"การพัฒนาระบบบริการกลุุ่มเปราะบางทางสังคม"

  • photo  , 1280x960 pixel , 132,561 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 39,833 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 35,988 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 57,768 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 44,735 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 48,982 bytes.
  • photo  , 678x960 pixel , 182,752 bytes.
  • photo  , 678x960 pixel , 186,172 bytes.
  • photo  , 678x960 pixel , 184,795 bytes.

"การพัฒนาระบบบริการกลุุ่มเปราะบางทางสังคม"

นอกจากระบบปกติที่ดำเนินการอยู่แล้ว เครือข่ายต่างๆในสงขลากำลังพัฒนาระบบการดูแลคนพิการ ผู้สูงอายุติดเตียง ผู้ป่วยรอการฟื้นฟูโดยกองทุนฟืนฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพเป็นเจ้าภาพหลักร่วมกัน

เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของระบบบริการ

กรณีนี้กองทุนฯประสานมูลนิธิชุมชนสงขลานำแอพพลิเคชั่น iMed@home มาใช้พัฒนาระบบข้อมูลกลาง โดยมีกลไกที่เกี่ยวข้องมาร่วม ประกอบด้วย

๑.อสม.เชี่ยวชาญกว่า ๑๐๐๐ คน ทำหน้าที่เยี่ยมบ้าน สำรวจความต้องการใหม่ๆ(จำแนกประเภทความต้องการ) ให้ความช่วยเหลือดูแล โดยมีอบจ.เป็นเจ้าภาพพร้อมเงิน ๖๐๐ บาทเป็นค่าตอบแทน กลุ่มนี้จะมีระบบรายงานระดับบุคคลและอำเภอ รายงานผ่านระบบเยี่ยมบ้านของแอพฯ แทนรายงานบนกระดาษแบบเดิม

๒. Admin จังหวัด(สสจ./พมจ./อบจ./สมาคม-ชมรมคนพิการทุกประเภท) อำเภอ และตำบล(อปท./ศูนย์บริการคนพิการ/ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต ๑๔๐ ตำบล) กลุ่มนี้จะทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยง ส่งต่อข้อมูลความต้องการ(มีรายงานความต้องการทั้งระดับพื้นที่จำแนกประเภทความต้องการ และรายงานความต้องการระดับบุคคล) จัดระบบการทำงานเป็นกลุ่ม/สมาชิกและดึงรายชื่อผู้ป่วยเข้าสู่กลุ่ม

๓.ศูนย์สร้างสุขชุมชน จะมี CM หรือผู้ช่วยนักกายภาพประจำศูนย์ ทำงานร่วมกับจิตอาสาประจำศูนย์ บางแห่งจะนำร่องจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต และ Care plan คุณภาพชีวิตระดับบุคคล

เริ่มด้วยการนำฐานข้อมูลคนพิการเข้าระบบ พมจ.มีคนพิการราว ๓.๒ หมื่นคน ข้อมูลเดิมที่มีบวกกับการเก็บข้อมูลจากพื้นที่และรวมถึงยังไม่ได้ปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันจากการเสียชีวิต ทำให้ในแอพฯ มีข้อมูลคนพิการในสงขลาปัจจุบันนี้จำนวน ๓๖,๗๕๐ คน จะต้องตรวจสอบร่วมกับสสจ. สปสช. ศธ. และสมาคมคนพิการทุกประเภทอีกครั้ง จึงจะได้จำนวนที่แท้จริง-ระบบนี้จะต้องดูร่วมกัน ทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันเหมือนๆกัน

พร้อมกับสั่งสมทักษะการใช้สมาร์ทโฟน ข้อมูลดิจิตอลอีกสักระยะ ก่อนยกระดับไปสู่การวัดคุณภาพชีวิตรายบุคคลที่จะดำเนินการในระยะต่อไป

จังหวัดอื่นที่สนใจร่วมเรียนรู้ได้ครับ

กรณีศึกษานี้จะถูกนำเสนอเพื่อขยายผลให้กับภาคีเครือข่ายตำบลนำร่องทั้ง ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ณ งานสร้างสุขภาคใต้ ๕-๗ สค.นี้

Relate topics