เดินหน้าต่อเนื่องเกษตรสุขภาพเพื่อเศรษฐกิจฐานรากสงขลา

  • photo  , 960x960 pixel , 81,405 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 82,911 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 96,338 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 91,889 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 107,735 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 83,976 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 88,764 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 101,586 bytes.

เดินหน้าต่อเนื่องเกษตรสุขภาพเพื่อเศรษฐกิจฐานรากสงขลา

นัดเครือข่ายพัฒนามาตรฐาน PGS สงขลา ในนามเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลาหารือ มีข้อสรุปสำคัญๆ ตามนี้ครับ

๑)ทบทวนร่างมาตรฐาน PGS เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา หมวดที่ ๑ หมวดจริยธรรม คุณธรรม หมวดที่ ๒ หมวดว่าด้วยปัจจัยการผลิต หมวดที่ ๓ ระบบปกป้องแปลง หมวดที่ ๔ ระบบตรวจ ประเมิน ลงโทษ

โดยให้มีกรรมการลงตรวจแปลง ๙ คนประกอบด้วย ตัวแทนรพ. ๑ คน ตัวแทนสสจ. ๑ คน ตัวแทนเกษตรจังหวัด ๑ คน ตัวแทนเกษตรและสหกรณ์ ๑ คน ตัวแทนศวพ. ๑ คน ตัวแทนเครือข่ายผู้ผลิต ๓ คน ตัวแทนบริโภค ๑ คน

กรณีสัดส่วนเครือข่ายผู้ผลิต ต้องไม่เป็นเจ้าของแปลงหรืออยู่ในชุมชน หรือเป็นสมาชิกของกลุ่มในชุมชนนั้น และหากไปร่วมตรวจแปลงไม่ได้ในสัดส่วน ๓ คน ให้สามารถส่งตัวแทนได้ แต่ต้องครบจำนวน ๓ คนทุกครั้ง การตรวจไม่ได้เป็นเครื่องตัดสินว่าแปลงนั้นจะผ่านการรับรองหรือไม่ เพียงแต่ลงแปลงเพื่อนำข้อมูลมาเสนอกรรมการชุดใหญ่ ตัวแทนที่ลงตรวจแปลงต้องครอบคลุมองค์ประกอบของผู้ผลิต ผู้บริโภคและหน่วยงาน ซึ่งอาจไม่ครบทั้ง ๙ คนก็ได้

และมีคณะกรรมการรับรองมาตรฐานแบบมีส่วนร่วม เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา (Songkhla Green smail) SGS-PGS ซึ่งต้องมาจากผู้แทนของทุกกลุ่ม กลุ่มละ ๑ คน
โดยมีเลขาธิการ คือ คุณวัลลภ ธรรมรักษา ผู้ช่วยเลขา นางอมร อารมฤทธิ์ เหรัญญิก นางพิราวรรณ อุดมจีรวัฒน์ มีวาระการทำงาน ๑ ปี

คณะกรรมการประกอบด้วย ตัวแทน กยท. เกษตรและสหกรณ์ เกษตรจังหวัด สสจ. ศวพ. รพ.

๒)แบบฟอร์มการตรวจแปลง F2 ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป รหัสผู้ผลิต พื้นที่การผลิตทุกแปลง การปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่กำหนด

๓)แบรนด์ที่ใช้ จะมีแบรนด์ร่วมและจำแนกเป็น ๒ มาตรฐานประกอบด้วย - ใช้แบรนด์มาตรฐานร่วมในชื่อ เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา Songkhla Green Smile หรือ SGS-PGS
- ใช้แบรนด์เครือข่ายร่วมทั้งในส่วนมาตรฐาน GAP ออกแบบโลโก้ต่างหากด้วย (โดยคณะทำงานกลางจะออกแบบ) SGS-GAP

๔)การลงตรวจแปลง มีสวนสำคัญดังนี้ -งบประมาณ ในช่วงแรกจะมีงบจาก อบจ. ผ่านมูลนิธิชุมชนสงขลาสนับสนุนค่าเดินทางในการลงเยี่ยมแปลงของทีมกลาง และตอ่ไปจะมีงบประมาณอื่นๆ หักเข้ากองกลางบางส่วน
ค่าใช้จ่ายในการลงตรวจแปลง - ในส่วนเกษตกรที่จะให้ตรวจแปลง จะมีค่าใช้จาย ๑๐๐ บาทต่อแปลง และเกษตรกรรับผิดชอบเรื่องอาหาร กรณีตรวจแปลงของใครเจ้าของแปลงก็ต้องดูแล หากมีหลายแปลงจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน(พิเศษเฉพาะการลงตรวจในช่วงเดือนกันยายน มูลนิธิฯจะดูแลค่าอาหารให้ทุกแปลง)

๕)การจัดการกลางกับทองหล่อพาณิชย์
- ทางทองหล่อจะมีค่าการจัดการต่างหาก ผลผลิตเกษตรกรสามารถส่งเองหรือให้ทองหล่อมารับ คิดค่าใช้จ่ายตามระยะทางที่เป็นจริง ในส่วนผลผลิตให้นำข้อมูลกลางของ รพ.และข้อมูลการผลิตของ GAPและPGS มาดูร่วมกัน โดยราคาผลผลิตของ PGS สูงกว่า GAP ไม่เกิน๓๐%
- ตรวจสอบผลผลิตของเกษตรกรในการส่งแต่ละรอบให้ชัดเจน โดยปักหมุดไปที่ผังฟาร์ม สอบย้อนผลผลิตใช้วิธีสแกนคิวอาร์โค้ด - ควรจะมีศูนย์คัดแยกในอำเภอหาดใหญ่ ที่ได้มาตรฐาน GMP ระยะแรกโดยอาจต่อรองกับรพ.หาดใหญ่ให้เกษตรกรรวบรวมผลผลิตไปส่งด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีศูนย์คัดแยกและรวบรวมผลผลิตกลาง บวกกับรวบรวมส่งของนายทองหล่อ บุญมา

๖)นัดครั้งต่อไป ๒๖ สิงหาคม เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ มูลนิธิชุมชนสงขลา ให้เกษตรกรจัดทำแผนที่ในการลงตรวจแปลงตามแบบใบสมัคร F1 และ F2 (ผังฟาร์ม) นำมาวางแผนลงตรวจแปลงให้แล้วเสร็จภายในกันยายน และประชุมร่วมกับทีมตรวจแปลงทุกคน

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics