ประชุมคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.) เขต ๑๒ ครั้งที่ ๘ (ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒)

  • photo  , 1000x563 pixel , 99,887 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 164,853 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 150,073 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 153,727 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 196,443 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 89,905 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 88,950 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 178,929 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 161,331 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 203,479 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 155,010 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 167,495 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 126,165 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 190,549 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 185,453 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 159,253 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 93,387 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 101,650 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 186,987 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 177,636 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 133,822 bytes.

ประชุมคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.) เขต ๑๒ ครั้งที่ ๘ เมื่อ ๒๕ มิย.ที่ผ่านมา ณ ชั้น ๓ สยามนครินทร์ หาดใหญ่ รอบนี้มีเรื่องสำคัญๆได้แก่ นำเสนอความก้าวหน้า พิจารณาแผนปฎิบัติการ ๒ ปี และหารือความร่วมมือกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) ๗ จังหวัด โดยสรุปตามนี้ครับ

๑.มีกขป.ใหม่ ๒ ท่านได้มีการแต่งตั้งมาทดแทนคนเก่า ได้แก่ นายรัตน์นริศ สุวรรณรัตน์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ มาแทนนายประสงค์ ปัญจเมธีกุล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองตรัง และดร.กัลยา ตันสกุล แทนกขป.ดร.ขวัญตา บุญวาศ

๒.รายงานความก้าวหน้าพร้อมกับพิจารณาแผน ๒ ปีไปด้วยกัน

๒.๑ ในภาพรวม เขต ๑๒ ปิดโครงการปี ๒๕๖๑ และเริ่มดำเนินการโครงการปี ๒๕๖๒ ภายใต้งบประมาณสนับสนุนจำนวน ๑,๒๖๐,๐๐๐ บาท สำหรับดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการเขตฯ ประชุมเลขาร่วม สนับสนุนการขับเคลื่อนประเด็นงานของอนุกรรมการ/คณะทำงาน การจัดการความรู้ สื่อสารสาธารณะ และติดตามผล ค่าตอบแทนและหมวดค่าบริหารจัดการ) การทำงานที่ผ่านมาได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ๔ ชุด ได้ข้อมูล Mapping พื้นที่ปฎิบัติการ ๑๐ ชุด (พื้นที่ปฎิบัติการรายประเด็นระดับพื้นที่หมู่บ้าน/ตำบล/อำเภอ/จังหวัด และหน่วยงานภาคีเครือข่ายความร่วมมือ ภาครัฐ ท้องถิ่น วิชาการ เอกชน ประชาสังคม ชุมชน นำไปประมวลเป็นข้อมูลเผยแพร่ใน www.AHsouth.com) ได้แผนปฎิบัติการ ๒ ปี(พ.ศ.๒๕๖๒-๒๕๖๔) ได้ผลิตสื่อกขป.(กำลังจัดส่งสช.)

๒.๒ ประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง

๑) มีพื้นที่รูปธรรม เช่น เครือข่ายองค์กรงดเหล้าในพื้นที่ต่างๆ ทุกจังหวัดในระดับเขต และมีชุดความรู้ เช่น สมุนไพรทดแทนบุหรี่ จุดเน้นในการดำเนินงานพื้นที่รูปธรรมให้เห็นองคาพยพ ทั้งหมด คือ บ้าน วัด โรงเรียน มัสยิด มีทีมอสม. สาธารณสุขอำเภอ ผู้นำศาสนา ภาคประชาสังคม ที่เข้ามาเกี่ยวข้องหนุนเสริมการทำงานใช้พื้นที่อำเภอรามัน จ.ยะลาเป็นพื้นที่นำร่อง และมีพื้นที่ อบต.ยะรัง , อบต.ย่านซื่อ จังหวัดสตูล อบต.คอหงส์ จังหวัดสงขลา อบต.หนองตรุด จังหวัดตรัง เป็นพื้นที่เรียนรู้ร่วมกันปฎิบัติการ

๒)มีพรบ.ครอบครัวออกมาใหม่ โดยห้ามการสูบบุหรี่ในบ้าน จึงต้องให้ความรู้เกี่ยวกับพรบ.ที่ออกมาใหม่

๒.๓ ประเด็นการดูแลสุขภาพตามกลุ่มวัย (แม่และเด็ก)

๑) เป้าหมายของประเด็นคือ แม่มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ จัดทำเป็นโมเดล Smart Mom Smart kid ลดปัญหาระดับเขต ชี้เป้า และผนึกเครือข่าย

๒) สถานการณ์ด้านแม่และเด็ก คือ แม่เสียชีวิตในจำนวนที่เพิ่มขึ้นในระดับเขต ขาดการเตรียมความพร้อมในกรณีภาวะฉุกเฉิน ที่ไม่ได้ผ่านการคัดกรองโดยเฉพาะในพื้นที่ ๓ จังหวัด ปัญหาเรื่องการฉีดวัคซีน และปัญหาโรคหัด ที่มารดาและเด็กยังเข้าไม่ถึงการรับการบริการจากหน่วยงานของรัฐ

๓) มาตรการและแนวทาง คือ ส่งเสริมในเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแม่และเด็ก ส่งเสริมด้านอาชีพให้กับมารดา ในการแก้ปัญหาเรื่องโรคหัด พบว่าโรคหัดเชื่อมโยงกับเรื่องทุพโภชนาการ ในพื้นที่ ๓ จังหวัด ๔ อำเภอที่ปฏิเสธการฉีดวัคซีน และมีทุพโภชนาการทุกพื้นที่

๔) คณะการการอิสลามประจำจังหวัด มีการทำงานในเรื่องยุติการใช้ความรุนแรงในครอบครัว เนื่องจากปัญหาครอบครัวเป็นเรื่องที่มีความเปราะบาง จึงมองว่าการอบรมโรงเรียนพ่อแม่ตามวิถีหลักศาสนา จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาระดับครอบครัวได้ โดยในผู้หญิงไม่ได้ห้ามการมีลูกแบบถาวร แต่ต้องมีระยะห่างของการมีลูก อย่างน้อย ๒ ปี เพื่อไม่ให้กระทบต่อสุขภาพแม่ และลูก รวมทั้งเป็นการป้องกันปัญหาด้านเศรษฐกิจ

๒.๔ ประเด็นสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์และเปราะบางทางสังคม

๑) ประเด็นกลุ่มชาติพันธุ์และเปราะบางทางสังคม สปสช. ได้ดำเนินการมาประมาณ ๒ ปีแล้วโดยเฉพาะในกลุ่มมานิหรือมันนิ โดยทำงานร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพจังหวัดสตูล ผลักดันในเชิงนโยบายให้มันนิเข้าถึงรัฐสวัสดิการ และได้รับบัตรประชาชนในที่สุด กลุ่มที่ได้รับบัตรประชาชนแล้วส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อำเภอป่าบอนจังหวัดพัทลุง จังหวัดสตูล และจังหวัดตรัง

๒) มีการจัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นในกลุ่มชาวเลและมันนิ โดยมีการบรรจุสิทธิเพิ่มเติมคือ เพิ่มช่องทางให้สามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลที่รพ.สต.ที่ไหนก็ได้ และให้ทุกคนมีบัตรประจำตัวประชาชนได้โดยไม่ต้องตรวจสอบดีเอ็นเอ และเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลบัตรทอง ตอนนี้มีจำนวนประมาณ ๔๐๐ คน

๓) กรณีเด็กเกิดใหม่ สามารถเข้าถึงสิทธิบัตรประชาชนและสิทธิการรักษาพยาบาลบัตรทองได้ทันที ส่วนเด็กโตหรือคนที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ต้องเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลของสปสช.ก่อนและใช้สิทธิได้เลย

๔) คณะกรรมการกำหนดแนวทางการจ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ(๕x๕) กรณีมันนิบางส่วนที่อาจรับการบริการข้ามเขตข้ามจังหวัด เนื่องจากวิถีชีวิตของมันนิที่ต้องโยกย้ายเปลี่ยนที่อยู่ไปเรื่อย ไม่สามารถจำกัดสิทธิการรักษาพยาบาลที่ใดที่หนึ่งได้ (สปสช.ควรรวมคนไทยที่ประสบปัญหาเดียวกัน)

๕) กลุ่มโอรังอัสรีย์ในพื้นที่จังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่ยังไม่มีบัตรประชาชน เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบ และไม่มีหนังสือรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขที่ไม่ต้องมีการพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล ซึ่งหากมีความร่วมมือจากศอ.บต. จะสามารถแก้ไขปัญหาบางส่วนได้

๖) ประเด็นกลุ่มเปราะบางทางสังคม มี ๒ รูปแบบคือ

๑)กรณีคนที่เข้าถึงสิทธิ ใช้กลไกกลางให้มีศูนย์บูรณาการระดับตำบล เช่น ศูนย์สร้างสุขชุมชน ศูนย์ไอทีชุมชน ศูนย์พัฒนาครอบครัว ศูนย์คุณภาพชีวิตคนพิการ และมีแอพพลิเคชั่นในการทำข้อมูล มีแผนงานดูแลรายบุคคล

๒)กลุ่มที่เข้าไม่ถึงสิทธิ มีการรวมกลุ่ม และการหนุนเสริมจากภาคเอกชน ภาคประชาสังคม โดยไม่รอการช่วยเหลือจากภาครัฐ ซึ่งต้องมีชุมชนที่ลุกขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือตนเอง จุดที่จะร่วมกันคือพื้นที่ตำบล จังหวัดละ ๑ ตำบล ได้แก่ ๑.จังหวัดสงขลา ร่วมกับพชอ.สะบ้าย้อยตำบลคูหา พชอ.นาทวี ตำบลทับช้าง และตำบลบ่อยาง ๒.จังหวัดพัทลุง อำเภอควนขนุนและทต.ควนขนุน ๓.จังหวัดปัตตานี อำเภอยะรังและตำบลคลองใหม่ ๔.จังหวัดสตูล ตำบลปากน้ำ ๕.จังหวัดยะลา อำเภอรามัน ตำบลวังพญา ๖.จังหวัดตรัง อำเภอปะเหลียน ตำบลบางด้วน ๗.จังหวัดนราธิวาส ตำบลโคกสะตอ อำเภอรือเสาะ เพื่อสร้างการเรียนรู้และผลักดันนโยบาย โดยจัดทำเรื่องข้อมูลรายบุคคลผ่านแอพพลิเคชั่น iMed@home โดยร่วมบูรณาการกับพชอ. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

๗) องค์กรหลักที่ควรมีบทบาทเข้ามาในการช่วยเหลือกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่สามจังหวัดคือ ศอ.บต ในการดำเนินการในเรื่องการขึ้นทะเบียน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ปัญหา และเป็นกลไกสำคัญในเรื่องของการแก้ปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ได้

๘) กลุ่มแรงงานนอกระบบ เป็นกลุ่มหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นคนไทยไร้สิทธิ ที่เป็นกลุ่มเปราะบางในเขตเมือง และต้องได้รับสิทธิในการดูแลจากหน่วยงานภาครัฐด้วยเช่นกัน

๒.๕ ประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ

๑) มีการประสานเชื่อมโยงเครือข่ายสมัชชาเกษตรยั่งยืนภาคใต้และเครือข่ายสมัชชาเกษตรยั่งยืนสงขลา กรณีสารเคมีและเรื่องพันธุกรรม และแนวทางการทำงานร่วมกับกขป ในการขับเคลื่อนประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ

๒) ประชุมกับคณะอนุกรรมการ ๔ ครั้ง โดยมีการดำเนินงานตามเป้าหมายหลักของประเด็น คือ

๑.ให้ชาวสวนยางพออยู่พอกิน โดยมีการเสนอโครงการร่วมกับโครงการ node flagship พื้นที่จังหวัดสงขลา ,การศึกษาวิจัย อยู่ระหว่างรอเซ็นต์สัญญา เป็นการทำงานวิจัยว่าด้วยแผนแม่บทเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวสวนยาง ในพื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ,การสร้างตัวแบบสวนยางยั่งยืน โดยจะดำเนินการศึกษาทุกรูปแบบ, งานมหกรรมสวนยางยั่งยืน ซึ่งจะนำเสนอประเด็นในงานสร้างสุขภาคใต้ กำหนดจัดในวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฏร์ธานี

๒.ส่งเสริมเกษตรเพื่อสุขภาพ ได้มีการออกแบบสำรวจพันธุกรรมพืชพื้นบ้าน ร่วมกับเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุกรรมของเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้ ,ประเด็นข้าวไร่ ได้มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนทั้ง ๔ ภาค ที่จังหวัดชุมพร , พันธุกรรมทุเรียนพื้นบ้าน ในพื้นที่ ๕ จังหวัด ซึ่งเริ่มกิจกรรมตั้งแต่ต้นเดือนกรกฏาคมจนถึงกลางเดือนกันยายน ๒๕๖๒

๓.ส่งเสริมการตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ จังหวัดสตูลมีการถอดบทเรียนวิสาหกิจชุมชนหุ่นไล่กากรุ๊ป การส่งเสริมสุขภาพโดยใช้สมุนไพรกัญชา

๓) การบูรณาการร่วมกับงานสร้างสุขภาคใต้และเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๑ ประเด็นอาหารและสุขภาพเป็นตัวเชื่อม ซึ่งจะผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายและใช้ตลาดสุขภาพเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อน

โดยสรุป การขับเคลื่อนแต่ละประเด็น ต้องมีฐานข้อมูลและภาคีความร่วมมือ คณะอนุกรรมการแต่ละประเด็นต้องมีข้อเสนอเชิงนโยบาย มีทางเลือกบนฐานข้อมูลรองรับ อาศัยการขับเคลื่อนในเชิงพื้นที่ให้ชัดเจน โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน

๓.ความร่วมมือกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.)

๓.๑ เรียนรู้การทำงานของพชอ.ควนขนุน จ.พัทลุง เริ่มดำเนินการปี ๒๕๕๖ โดยการจัดทำประชาคมการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชน ระหว่างท้องถิ่น ผู้นำ ภาคประชาชน แบ่งบทบาทหน้าที่ กำหนดประเด็นสุขภาพ ประเด็นผู้สูงอายุ ยาเสพติด หมู่บ้าน อุบัติเหตุ ฯลฯ ประเด็นผู้สูงอายุมีการทำงานร่วมกับสาธารณสุข กศน. กองทุนสุขภาพตำบล พม. กขป. เครือข่ายสวัสดิการกองทุนชุมชน(ออมวันละบาท) เครือข่ายเยี่ยมบ้าน การให้ความรู้ด้านส่งเสริมอาชีพ ปี ๒๕๖๒ ใช้งบประมาณจากกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อพัฒนารูปแบบผู้พิการและผู้สูงอายุให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ

๓.๒ ข้อเสนอแนะการทำงานร่วม ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบข้อมูล ประสานการทำงานกับท้องถิ่น เช่น อบจ.ร่วมกันเป็นเจ้าภาพบูรณาการ ใช้ประเด็นร่วมของกขป.ประสานตรงกับพชอ.มาเป็นอนุกรรมการ (บางพื้นที่เข้ามาร่วมแล้ว) ร่วมเรียนรู้ด้วยการร่วมมือทำงานในพื้นที่นำร่อง

๔.ข้อเสนอแนะอื่นๆที่สำคัญ

๔.๑ กขป.ยังไม่เป็นที่รับรู้ในส่วนของผู้บริหารจังหวัด ท้องถิ่น เสนอให้ทีมกลางเข้าไปพบผู้ว่าฯ หรือนายกอบจ.แนะนำตัวและสร้างความร่วมมือ

๔.๒ งานสร้างสุขภาคใต้ จะมีขึ้น ๕-๗ สิงหาคมนี้ ณ โรงแรมนิภาการ์เดนท์ มีโควต้าให้กขป. ที่สนใจไปร่วมงาน

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics