ความร่วมมือเพื่อการปลูกและแปรรูปสมุนไพร ขมิ้นชัน เพื่อการพึ่งพาตนเองและใช้ทางการแพทย์พื้นที่จังหวัดสตูล

  • photo  , 960x720 pixel , 63,237 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 78,953 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 74,825 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 63,826 bytes.

วันที่ 9 กรกฎาคม 2562  บริษัทประชารัฐรักสามัคคีสตูล (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด  ร่วมกับสาธารณสุข จ.สตูล, รองผอ.รมน.สตูล, เกษตรจังหวัด, อุตสาหกรรม, พาณิชย์, พลังงาน, ม.สงขลานครินทร์, และสภาเกษตรกร

ร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูก/แปรรูปสมุนไพร ขมิ้นชัน เพื่อการพึ่งพาตนเองและใช้ทางการแพทย์ โดยมีกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกสมุนไพร 5 กลุ่มและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเข้าประชุมกว่า 80 คน ณ ห้องประชุม สนง.สาธารณสุข จ.สตูล

โดยมีนายศักดา วิทยาศิริกุล รองผวจ.สตูลเป็นประธานในพิธีเปิด

นพ.สมบัติ ผดุงวิทย์วัฒนา นายแพทย์สาธารณสุข จ.สตูล กล่าวว่า ทางรัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกและสมุนไพร โดยมุ่งเน้นเติมเต็มด้วยวิทยการความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีและการวิจัยพัฒนาต่อยอดเพื่อให้สมุนไพรไทยเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มรายได้ประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ เกิดการพึ่งพาตนเองและรวมกลุ่มกันอย่างมีพลัง

โดยมีบริษัทประชารัฐฯสนับสนุนพันธุ์ขมิ้นชัน คณะเภสัชศาสตร์ มอ.และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสตูลสนับสนุนวิทยากร กอ.รมน.จ.สต.(ท) ร่วมสนับสนุนงบประมาณสำหรับการสร้างเครือข่ายกลุ่มเกษตรกร

ด้านนายวิทชัย อรุณอร่ามศักดิ์ ประธานบริษัทประชารัฐฯ กล่าวว่า บริษัทได้สนับสนุนเกษตรกรปลูกและแปรรูปขมิ้นชัน เพื่อทางการแพทย์โดยประสานกับ ม.อ. ซึ่งขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์เป็นทั้งอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์ความงาม มีการวิจัย หลากหลายเพื่อแปรรูป  ในความต้องการมีเยอะ  จึงเชิญกลุ่มเกษตรกรมาร่วมโครงการ และให้ความรู้โดยภาพรวม และสนับสนุนพันธุ์ขมิ้นชัน เพื่อนำไปปลูกและนำมาจำหน่ายให้กับบริษัทฯโดยทางบริษัททำหน้าที่รวบรวมผลผลิตส่งให้กับทาง ม.อ. (สารสำคัญเกิน 5%) เนื่องจากตลาดการแพทย์มีความต้องการสูง มีผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่ทำจากขมิ้นชัน และความต้องการขณะนี้ยังไม่เพียงพอ ซึ่งวันนี้มี 10 หน่วยงานที่ร่วมลงนามความร่วมมือสนับสนุนเครือข่ายเกษตรกร ผู้ปลูกสมุนไพร

สำหรับเกษตรกรที่ปลูกสมุนไพรต้องมีการปรับตัวในการปลูกเชิงพานิชย์จากที่เคยปลูกเพื่อบริโภคและขายตามตลาดทั่วไป โดยเฉพาะการปลูกที่ต้องให้สารเคอคูมินอยมีปริมาณสูงจึงจะส่งเข้าไปยัง ม.อ.เพื่อผลิตเป็นอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์ต่างๆได้  จึงถือเป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรที่สามารถสร้างรายได้เสริมให้ครัวเรือน

Kanyapat Ang Rattanapan รายงาน

Relate topics