"พัฒนาระบบขนส่งบริการผู้ป่วย IMC"
"พัฒนาระบบขนส่งบริการผู้ป่วย IMC"
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาและกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา นัดภาคีเครือข่ายความร่วมมือประกอบด้วย สปสช.เขต 12, สสจ.,รพ.สงขลา,ขนส่งจว.,ม.อ, ม.ราชภัฎ,มูลนิธิชุมชนสงขลา/สมัชชาสุขภาพจังหวัด ออกแบบระบบบริการการขนส่งอัจฉริยะ เพื่อบริการภาครัฐให้ประชาชนที่เข้าไม่ถึงบริการ เคาะนำร่องกลุ่มผู้ป่วย IMC(Intermediate care; IMC) หมายถึง การบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลางที่มีอาการทางคลินิกผ่านพ้นภาวะวิกฤติและมีอาการคงที่ มีความจำเป็นต้องพบแพทย์ในช่วง 6 เดือน
โดยมุ่งเน้นการรับส่งผู้ป่วย IMC ไปพบแพทย์ในกลุ่มยากไร้ ไม่มีญาติ ไม่มีผู้ดูแล ไม่มียานพาหนะรับส่ง ตามอาการเขียว/เหลือง/แดงของผู้ป่วย IMC หลังพ้นระยะวิกฤต เพื่อไม่ให้เป็นผู้ป่วยติดเตียง ตามสิทธิ์ที่ได้รับ ลดค่าใช้จ่ายและความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ทั้งนี้ทีมกลางจะวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานจาก รพ.ศูนย์และสปสช. คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย เขียว เหลือง แดง ตามสิทธิ์พื้นฐานทั้งบัตรข้าราชการ ประกันสังคมและบัตรทอง เพื่อให้ได้ผู้ป่วย(แดง)ที่จะให้ความช่วยเหลือ ข้อมูลจากสปสช.และรพ.ทั้งจังหวัดมีราว 600 คนในรอบ 6 เดือน ผู้ป้วยเหล่านี้ไปใช้บริการ ณ รพ.ศูนย์หรือคลินิกหรือรพ.ชุมชน
ผู้ป่วยจำแนกเป็นประเภท 1.เขียว ได้แก่ เดินได้หรือมีคนช่วยเหลือ: มาทำกิจกรรมฟื้นฟู กายภาพบำบัด การรับบริการความถี่ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้บริการรถตู้ รถเก๋ง: นัดพบหมอ รพ.ศูนย์ ได้แก่ รพ.สงขลา/หาดใหญ่/นาทวี/บางกล่ำ และรพ.มอ. และไม่นัดพบหมอ แต่มาทำกายภาพบำบัด ณ รพ.ชุมชน 2.ประเภทเหลือง ได้แก่ ผู้ป่วยนั่งได้ ช่วยตัวเองได้ มาทำกิจกรรมฟื้นฟู กายภาพ การรับบริการความถี่ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้รถตู้ รถเก๋ง 3.ประเภทแดง ได้แก่ ผู้ป่วยนอนติดเตียง มาพบแพทย์ ทำกายภาพ 1 ครั้งต่อเดือน ใช้รถนอน
กลุ่มเป้าหมายที่กองทุนฯจะให้บริการตามสิทธิ์โดยดำเนินการร่วมกับอปท.ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล ไม่มีค่าใช้จ่าย มีเกณฑ์คือไม่มีผู้ดูแล/ยากจน/ตามสภาพอาการ/ไม่มียานพาหนะ กรณีประเภทผู้รับบริการจ่ายเอง ทีมกลางจะช่วยประสานส่งต่อ และวางมาตรฐานการบริการ
การให้บริการ มีข้อสรุปให้ทีมกลางและม.อ.พัฒนา platform มารองรับข้อมูลกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว : ผู้ป่วยหรือญาติสามารถประสานเข้าระบบด้วยตนเอง หรือเจ้าหน้าที่รพ.ช่วยลงข้อมูลให้ ผ่าน line OA หรือApp หรือโทรตรงมายัง center จังหวัด สามารถเลือกบริการให้ตรงตามเกณฑ์การบริการ คือจ่ายเองหรือรัฐดูแล จากนั้นcenterกลางที่จะมีเจ้าหน้าที่ช่วยนำข้อมูลเข้าระบบ ประสานหน่วยบริการหลัก ได้แก่ รถของท้องถิ่น รถตู้ รถของขนส่ง และรถบริการเสริมจากขนส่งภาคเอกชน กรณีจ่ายเองจะมีการจัดตั้งกองทุนภายใต้ร่มบ.ประชารัฐรักสามัคคีสงขลา(วิสาหกิจเพื่อสังคม) มาดูแลระบบ สร้างความยั่งยืน
นำร่องกลุ่มเป้าหมายหลัก IMC ประเภทสีแดงที่ยากไร้ ในอนาคตจะขยายไปยังคนพิการที่มีการมาเปลี่ยนอุปกรณ์,คนไข้ฟอกไต ผู้ป่วยโรคจิตเวช: กลุ่มเหล่านี้สามารถเบิกจ่ายผ่านกองทุนสุขภาพตำบล 350 ต่อคนหรือเหมาจ่าย 2,000 บาทต่อคัน ทีมกลางจะวางหลักเกณฑ์ย่อยของหน่วยบริการและร่วมบริการ โดยมีอบจ.จัดตั้ง center กลางในการประสานงาน
นำร่อง 4 แห่ง คือ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอเมือง โดยอบจ.และกองทุนฟื้นฟู อำเภอสะบ้าย้อยและควนเนียงโดย ม.ราชภัฎสงขลา ที่จะดำเนินการผ่านงานวิจัยในกลุ่มเป้าหมายภาพรวมคู่ขนานกัน และมาเชื่อมโยงผ่าน center จังหวัดเดียวกัน
หลังจากนี้ทีมโปรแกรมเมอร์ไปพัฒนาระบบ จัดทำ TOR และนัดทำเกณฑ์ย่อยวางมาตรฐานการบริการ ประสานหน่วยบริการสร้างความร่วมมือต่อไป
ชาคริต โภชะเรือง บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- ภารกิจภาคีเครือข่ายโครงการการพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติด้วยข้อมูล ความรู้ แบบสหวิทยาการในพื้นที่ประสบภัยพิบัติซ้ำซากจังหวัดปัตตานี
- ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับพื้นที่นำร่องชุมชนสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านความมั่นคงทางอาหารภาคใต้
- สงขลา "ความสุขเริ่มที่บ้าน : ปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียงสิทธิ์บัตรทอง"
- ผนึกพลัง 24 องค์กรเครือข่ายร่วมจัดทำบันทึกความร่วมมือ(MOU)ข้อตกลงธรรมนูญสถานศึกษาปลอดภัย ป้องกันปัจจัยเสี่ยง ฯ ในเด็กและเยาวชน จังหวัดนครศรีธรรมราช
- เวทีสานพลังเครือข่ายในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะภาคใต้ เน้นประเด็นความมั่นคงทางอาหาร มนุษย์ สุขภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่การพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการจังหวัดพัทลุง
- เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก เปิดพื้นที่ “Let’s play festival” ปีที่ 2 เล่นอิสระใกล้บ้าน เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้
- งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 17 พ.ศ. 2567 (วันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2567)
- เยาวชนต้องพร้อม สู่อาสาสมัครรับมือน้ำท่วม (สงขลา)
- การหารายได้เสริมจากผักที่เราปลูก: กรณีของ “กะละห์” ต้นแบบจาก Node สสส.ปัตตานี