ความมั่นคงอาหาร : เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้

  • photo  , 1000x736 pixel , 137,128 bytes.
  • photo  , 1487x1123 pixel , 118,519 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 161,945 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 148,764 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 311,879 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 195,327 bytes.
  • photo  , 540x960 pixel , 195,758 bytes.

ความมั่นคงอาหาร : เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ (เวทีสร้างสุขภาคใต้ 5-7 สิงหาคม 62)

เขียนโดย ทวีวัตร เครือสาย

คณะทำงานศึกษาและพัฒนาข้อเสนอประเด็นระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ได้ประมวลสรุปสังเคราะห์ยุทธศาสตร์ประเด็นวัยทำงาน กขป.เขต 11 ยุทธศาสตร์ประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ กขป.เขต 12 ภาคใต้คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.ภาคใต้) โดยใช้กรอบคิดความมั่นคงอาหาร และยึดหลักการส่งเสริมสุขภาพ (ออตาวาชาเตอร์, 2529) และปัจจัยทางสังคมที่กำหนดสุขภาพ เป็นแนวทางในการพัฒนาประเด็นและข้อเสนอครั้งนี้ มีขั้นตอนการดำเนินงานทบทวนและพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสู่เวทีสร้างสุขภาคใต้ ดังนี้

1) ทบทวนบทเรียนการดำเนินงาน จัดตั้งคณะทำงานร่วมประเด็นความมั่นคงอาหาร: ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ที่มาจากอนุกรรมการประเด็นยุทธศาสตร์คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) ทั้งเขต 11 และ เขต 12 และทีมคณะทำงานที่สรรหาเพิ่มเติมจากภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคราชการ/ การเมือง รวมทั้งร่วมกันออกแบบวางแผนการดำเนินสร้างการมีส่วนร่วม พัฒนา ขยายเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายต่าง ๆ

2) ศึกษาสังเคราะห์บทเรียนรูปแบบการดำเนินงานเกษตรสุขภาพและการจัดการตลาดที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ในพื้นที่ต่างทั่วทุกจังหวัดในภาคใต้

3) จัดเวทีสานงานเสริมพลัง ระหว่างกลุ่มเครือข่ายความมั่นคงอาหาร/ เกษตรกรรมยั่งยืน กับเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชน และภาคีเครือข่ายสุขภาพอื่น โดยมีผู้แทนกลุ่มเครือข่ายเข้าร่วมจำนวน 145 คน จาก 2 เวที ในวันที่ 7-8 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรมนิภาการ์เด้นท์ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี และวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2562 ณ โรงแรมหาดใหญ่พาราไดส์แอนรีสอร์ท อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เกิดการจัดการตลาด เชื่อมความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค พร้อมมีเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานร่วมกันในระดับพื้นที่ ในทุกจังหวัด

4) จัดเวทีเรียนรู้สรุปบทเรียน เชิงประเด็นย่อยและพื้นที่ ได้แก่ เวทีสรุปบทเรียนการจัดการตลาดภาคใต้ตอนกลาง จ.สตูล เวทีการอนุรักษ์ใช้ประโยชน์พันธุกรรมท้องถิ่น เวทีสุขภาวะชาวสวนยาง เวทีเรียนรู้พัฒนาพันธุ์ข้าวไร่ชุมพร เวทีเครือข่ายเกษตรและอาหารอำเภอเกาะสมุย เวทีจัดทำแผนขับเคลื่อนเขตเกษตรสุขภาพ พชอ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร เวทีขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ: อาชีวอนามัยเขต 11 เป็นต้น

5) สรุปสังเคราะห์บทเรียน/ พัฒนาข้อเสนอ และยกร่างแผนยุทธศาสตร์ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ซึ่งประมวลสรุปจากแผนยุทธศาสตร์ประเด็นของ กขป.เขต 11, เขต 12 และแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช สรุปผลเวทีสานงานเสริมเครือข่ายสุขภาพภาคใต้ 2 เวที และการจัดประชุมย่อยเชิงประเด็นอย่างน้อย 7 เวที รวมทั้งนำเข้าสู่การประชุม กขป.เขต 11

6) ตรวจทาน ทบทวนเอกสารโดยการประชุมคณะทำงานประเด็นยุทธศาสตร์ กขป.ภาคใต้ เพื่อนำเข้าสู่เวทีสร้างสุขภาคใต้ ห้องย่อยประเด็นความมั่นคงอาหาร:ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ เพื่อรับฟัง พัฒนาข้อเสนอและแนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพต่อไป
กรอบคิดในการดำเนินงานระบบการเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ คณะทำงานศึกษาและพัฒนาข้อเสนอพัฒนาระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ได้สรุปเป็นผังภาพกรอบการดำเนินงานดังนี้

ภาพที่ ผังกรอบความคิด ระบบการเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ การพัฒนาระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ตั้งอยู่ภายใต้หลักคิดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ อธิปไตยทางอาหาร ด้วยการส่งเสริมสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรให้เกิดความสมดุลยั่งยืน มีระบบจัดการผลผลิตที่เกื้อกูลและเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ เพื่อให้มีปริมาณอาหารที่เพียงพอ มีคุณภาพอาหารปลอดภัย สร้างหลักประกันในชีวิต ด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีหลักประกันทางรายได้และสวัสดิการ สวัสดิภาพ มีความมั่นคงทางสุขภาพแก่พลเมืองฅนใต้ จัดความสัมพันธ์ใหม่ ปรับกระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดหรือสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน ระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับหน่วยงานองค์กรภาครัฐและเอกชน ระหว่างกลุ่มองค์กรเครือข่ายด้วยกัน มีความเคารพศักดิ์ครีความเป็นมนุษย์ต่อกันด้วยหลักปฏิบัติ “คิดเอื้อ คิดเผื่อ เพื่อนช่วยเพื่อน พี่ดูแลน้อง ” และแบ่งปันผลประโยชน์ที่เหมาะสม เท่าเทียม เป็นธรรม ด้วยความพึงพอใจร่วมกันของหุ้นส่วนผลประโยชน์ตน ประโยชน์สาธารณะ

จากฐานหลักคิดข้างต้นเพื่อให้เกิดหรือบรรลุเป้าหมายร่วมกัน คือ ความมั่นคงทางอาหารและชีวิตพลเมืองฅนใต้ จำเป็นต้องมีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 6 ประเด็น ได้แก่

1) การพัฒนาระบบและกลไกขับเคลื่อนระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ทำหน้าที่ในการติดตาม ผลักดันแผนยุทธศาสตร์และข้อเสนอเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติตามศักยภาพและโอกาสที่เอื้ออำนวย ด้วยยุทธวิธีสำคัญ เช่น การสร้างความรอบรู้ด้านอาหารศึกษาและบริโภคศึกษาแก่ประชาชนพลเมือง ติดตามทบทวนแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ให้เหมาะสมกับภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร และประยุกต์ใช้กระบวนการธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่ ประกาศเขตเกษตรสุขภาพ (พื้นที่คุ้มครองทางเกษตรกรรมสุขภาพ) ในระดับพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ และการสร้างความเข้มแข็งแก่สถาบันเกษตรกรให้เป็นเสาหลักของชุมชนท้องถิ่น พร้อมการเชื่อมโยงประสานเครือข่ายในระดับท้องถิ่น จังหวัดหรือภูมิภาคให้เป็นพลังสร้างการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย

2) การพัฒนาระบบเกษตรสุขภาพที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เกษตรยั่งยืน วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ (mao) ธนาคารต้นไม้ เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ และ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประมงชายฝั่ง) โดยส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานและเพิ่มมูลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานโดยหลักอาชีวอนามัย การส่งเสริมการผลิตเกษตรปลอดสารอาหารปลอดภัย การเฝ้าระวังสารเคมีเกษตรและอาหารปลอดภัย การส่งเสริมสนับสนุนและขยายผลให้ต้นไม้เป็นทรัพย์และหลักประกันในชีวิตเพื่อรองรับสังคมสูงวัย เป็นต้น

3) เสริมสร้างสุขภาวะชาวสวนยางและปาล์มน้ำมัน โดยการส่งเสริมวิจัยและพัฒนา เพิ่มมูลค่าในกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมันและยางพารา ให้แก่กลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการ การส่งเสริมและสนับสนุนสวนยางยั่งยืน ส่งเสริมการปรับวิถีการผลิตปาล์มน้ำมันแบบผสมผสานและเพิ่มประสิทธิการจัดการแปลง การส่งเสริมและขยายผลสวนเกษตรธาตุสี่หรือสวนสมรม สร้างมาตรการส่งเสริมการออมและสวัสดิการเพื่อเป็นหลักประกันในชีวิตแก่ชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน เป็นต้น

4) การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมและพืชอัตลักษณ์ถิ่น โดยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ ให้คงอยู่เป็นฐานทรัพยากรกับชุมชนท้องถิ่น การส่งเสริมธนาคารเมล็ดพันธุ์และพันธุกรรมถิ่น การวิจัยและพัฒนาสมุนไพรเพื่อสุขภาพและการแพทย์ประจำถิ่น เช่น กัญชาเพื่อการแพทย์ กระท่อมชูกำลัง ขมิ้นถิ่นใต้ ฯ การพัฒนาต่อยอดพืชอัตลักษณ์ถิ่นให้เกิดมูลค่าและคุณค่าเพิ่มขึ้น เช่น กล้วยเล็บมือนางชุมพร ข้าวสังข์หยดพัทลุง ข้าวเหลืองปะทิวส้มโอทับทิมสยาม เป็นต้น

5) การอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมที่สมดุลยั่งยืน โดยการขยายผลการสร้างฝายมีชีวิตและการจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม การอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และสภาพแวดล้อม การพัฒนากลไกเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศแบบมีส่วนร่วม การประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) เป็นต้น

6) เพิ่มประสิทธิการบริหารจัดการตลาดให้เกิดการลดช่องว่างระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค โดย เสริมสร้างการเชื่อมโยงการจัดการของกลุ่มผู้ผลิตเกษตรสุขภาพกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวหรือกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการภาคเกษตร (เกษตรกรมืออาชีพ เกษตรกรรุ่นใหม่ ครัวเรือนพอเพียง ผู้ประกอบการครัวเรือน ) สร้างและพัฒนาโอกาสบริหารจัดการตลาดชุมชนท้องถิ่น ตลาดทั่วไป ตลาดออนไลน์แก่ผู้ประกอบการ การยกระดับการตลาดด้วยเชื่อมโยงจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) การค้าการลงทุนหรือการร่วมทุน ระหว่างผู้ประกอบการกับหุ้นส่วนทางธุรกิจ เป็นต้น

แผนพัฒนาระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ตั้งอยู่ภายใต้หลักคิดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ อธิปไตยทางอาหาร สร้างหลักประกันในชีวิต จัดความสัมพันธ์ใหม่ เพื่อให้เกิดหรือบรรลุเป้าหมายร่วมกัน คือ ความมั่นคงทางอาหารและชีวิตพลเมืองฅนใต้ มีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่

1.ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบและกลไกขับเคลื่อนระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ มียุทธวิธีสำคัญได้แก่

1.1. การสร้างความรอบรู้ด้านอาหารศึกษาและบริโภคศึกษาแก่ประชาชนพลเมือง

1.2. ติดตามทบทวนแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้

1.3. การส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร และประยุกต์ใช้กระบวนการธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่ ประกาศเขตเกษตรสุขภาพ(พื้นที่คุ้มครองทางเกษตรกรรมสุขภาพ) ในระดับพื้นที่ชุมชนท้องถิ่น

1.4. การสร้างความเข้มแข็งแก่สถาบันเกษตรกรให้เป็นเสาหลักของชุมชนท้องถิ่น

1.5. การเชื่อมโยงประสานเครือข่ายในระดับจังหวัดหรือภูมิภาคให้เป็นพลังสร้างการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย

2.ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบเกษตรสุขภาพที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เกษตรยั่งยืน วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ(mao) ธนาคารต้นไม้ เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ และ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประมงชายฝั่ง) มียุทธวิธีสำคัญได้แก่

2.1. ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ

2.2. การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานและเพิ่มมูลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

2.3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานโดยหลักอาชีวอนามัย

2.4. การส่งเสริมการผลิตเกษตรปลอดสารอาหารปลอดภัย

2.5. การเฝ้าระวังสารเคมีเกษตรและอาหารปลอดภัย

2.6. การส่งเสริมสนับสนุนและขยายผลให้ต้นไม้เป็นทรัพย์และหลักประกันในชีวิตเพื่อรองรับสังคมสูงวัย

3.ยุทธศาสตร์เสริมสร้างสุขภาวะชาวสวนยางและปาล์มน้ำมัน มียุทธวิธีสำคัญได้แก่

3.1. การส่งเสริมวิจัยและพัฒนา เพิ่มมูลค่าในกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมันและยางพารา ให้แก่กลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการ

3.2. การส่งเสริมและสนับสนุนสวนยางยั่งยืน

3.3. ส่งเสริมการปรับวิถีการผลิตปาล์มน้ำมันแบบผสมผสานและเพิ่มประสิทธิการจัดการแปลง

3.4. การส่งเสริมและขยายผลสวนเกษตรธาตุสี่หรือสวนสมรม

3.5. สร้างมาตรการส่งเสริมการออมและสวัสดิการเพื่อเป็นหลักประกันในชีวิตแก่ชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน

4.ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมและพืชอัตลักษณ์ถิ่น มียุทธวิธีสำคัญได้แก่

4.1. การอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ ให้คงอยู่เป็นฐานทรัพยากรกับชุมชนท้องถิ่น

4.2. การส่งเสริมธนาคารเมล็ดพันธุ์และพันธุกรรมถิ่น

4.3. การวิจัยและพัฒนาสมุนไพรเพื่อสุขภาพและการแพทย์ประจำถิ่น เช่น กัญชาเพื่อการแพทย์ กระท่อมชูกำลัง ขมิ้นถิ่นใต้ ฯ

4.4. การพัฒนาต่อยอดพืชอัตลักษณ์ถิ่นให้เกิดมูลค่าและคุณค่าเพิ่มขึ้น เช่น กล้วยเล็บมือนางชุมพร ข้าวสังข์หยดพัทลุง ข้าวเหลืองปะทิวส้มโอทับทิมสยาม

5.ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมที่สมดุลยั่งยืน มียุทธวิธีสำคัญได้แก่

5.1. การขยายผลการสร้างฝายมีชีวิตและการจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม

5.2. การอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และสภาพแวดล้อม

5.3. การพัฒนากลไกเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศแบบมีส่วนร่วม

5.4. การประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA)

6.ยุทธศาสตร์เพิ่มประสิทธิการบริหารจัดการตลาดเพื่อลดช่องว่างระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค โดยมียุทธวิธีสำคัญได้แก่

6.1. เสริมสร้างการเชื่อมโยงการจัดการของกลุ่มผู้ผลิตเกษตรสุขภาพกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวหรือกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน

6.2. การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการภาคเกษตร (เกษตรกรมืออาชีพ เกษตรกรรุ่นใหม่ ครัวเรือนพอเพียง ผู้ประกอบการครัวเรือน )

6.3. สร้างและพัฒนาโอกาสบริหารจัดการตลาดชุมชนท้องถิ่น ตลาดทั่วไป ตลาดออนไลท์แก่ผู้ประกอบการ

6.4. การยกระดับการตลาดด้วยเชื่อมโยงจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) การค้าการลงทุนหรือการร่วมทุน ระหว่างผู้ประกอบการกับหุ้นส่วนทางธุรกิจ

Relate topics