"พัทลุง GO Green" เป้าหมายที่ชัดเจนของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมจังหวัดพัทลุง

  • photo  , 2048x1152 pixel , 191,120 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 90,107 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 96,197 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 174,510 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 143,357 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 192,724 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 163,228 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 97,485 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 100,883 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 97,076 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 177,463 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 98,196 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 166,928 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 112,665 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 91,987 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 177,348 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 177,348 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 161,622 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 150,360 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 96,762 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 160,796 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 201,325 bytes.

วันที่ 15 สิงหาคม  2562 คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมจังหวัดพัทลุง ชวนภาคส่วนเครือข่ายการท่องเที่ยวและชุมชน มาคุยร่วมกัน ในวาระสำคัญ "พัทลุง Go Green" แบบคนพัทลุง จะเป็นเป้าหมายของคนพัทลุงใช่หรือไม่ หากใช่ "พัทลุง Go Green" แบบคนพัทลุง จะเป็นอย่างไร

ในการประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วม เครือข่ายชุมชนน่าอยู่พัทลุง ตัวแทนมูลนิธิสุขภาพภาคใต้  เครือข่าย Node Flag ship สสส.  ผู้ประกอบการโฮมสเตย์กงหรา โฮมเสตย์ตะโหมด  กลุ่มชัยบุรีเมืองเก่าโฮมสเตย์  สมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง  สมาคมการท่องเที่ยวชุมชนภาคใต้  กลุ่มคลองทรายขาว  สภาผู้ชมไทยพีบีเอส  สภาองค์กรชุมชนจังหวัดพัทลุง/ตำบล  หอการค้าจังหวัดพัทลุง  YEC พัทลุง  ออต้าร์ฟาร์ม ต.เขาย่า  เครือข่ายเกษตรอินทรีย์พัทลุง  ผู้แทน สำนักงาน พอช.ภาคใต้  เครือข่ายนักธุรกิจท่องเที่ยวเกาะลันตา อันดามันโกกรีน  และทีมงานจาก สช.

โดย คุณวิชัย ผอ.พอช.ภาคใต้ ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ให้กำลังใจเครือข่ายพัทลุงที่มาร่วมคุยร่วมคิดกันเพื่อร่วมพัฒนาพัทลุง เชื่อว่า ปัญหาทุกอย่างแก้ไขได้ หากมีการพูดคุยร่วมกัน หาทางออกร่วมกัน ปัญหาที่เกิดในพื้นที่แก้ได้ง่ายกว่าปัญหาที่เกิดจากนโยบายจากส่วนกลาง หากเปลี่ยนการพัฒนาแนวใหม่ เอาพื้นที่เป็นฐาน เปิดพื้นที่เปิดโอกาสให้ให้พื้นที่กำหนดทิศทางนโยบายของพื้นที่เอง  พอช.เปิดพื้นที่ เปิดห้องประชุมให้เข้ามาใช้ประชุมได้ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

คุณพา ผอมขำ เลขา นายก อบจ. เปิดประชุม ชวนคนพัทลุงกำหนดอนาคตพัทลุง ในภาคส่วนของธุรกิจและท่องเที่ยว พัทลุงในด้านเศรษฐกิจมีความเชื่อมโยงกับกับพื้นที่ ๆ ตั้งแต่ระดับกลุ่มจังหวัด ภาค ประเทศ อาเซียนและเอเซีย ปรากฏการณ์ระบบการเงินที่เจาะถึงกลุ่มชาวบ้าน ผ่านระบบทุนนิยมและนายทุน และไม่มีการกระจายอย่างทั่วถึง มีการกระจุกตัวของการเข้าถึงทรัพยากร การพัฒนาธุรกิจของชุมชนก็ยังทำได้ยาก ฝนเศรษฐกิจตกอย่างทั่วถึง ผลกระทบได้รับกันทั่วถึง แล้วอนาคตพัทลุง จะรับมือได้อย่างไร

บทบาท อบจ.พัทลุง ร่วมมือกับเครือข่าย มาคิดร่วมกัน สร้างวาระร่วมสำคัญร่วมกัน เปิดพื้นที่คุยอีกหลายครั้งกับภาคส่วนอื่น ๆ เพื่อร่วมสร้างการพัฒนาพัทลุงอย่างยั่งยืน ในปี 2563 ทำโครงการเปิดการมีส่วนร่วมกำหนดการพัทลุงร่วมกัน (งบ 1 ล้าน หากไม่มีการตัดงบในการลงมติของสภา)

คณะทำงานได้ชี้แจงว่ามี แผนเวทีรับฟัง ในเดือนกันยา กลุ่มผู้ผลิต   ปลายเดือน กลุ่มเครือข่ายทรัพยากร   ต้นเดือนตุลา ภาคอุตสาหกรรม  และปลายเดือนตุลาคม เวทีรวมทุกภาคส่วน

คุณธีระพจน์ เครือข่ายนักธุรกิจท่องเที่ยวเกาะลันตา เล่าประสบการณ์ในการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะด้านการท่องเที่ยวมากกว่า 7 ปี การใช้งบประมาณที่มีประสิทธิภาพ ในกระบี่มีข้อตกลงการท่องเที่ยวร่วมกันเป็นจังหวัดแรก ๆ เรื่องการจัดระเบียบ เก้าอี้ผ้าใบ เจ็ทสกีก่อนมีการบังคับใช้ในระเบียบการจัดพื้นที่ชายทะเล มีการกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาเป็นเรื่องเดียวร่วมกันก่อน มาจาการคุยร่วมกันของคนในพื้นที่ ต่อรองกับอำนาจหน่วยงานได้

พัทลุงเมืองท่องเที่ยวที่คลาสสิค การร่วมคิดเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมร่วมกันได้ ทั้งในการจัดการมลพิษ การจัดการพลังงาน โมเดลภาคใต้ โมเดลเปลี่ยนผ่านการพัฒนาภาคใต้ สร้างเมืองน่าอยู่ร่วมได้

คุณประสิทธิชัย ตั้งคำถาม เราจะไปทางไหนจะสร้างเศรษฐกิจแบบไหนร่วมกัน ชวนหาคำตอบที่พังงา มีนักท่องเที่ยวพักที่พังงานานที่สุด แต่มีความเหลื่อมล้ำมากที่สุดระหว่างภาคเกษตรกับท่องเที่ยวชวนกันทำผังพัฒนาพังงาใหม่ ท่องเที่ยวเกษตร พลังงานสีเขียว มุ่งสู่ การเป็นสีเขียวที่แท้จริง  ไม่นานมานี้ ตัวแทนสายหอการค้าไปดูงานที่ญี่ปุ่น และอยากให้ภาคใต้โกกรีน การเชื่อมระหว่างภาคการเกษตรกับการท่องเที่ยว ภาคชุมชนและภาคอุตสาหกรรม

เปิดระดมความคิดเห็นจากที่ประชุม

  • พัทลุงนำการพัฒนาไปก่อน ตั้งแต่เริ่มใช้บรรจุภัณฑ์ธรรมชาติในตลาดชุมชน และพัทลุงเป็นเมืองเกษตร ผังเมืองแยกรายอำเภอ หากมีการกำหนดอนาคตจังหวัดก่อนจะมีนักลงทุนจากข้างนอกเข้ามา

  • การดึงอัตลักษณ์ชุมชน สู่การส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชน (อากาศบริสุทธิ์ /อัธยาศัยของเจ้าบ้าน/อาหารพื้นบ้านอร่อยหาทานยากหาจากที่อื่นไม่ได้/องค์ความรู้ภูมิปัญญา/อารยธรรมยาวนาน(ศิลปวัฒนธรรม)/สร้างกิจกรรม advanger ได้/มีความ amazing (ความมหัศจรรย์)

  • ภาวะผู้นำ ต้องสร้างระบบผู้นำรวมหมู่

  • การรักษาดูแลทรัพยากร วัฒนธรรม อย่างจริงจัง

  • งานวิจัย คนรวยในต่างประเทศ ยินดีจ่ายและพักนานในเมืองที่มีคนไปไม่มาก คนน้อย

  • ทุกคนเป็นเจ้าของทรัพยากร การกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ผู้นำสำคัญ และกำหนดกติกาที่ใช้ร่วมกัน คนที่มาเที่ยว ถูกคัดกรองมาแล้ว ไม่ต้องกังวล สัมผัสกับความจริงใจของเจ้าของพื้นที่

  • มองภาพรวมต้นทุนที่มีอยู่ การพัฒนาเชิงพื้นที่ การเชื่อมโยงข้ามเครือข่าย เช่น ภาคการเกษตรกับภาคท่องเที่ยว

  • ผังเมืองรวม ผังอำเภอ ผังชุมชน ยากในขั้นตอน มีการแก้ปัญหาด้วยการทำ “ผังพัฒนา” ก่อน ชวนคนที่เกี่ยวข้องมาทำ “ผังพัฒนาพัทลุง” ก่อน

  • กฎหมายโรงงาน ข้อกำหนดโรงงาน ไม่เกิน 50 แรงม้า ไม่ต้องขออนุญาตแล้ว เปิดให้เฉพาะที่เป็นโรงงานแปรรูปเกษตรและอาหาร

  • กติการ่วมเฉพาะพื้นที่ ดูแลการใช้พื้นที่ /แผนพัฒนาการใช้เฉพาะพื้นที่ พัฒนารายโซน

  • ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้มีเวลารับมือปัญหาได้ทัน  และปัญหาที่ตามมาพร้อมกับการท่องเที่ยว คือ ปัญหาขยะ จะควบคุมปริมาณขยะร่วมกันได้อย่างไร กระตุ้นเตือนการจัดการเศษอาหารในครัวเรือน การจัดการขยะต้นทาง (ร่วมคิดกันต่อ มี อบจ.เจ้าภาพ)

  • การสร้างความเข้าใจร่วมกัน เรียนรู้ไปด้วยกัน ไม่อิจฉากัน วางแผนร่วมกัน มีเจ้าภาพช่วยเชื่อมโยงภาคีเครือข่าย

  • แผนพัทลุงของวันพรุ่ง จำเป็นไม่ว่าใครจะเปลี่ยน ใครจะไปใครจะมาก็ไม่เกี่ยว ต้องเป็นแผนที่ใช้ร่วมกัน แต่ในบางพื้นที่ไม่เคารพกติกา ไม่ร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม ด้วยคนไม่มีความรู้

  • สร้างการจัดการท่องเที่ยวโดย “ชุมชน” ที่แท้จริงให้ได้ กระจายรายได้อย่างแท้จริง สร้างพันธมิตรการท่องเที่ยวในชุมชน

  • กลุ่มคนในชุมชน อีกหลายกลุ่ม ที่ต้องทำงานด้วย เช่น  ผู้สูงอายุ /ข้าราชการเกษียณ/ เด็ก กศน. /คนนอกระบบ /คนไม่มีที่ทางชัดเจน

  • วาระที่คนพัทลุงคิดและอยากให้เป็น

  • การจัดการน้ำ คลองหลายสายตาย เป็นปัญหาที่กระทบ ต้องทำแผนที่สายน้ำร่วมกัน ร่วมออกแบบการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ (น้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเสีย น้ำใช้)

  • เมืองปิดที่สามารถกำหนดตัวเองได้ ควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวได้ เมืองที่เข้าถึงยากแต่คนอยากค้นหาและอยากมาหา

  • ชุมชน ทำ “แผนธุรกิจของชุมชน” สร้างความสัมพันธ์ที่ดี หาจุดเด่นของแต่ละคน สร้างการมีรายได้มากขึ้นร่วมกัน การพัฒนาอย่างเต็มที่และยั่งยืน เริ่มจากพัฒนาบ้านของตัวเองก่อน ฐานความคิดที่สามารถเติบโตจากฐานที่มั่นคง ไม่ทำเพราะทำตาม ๆ กัน การสร้างพื้นที่แห่งโอกาสร่วมกัน “มีเกิน-มีขาด-มาเติมกัน” ทำแผนกิจกรรมรายปี เรียนรู้จากเครือข่ายผู้ประกอบการที่สำเร็จ นำความรู้มาปรับใช้

  • เจ้าภาพกลางชวนมาคุยกันอย่างมีความสุข ร่วมดูแลพัทลุง บ้านของทุกคน

  • รูปธรรมการเปลี่ยนแปลง เช่น เรื่องเกษตรอินทรีย์เริ่มจาก “เกษตรปลอดภัย” จากระดับพื้นที่ตำบล อำเภอ  จังหวัด เชื่อมจากภาคเกษตรไปภาคการท่องเที่ยว และภาคส่วนอื่นๆ

  • การเคลื่อนเกษตรอินทรีย์จังหวัดโดยสภาเกษตร มีสมัคร 16 กลุ่ม และค่อนข้างผ่านยาก พื้นที่ต้นน้ำยังมีการใช้สารเคมี ถ้ามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ยาก ใช้มาตรฐานเกษตรปลอดภัย หรือ GAP แทนก่อนได้

  • การท่องเที่ยวที่มีอาหารปลอดภัย เป็นนโยบายระดับจังหวัด /การเป็นเจ้าบ้านที่ดี อบรมเยอะแต่อบรมคนเดิม ๆ / โฮมสเตย์เป็นตัวเชื่อมกับคนในชุมชน และสร้างรายได้ให้คนอาชีพอื่น ๆ อยู่แล้ว / นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ชอบโฮมสเตย์แยกจากบ้านเจ้าของบ้าน

  • ขยะที่จัดการไม่ได้ ขายไม่ได้

  • ขยะพลาสติก ขวดยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ทิ้งในที่สาธารณะ ที่นา

  • มีมาตรการขอร้อง ไม่มีมาตรการควบคุม เช่น ในพื้นที่ราชการยังมีการฉีดหญ้าอยู่

  • การเพิ่มองค์ความรู้ให้เครือข่ายผู้ประกอบการของชุมชน

  • ระบบขนส่งสาธารณะภายในจังหวัดบริการการท่องเที่ยว

  • ความปลอดภัยในชีวิต

  • ข้อมูลการท่องเที่ยวตลอดปี

  • มิติการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ หากลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้เจอ เช่น การพักผ่อนเพื่อสุขภาพ

  • ร่วมคิด แยกทำก็ได้ ไม่ต้องขึ้นตรงต่อกัน

  • ทำอะไรก็ได้ ทำให้เป็น

  • ยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุงผ่านมา 10 ปี แต่ยังไปไม่ถึง “เกษตรอินทรีย์ ท่องเที่ยวชุมชน พัฒนาคน” ชวนทำผังชีวิตคนพัทลุง เพื่อคิดร่วม ทำร่วม และมีความสุขร่วมกัน

  • ปัญหาการจราจรในพื้นที่ท่องเที่ยว เฉพาะพื้นที่

  • การท่องเที่ยวแบบ ซึมบ่อทราย ไม่ต้องเข้ามาเยอะเป็นครั้ง  ให้เข้ามาตลอดเรื่อย ๆ

  • ทบทวนข้อมูลสถานการณ์การท่องเที่ยวภาพรวมในจังหวัดพัทลุง ปัจจัยหนุนเสริม วิเคราะห์ปรากฏการณ์ ข้อมูลยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวระดับชาติ  คู่มือการจัดการท่องเที่ยวชุมชนที่ยั่งยืน การจัดการท่องเที่ยวอย่างมีกติการ่วมกัน

  • การผลักดันนโยบายการท่องเที่ยวร่วมกันในระดับภาค การร่วมพูดคุยกับหน่วยงานภาคราชการที่เกี่ยวข้อง วงคุยเรื่อง การจัดการการท่องเที่ยว เพิ่มเติม

  • สร้างรูปธรรมตัวอย่างการเปลี่ยนแปลง ร่วมกัน

  • การจัดการเมือง/ชุมชน จัดการแบบแยกส่วนไมได้

  • ปัจจัยสำคัญ “ทีมผู้นำ มีเป้าหมายชัด และทำอย่างต่อเนื่อง”

  • เป้าสูงสุด “เมืองพัทลุง เมืองอันดับ 1 ที่คนทั่วโลกอยากมา”

ในการประชุมครั้งนี้ เป้าหมายชัดเจนมาก ทุกคนพร้อมที่จะร่วมกันขับเคลื่อน "พัทลุง GO Green"  กระบวนการขับเคลื่อนหลังจากนี้เป็นภารกิจร่วมของคนพัทลุง ว่าจะร่วมด้วยช่วยกันไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ร่วมกัน

กมลทิพย์ อินทะโณ รายงาน

Relate topics