระทั่งผู้นำรุ่นใหม่ได้เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ โดยจับมือกับผู้นำศาสนาและคณะกรรมการหมู่บ้าน พัฒนาโดยเริ่มต้นจากการทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง สร้างความเชื่อมั่นให้กับชุมชน ค่อยๆปรับเปลี่ยนทัศนะการทำงาน พัฒนาหมู่บ้านเรื่อยมาจนประสบความสำเร็จ

ที่นี่มีประชากร ๓๐๐ กว่าคน นับถืออิสลามเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็สามารถดำรงอยู่กับไทยพุทธได้อย่างกลมกลืน มีจุดเด่นหลายอย่าง อาทิ การมีกองทุนกลางของหมู่บ้าน การมีผู้นำและการทำงานเป็นทีม การมีจุดเรียนรู้ เกือบ ๒๐ แห่ง มีกิจกรรมที่หลากหลายสอดคล้องกับกลุ่มวัยต่างๆ กิจกรรมเด่นๆ เช่น การพัฒนาสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยง มีแม่บ้านเป็นแกนปฎิบัติ มีกติกาชุมชนปลอดน้ำอัดลม ไม่กินข้าวในถุงพลาสติก และกำลังทำครัวเรือนปลอดโฟม

การพัฒนาใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

ข้อเสนอแนะที่กขป.มีให้กับหมู่บ้านเขานา : สร้างสุขภาวะให้กับเกษตรกรด้วยการเชื่อมโยงสร้างรูปธรรมพืชร่วมยางให้มากขึ้น มีพืชอัตลักษณ์ และสร้างผู้ประกอบการมุสลิมขึ้นเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน กขป.สามารถจัดการความรู้บ้านเขานา ไปขยายผลในชุมชนที่มีวิถีและบริบทใกล้เคียงกัน

ในช่วงสุดท้ายของการประชุม มีข้อเสนอแนะดังนี้ : ๑)การหาประเด็นร่วม ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญ ได้แก่ การลดปัจจัยเสี่ยง การดูแลสุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม ได้แก่ คนพิการ/ผู้สูงอายุ หรือประเด็นอื่นๆโดยให้ดูว่ามีภาคีเครือข่ายที่ดำเนินการอยู่มากน้อยเพียงใดทั้งระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านเป็นเกณฑ์สำคัญ ๒)สร้างกระบวนการที่ดีรองรับ ประกอบด้วยการพัฒนาระบบข้อมูล จัดการความรู้ สื่อ ในลักษณะ “เรียนรู้ เติมเต็ม ต่อยอด ขยายผล”

การดำเนินการต่อไป
๑)ในช่วงปีงบประมาณ ๒๕๖๑ จะมีการสนับสนุนผ่านมาทางสช.ในการประชุมกขป. และสสส.ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล และการพัฒนาศักยภาพทีมงาน

๒)ในช่วงเดือนพฤศจิกายน จะนัดทีมเล็กมากลั่นกรองประเด็นร่วมและสำรวจต้นทุนภาคีเครือข่าย  และนัดหมายประชุมกขป.ครั้งที่ ๔ วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๐

Relate topics