กิน อยู่ คือหมุย รูปธรรมความร่วมมือของจุดเริ่มต้นเพื่อปกป้องพื้นที่ผลิตอาหารเกาะสมุยภาคใต้

  • photo  , 960x640 pixel , 199,188 bytes.
  • photo  , 1080x720 pixel , 116,410 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 146,113 bytes.
  • photo  , 1548x871 pixel , 137,039 bytes.
  • photo  , 1548x871 pixel , 148,204 bytes.
  • photo  , 679x960 pixel , 234,955 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 199,110 bytes.
  • photo  , 1000x500 pixel , 123,994 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 159,586 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 237,825 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 172,442 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 347,826 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 234,865 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 250,973 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 163,532 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 193,084 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 206,930 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 195,096 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 196,405 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 185,727 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 104,885 bytes.
  • photo  , 1196x720 pixel , 104,963 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 205,324 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 184,306 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 182,591 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 192,728 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 184,650 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 173,312 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 215,987 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 147,665 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 164,407 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 287,346 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 206,674 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 289,609 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 289,906 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 243,156 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 328,979 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 289,506 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 319,874 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 181,041 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 152,696 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 140,601 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 200,209 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 188,085 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 119,144 bytes.
  • photo  , 828x620 pixel , 193,464 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 153,641 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 143,939 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 184,655 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 235,964 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 226,085 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 209,019 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 180,102 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 150,819 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 150,292 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 213,597 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 193,428 bytes.
  • photo  , 427x640 pixel , 86,760 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 205,241 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 129,013 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 155,455 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 187,668 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 164,400 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 172,034 bytes.

กว่าจะเป็น "กิน อยู่ คือหมุย"

เขียนโดย กรรณิการ์ แพแก้ว  โครงการปกป้องพื้นที่ผลิตอาหารภาคใต้ มูลนิธิภาคใต้สีเขียว


(1) ตอน : ปิ๊งแว้บ ก่อการเพื่อก่อเกิด

จุดเริ่มต้นมาจาก อ.แก้ม Sunsanee Wongsawat ที่พูดว่าน่าจะจัดงานเกี่ยวกับสำรับอาหารสมุย หลังจากเจอเรื่องว้าวๆ ในระหว่างการเก็บข้อมูลงานวิจัยมะพร้าวสมุย เมื่อเดือนพฤษภาคมร่วมกัน กรรณิการ์ ตาลุกวาวเพราะสนใจเรื่องอาหารสมุยมาตั้งแต่งานเดินตามครู ปี 2561 จึงเสนอไปว่าแผนงานของตัวเองมีเรื่องความมั่นคงทางอาหาร น่าจะลองมาผนวกกันได้ ขอซื้อไอเดียนี้นะ และนำไปหารือกับ มูลนิธิภาคใต้สีเขียว ส่วนน้องตั๊ก Phailin Tak ก็สนใจเช่นเดียวกันที่จะขับเคลื่อนประเด็นนี้กับเยาวชนในเกาะสมุย

เดือนมิถุนายน ประจวบเหมาะกับที่พี่เผือก Taweewat Kruasai ชวนมาเป็นทีมทำงานประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ของงานภาคใต้สร้างสุข และได้เป็นคนประสานตัวแทนพี่น้องสุราษฎร์ให้มาร่วมถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนในงาน แนวคิด หลักการหลายอย่างจึงได้มาจากเวทีนี้ เพื่อนำไปออกแบบหากจะขยับเรื่องความมั่นคงทางอาหารในเกาะสมุย จะขยับภายใต้แนวคิดใด จึงจะสอดคล้องกับปัญหาและบริบทเกาะสมุย ในขณะเดียวกันแผนงานความมั่นคงทางอาหาร ที่นำเสนอต่อที่ทำงานก็ได้รับการอนุมัติ เพื่อขยับในเรื่องการเก็บข้อมูลพื้นที่รูปธรรม สถานการณ์พื้นที่ และการจัดเวทีใหญ่เพื่อให้นำไปสู่แนวทางการขับเคลื่อนงานในเกาะสมุย

เดือนกรกฎาคม จึงมานำเสนอไอเดียการจัดเวทีโดยเชิญพี่ๆกลุ่มดูสมุย เครือข่ายพลเมืองสมุยมาร่วมปรึกษาหารือ ว่าจะขับเคลื่อนเรื่องนี้ร่วมกันไหม?
เมื่อทุกคนเห็นว่าปัญหาเรื่องความปลอดภัยด้านฐานการผลิตอาหาร และวิถีวัฒนธรรมในสมุยเข้าขั้นวิกฤติ ควรจะลงมือทำอะไรกันสักอย่าง จึงเป็นที่มาของการออกแบบงานร่วมกัน ในชื่อ "กิน อยู่ คือหมุย" และนิทรรศการมีชีวิตที่เต็มไปด้วยเรื่องราวของอาหารถิ่น "วิถีชน คนสมุย" จึงเริ่มก่อตัวขึ้น ภายใต้การประชุมจากคณะก่อการ 6 คน ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญของงานนี้


(2) ตอน บูรณาการด้วยใจรักษ์

หลังจากประชุมกับพี่ๆกลุ่ม ดูสมุย และตัวแทนเครือข่ายพลเมืองสมุยเพื่อออกแบบการจัดงานร่วมกันเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ตั้งแต่นั้นก็มีการบอกต่อ ขยายความ เพื่อค้นหาแนวร่วมในพื้นที่ เนื่องจากงานที่วางแผนร่วมกันเริ่มต้นจากการมองเห็นปัญหา และอยากสร้างพื้นที่กลางให้ทุกภาคส่วนในสมุยได้เข้ามามีส่วนร่วม โดยที่ไม่มีงบประมาณตั้งต้น

เมื่อนำเป้าหมายมาเป็นตัวตั้ง เพื่อหวังค้นหาแกนนำร่วมมาแก้ปัญหาภายในพื้นที่ และร่วมขับเคลื่อนเกาะสมุยให้มีความมั่นคงทางอาหาร บนฐานเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ลดละเลิกสารเคมี แนวคิดนี้ได้รับความสนใจจากกลุ่มต่างๆในพื้นที่ ทำให้มีแกนนำมาร่วมเป็นเจ้าภาพเพิ่มขึ้น คือ ลานวัฒนธรรมสมุย (The Nature Art Of Samui), บ้านโบราณ ณสมุย, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกษตรลิปะน้อย, โครงการกำจัดขยะเปียกเกาะสมุย


(3) ตอน : สถานที่บ่งบอกวิถีหมุย

บ้านทรงจีนซ้อนรูป มองจากด้านนอกเสมือนบ้านชั้นเดียว แต่ภายในกลับมีถึง 3 ชั้น สร้างด้วยไม้หลุมพอจากเกาะแตน โดยช่างฝีมือชาวจีน เสาทำจากหินปะการังแบบฉบับบ้านของคนสมุย มีอายุ 183 ปี สืบทอดเข้าสู่รุ่นที่ 5

บ้านโบราณ ณสมุย ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 บ้านทะเล ต.หน้าเมือง คือสถานที่จัดงานที่เชื่อมโยงถึงความเป็นอยู่ของคนหมุยในอดีต บ้านหลังนี้ปัจจุบันเปิดให้เยี่ยมชม และทัศนศึกษาพร้อมจัดฐานเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิถีสมุย


(4)ตอน หิ้วชั้นทำบุญบ้าน

ภายในงานกิน อยู่ คือหมุย ช่วงเช้าเป็นพิธีทำบุญบ้าน พี่กุ้งเจ้าของบ้านโบราณ ได้เชิญญาติพี่น้อง และคนในชุมชนบ้านทะเลมาร่วมพิธี ทางสมุยพิธีเช้าจะค่อนข้างเช้ามาก พิธีสงฆ์จะเริ่มตั้งแต่เวลา 07.00-08.00 น.โดยประมาณ

เราจึงได้เห็นแขกเหรื่อสวมชุดไทย ชุดลูกไม้หลากสีสันสวยงามพร้อมหิ้วชั้น หรือหิ้วปิ่นโตมากันคนละสายเพื่อถวายพระ เสร็จสิ้นพิธีสงฆ์เจ้าของชั้น (ปิ่นโต) ต่างเดินแบ่ง เดินแจกจ่ายชักชวนทุกคนให้มาทานกับข้าว ขนม ผลไม้ที่ตนเตรียมมา พยายามคะยั้นคะยอให้ช่วยกันทานอาหารในชั้นของตน และแลกเปลี่ยนอาหารในชั้นอย่างเป็นกันเอง

เรื่องอาหารการกินของชาวหมุย นับว่าเป็นเรื่องใหญ่ อาหารทุกอย่างมีความหมาย ที่สำคัญต้องทำเอง หากไม่ทำเองก็จะซื้อจากร้านของคนหมุยด้วยกัน ที่มั่นใจในรสมือ รู้ที่มาของวัตถุดิบ

ผู้มาร่วมทำบุญบ้านแต่ไม่ได้หิ้วชั้นมาร่วม จึงมีโอกาสได้ทานอาหารพื้นถิ่นสูตรดั้งเดิมที่หลากหลาย ตั้งแต่เครื่องข้าวยำมะพร้าวคั่วแบบโบราณ ต้มวาย เหนียวแก้ว ขนมหน้าขึ้นใส่ขี้มัน โดยอาหารหลายอย่างที่นำมารับประทานมื้อเช้าร่วมกัน หลายเมนูไม่สามารถหาทานได้ตามร้านทั่วไป นอกจากโอกาสงานบุญเช่นนี้เท่านั้น


(5)ตอน Less waste lifestyle

โจทย์สำคัญของการจัดงานครั้งนี้คือ "สร้างขยะรบกวนโลกให้น้อยที่สุด" ทุกอย่างต้องใช้ซ้ำได้ จึงเป็นที่มาของการควานหาภาชนะรักษ์โลก จากวัสดุธรรมชาติ โดยมีพี่ตา Baan Patcharintorn Samui เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการตามล่าหาภาชนะมาเป็นของที่ระลึกภายในงาน

ผลตอบรับจากผู้ร่วมงานเกินคาด เพราะไม่เคยมีงานที่แจกภาชนะแบบนี้มาก่อนในสมุย หลายคนถามวิธีการทำความสะอาด การดูแลรักษาเพื่อใช้ซ้ำ ซึ่งแนวคิดจัดงานอย่างไรให้ขยะน้อยที่สุด มาจากปัญหากองขยะบนเกาะสมุยที่คาราคาซัง แก้เท่าไหร่ก็แก้ไม่จบ แม้จะมีการลุกขึ้นมาแก้ไขเรื่องขยะเปียกอย่างเป็นรูปธรรม แต่ขยะพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่ เพราะสมุยไม่มีแหล่งจัดการ หากจะจัดงานใดๆเราต้องไม่อาศัยความสะดวกมาสร้างภาระซ้ำเติมเกาะสมุย มีเพียงน้ำดื่มแจกผู้ร่วมงานที่ได้รับบริจาคเป็นขวดพลาสติก เหตุนี้เลี้ยงไม่ได้จริงๆ เนื่องจากเวลาเตรียมงานที่กระชั้นชิด และไม่สามารถเตรียมเรื่องจุดเติมน้ำได้ ในโอกาสงานต่อๆไปจะวางแผนให้ดีกว่านี้

ความประทับใจในฐานะทีมผู้จัดงาน คือ ภาชนะรักษ์โลกกลายเป็นพร๊อพสำหรับถ่ายภาพที่ทุกคนต้องมี รวมถึงเราไม่เจอการทิ้งจานกาบหมาก กระบอกไม้ไผ่ หลอดราโพสักชิ้น ในถังขยะมีเพียงจานกระดาษที่เป็นภาชนะสำรองเพราะคนมาเกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้ มีผู้เข้าร่วมงานเกือบ 300 คน แต่เราวางแผนรับรองคนไว้เพียง 150 คนเท่านั้น

หลังจากจบงานมีคนติดต่อมาสอบถามสนใจของที่ระลึกที่แจกภายในงาน ขอแจ้งไว้ในโพสต์นี้ หากท่านใดสนใจอยากติดต่อซื้อมาใช้ในงานต่างๆ

-หลอดราโพ ยี่ห้อคนพรุ จากนครศรีธรรมราช ติดต่อ ครูเหลี้ยม Watchara Katechoo

-จานกาบหมาก จากวิสาหกิจชุมชนบ้านสระขาว ชุมพร

-ถุงผ้าราคาย่อมเยาว์ สั่งแบบได้ตามราคา เพราะเป็นโรงงานตัดเย็บที่ ต.บางใบไม้

-กระบอกไม้ไผ่ สอบถามผ่านพี่ตาบ้านพัชรินทร สมุย

การประชุมเตรียมงาน และวางแผนร่วมกันแต่ละครั้ง มีแนวร่วมเข้ามาขันอาสาช่วยงานเพิ่มขึ้น แต่ละคนแต่ละทีมรับประสานกลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มเติมฐานกิจกรรม ทำให้งาน "กิน อยู่ คือหมุย" เป็นพื้นที่กลางให้ทุกคนได้มาแสดงศักยภาพ ที่เชื่อมโยงกับระบบการผลิตอาหารปลอดภัย และการจัดการสิ่งแวดล้อมเกาะสมุย

พี่แดง MrdangonThebeach Boonsa และพี่ตา Baan Patcharintorn Samui กลุ่มดูสมุยเป็นแกนหลักในการประสานขอสปอนเซอร์จากผู้ประกอบการในพื้นที่มาร่วมลงขันลงแรง จนได้เจ้าภาพร่วมในการสนับสนุนงบประมาณ ประกอบด้วย

-ททท.สมุย

-สมุยแซน

-DHL

-ชมรมอุเทนถวายเกาะสมุย

-บางกอก แอร์เวย์

-โอม ออร์โต้เซอร์วิส

-เซ็นทรัลสมุย

-สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย

-มูลนิธิภาคใต้สีเขียว

-เครือข่ายพลเมืองสมุย

-วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

จนก่อนถึงวันงาน มีชุมชนและกลุ่มองค์กรขอสนับสนุนขนม อาหาร เครื่องดื่มมาร่วมจัดเลี้ยงเพิ่มเติม ได้แก่

-ขนมค่อม : พี่จิ๋ม Trash Hero

-ห่อต้ม : ชุมชนบ้านทะเล

-สลัดผัก : โรงแรมแฟร์ เฮ้าส์

-ข้าวยำ : โรงแรมดุสิตเทวา

-น้ำดื่ม : เฉวง การ์เด้นท์, ธนาคารกรุงไทย

-เสื้อทีม : กลุ่มวายุบุตร

เมื่อเอ่ยว่ามีงานกิน อยู่ คือหมุย มีคนขันอาสามาร่วมเป็นทีมงานแบบ "ทำอะไรก็ได้ ขอแค่ให้ได้มาช่วย" ซึ่งสุดท้ายกลายมาเป็นส่วนสำคัญในการลงไม้ลงมือลงแรงในงานนี้ คือ

-พี่เบ็ตตี้ I care share to change

-น้องเอ มิวเซียมสยาม

-น้องๆทีม CMC ของครูมิ้ว Milk Pimpicha Boonanunt

นับได้ว่างานนี้เป็นการรวมใจ รวมคนที่อยากจะมีส่วนร่วมในการสร้างเรื่องราวดีๆให้แก่สมุย เป็นการเปิดพื้นที่กลางให้ทุกกลุ่มทั้งภายในพื้นที่ และนอกพื้นที่ได้มาบูรณาการการทำงานร่วมกันภายในงาน "กิน อยู่ คือหมุย" เพราะเกาะสมุยเป็นของทุกคน ทุกคนมีสิทธิรักษ์ หวงแหน และร่วมรักษา


(6)ตอน ฐานเรียนรู้ สู่คนรุ่นใหม่

เยาวชน เป็นกลุ่มเป้าหมายหนึ่งที่กำหนดไว้ให้เป็นผู้เข้าร่วมในครั้งนี้ มีน้องๆจาก 6 โรงเรียน 1 วิทยาลัยที่มาเข้าร่วม ฐานการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เยาวชนได้รับความรู้พร้อมประสบการณ์เกี่ยวกับอาหารถิ่นวิถีหมุย

บ้านโบราณ ณสมุย เปิดบรรยายประวัติของบ้านให้เด็กๆสามารถเข้าเยี่ยมชมภายในบ้าน ซึ่งรูปแบบของบ้านทรงจีนสามชั้นซ้อนรูป หาชมได้ยากในเกาะสมุย นอกจากนี้ยังจัดเวิร์คชอปให้แก่นักเรียน ร.ร.เซนต์โยเซฟที่มาทัศนศึกษาในช่วงเช้า เด็กๆได้ลงมือปั้นขนมด้วง และขูดมะพร้าว เพื่อทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น สำหรับเยาวชนรุ่นนี้นับเป็นเรื่องยากมากที่จะได้ลงมือทำสิ่งเหล่านี้ เพราะมีทุกอย่างสำเร็จรูปไว้พร้อมในท้องตลาด จึงนับเป็นประสบการณ์ดีๆ เชื่อมโยงสู่วิถีสมุยซึ่งเกี่ยวพันกับมะพร้าว

วิทยาลัยนานาชาติ ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ออกบูธให้นักศึกษาทำซอฟท์คุ้กกี้จากมะพร้าว เพื่อแนะแนวทางการแปรรูป และเพิ่มมูลค่าในรูปแบบเบเกอรี่จากมะพร้าว รวมถึงนำเสนอข้อมูลวิจัยสถานการณ์มะพร้าวสมุย เพื่อคืนข้อมูลแก่ชุมชน

นอกจากฐานการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าว ภายในงานยังมีฐานเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่สำหรับชาวหมุย เพราะเผชิญกับน้ำจากภูเขาที่ปนเปื้อนสารเคมีไหลลงลำคลอง น้ำชะล้างจากกองภูเขาขยะ ส่งผลให้น้ำในคลองและสายน้ำต่างๆปนเปื้อน มีกลิ่นเหม็น ฐานน้ำหมักชีวภาพจึงช่วยสร้างการเรียนรู้ด้านการจัดการแหล่งน้ำเพื่อให้เห็นถึงแนวทางการแก้ปัญหาโดยการใช้จุลินทรีย์ ทำเองได้ง่าย และต้นทุนต่ำ
อีกฐานหนึ่ง คือ ฐานการจัดการขยะเปียก สิ่งที่ควรปลูกฝังให้เยาวชนและทุกครัวเรือนช่วยกันแยกขยะ และจัดการขยะเปียกในครัวเรือน เพื่อสามารถนำมาเป็นปุ๋ยเพาะปลูกพืชผักรอบบ้าน และช่วยลดขยะให้เกาะสมุยได้

ทุกๆการเรียนรู้ล้วนเชื่อมโยงกับวิถีดั้งเดิม วิถีปัจจุบันที่รายล้อมด้วยปัญหา และทางออก ทางเลือกที่จะลดปัญหาในอนาคตให้แก่สังคมสมุย ทุกๆฐานการเรียนรู้เป็นสิ่งที่กลุ่มคนเหล่านั้นปฏิบัติกันเป็นกิจวัตร และนำมาเผยแพร่ บอกกล่าว นำเสนอสู่คนรุ่นใหม่ คนที่จะต้องเติบโตภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรายวัน ตามการพัฒนาของเกาะท่องเที่ยวระดับโลกแห่งนี้ เพื่อหวังว่าวันหนึ่งพวกเขาเหล่านี้จะลุกขึ้นมานำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในครั้งนี้ มาแก้ปัญหาและฟื้นฟูเกาะสมุยให้ดียิ่งขึ้น


(7) ตอน สำรับตำรับหมุย

แนวคิด "จากสวนสู่จาน อาหารปลอดภัย วิถีหมุย" Samui's garden to table มีการขอความร่วมมือจากแกนนำประสานในพื้นที่ ให้เลือกเฟ้นอาหารพื้นถิ่น เน้นแม่ครัวที่ยังคงรสมือแบบตำรับหมุย วัตถุดิบให้มาจากในเกาะสมุยมากที่สุด เพื่อนำเสนอถึงอาหารปลอดภัย จากแหล่งผลิตแหล่งเพาะปลูกที่ปลอดภัย กินอาหารอย่างรู้ที่มา

เรื่องอาหารการกินของคนหมุยถือเป็นเรื่องใหญ่ "สำรับตำรับหมุย" จึงมีมานำเสนอมากมายภายในนิทรรศการมีชีวิต "วิถีชน คนสมุย" ที่ทางทีมผู้ร่วมจัดงานต้องการสร้างชีวิตชีวาภายในงาน โดยมีเหล่าแม่ครัวมือเอกมาอวดฝีมือปรุงอาหาร พร้อมให้ชิมฟรีตลอดงาน ตั้งแต่บ่ายโมงจนถึงเกือบหกโมงเย็น รายการอาหารล้วนมีมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลักเกือบทั้งสิ้น

นิทรรศการมีชีวิต ที่ละลานตาไปด้วยอาหารพื้นถิ่น ไม่ใช่เฉพาะเยาวชนที่ตื่นตาตื่นใจกับการสาธิตทำอาหารและขนม ผู้มาร่วมงานทุกเพศวัยล้วนชื่นชอบและสนุกสนานกับการได้เห็นขั้นตอนการทำอาหาร เสียงโขลก เสียงตำ เสียงน้ำมันปะทะดังฉ่า สลับกับเสียงพูดคุยทักทายประสาคนหมุย ช่วยสร้างบรรยากาศภายในงานให้คึกคัก บางคนถึงกับขอลงมือช่วยปั้น ช่วยทอด ช่วยห่อ เพราะอาหารบางอย่างหาทานได้ยากในชีวิตประจำวัน

นิทรรศการอาหารจัดภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ภายในบริเวณบ้านโบราณ ณสมุย ผู้มาร่วมงานบ้างเดินไปชิมไป นั่งหลบแดดใต้ร่มไม้ พูดคุยทักทายหยอกล้อ ตามประสาคนหมุยที่มีความเป็นเครือญาติกันเกือบทั้งเกาะ หลายเสียงตอบรับว่าไม่เคยมีงานบรรยากาศน่ารัก เป็นกันเอง ไร้พิธีรีตองเช่นนี้ และอยากให้มีงานลักษณะนี้อีก


(8) ตอน จังหวะก้าวสู่เกษตรและอาหารสุขภาพวิถีหมุย

สองชั่วโมงจากการแลกเปลี่ยนสถานการณ์ด้านอาหาร และความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนแปลงไปของเกาะสมุย จุดเริ่มต้นจากการเปิดพื้นที่เป็นเกาะท่องเที่ยวเมื่อกว่า 40 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคในครัวเรือนเปลี่ยนไป มีผู้เล่าว่า “เมื่อตอนที่เป็นเด็ก แม่จะต้องให้กินปู ปลา ก่อนไปโรงเรียน ซึ่งเป็นอาหารอย่างดี แต่ตอนนี้อาหารมื้อเช้าที่เด็กกิน จะเป็นอาหารในร้านสะดวกซื้อ"

ในการเสวนาครั้งนี้มีข้อเสนอเพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนด้านความมั่นคงทางอาหารร่วมกัน คือ

-รักษาความเป็นเอกลักษณ์ รักษาวิถีของเกาะสมุย

-การส่งต่อเรื่องราวความเป็นตัวตนในอดีต และสามารถสื่อสารถ่ายทอดได้

-การสร้างประสบการณ์ให้นักท่องเที่ยวทำความเข้าใจจากประสบการณ์ร่วม เข้าใจอัตลักษณ์

-ต้องการเห็นบทบาทในการขับเคลื่อนงานร่วมกันกับภาคีทุกภาคส่วน

-การใช้วัตถุดิบจากในสวน ทำให้เป็นกระแส เพื่อเพิ่มมูลค่า

-การเพิ่มมูลค่ามะพร้าว และปราบแมลงศัตรูมะพร้าว พื้นที่ขาดศักยภาพในการคิดต่อยอด การสร้างนวัตกรรม การช่วยทำให้ชาวบ้านทำในสิ่งที่ยังไปไม่ถึง ต้องอาศัยนักวิชาการด้านต่างๆ เข้ามาสนับสนุน

-มีการเสนอ "ออร์แกนิกส์ ไอส์แลนด์ โมเดล" ซึ่งหมายรวมถึงการเรียนรู้วิถีดั้งเดิม การผลิตอาหารที่ปลอดภัย และการสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

ตลอดระยะเวลาเกือบ 6 ชั่วโมงของงาน "กิน อยู่ คือหมุย" ข้าพเจ้าในฐานะตัวแทนทีมงานซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ที่มาชวนคิด ชวนทำ ชวนคุย ชวนสร้างรูปแบบการจัดงานใหม่ บนวิถีดั้งเดิมแบบชาวหมุย ชวนออกแบบพื้นที่กลางให้งานในครั้งนี้เป็นพื้นที่ของคนทุกกลุ่มวัย ทุกภาคส่วนได้มาร่วมนำเสนอทุกๆเรื่องราวตามความถนัด และสนใจ จนได้ข้อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนงานร่วมกันบนเป้าการสร้างแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย สร้างสุขภาพที่ดี และเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่จะต้องนับจังหวะก้าวที่ 2 ต่อจากนี้

เรื่องราวทั้งหมดทั้งมวลนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีบุคคลเหล่านี้ ที่ต้องกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

ขอบคุณเจ้าบ้าน หัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการประสานงานทุกๆด้าน

-กลุ่มดูสมุย พี่แดง บ้านหาร MrdangonThebeach Boonsa และพี่ตา เขาพระ Baan Patcharintorn Samui

-เครือข่ายพลเมืองสมุย พี่สาธิต ทิดหมุย บ้านหัวเวียง และพี่มา ษมาภรณ์ บุญสา

-กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกษตรลิปะน้อย พี่นิษ Kanista Ruangsri

-วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มรส. อ.แก้ม Sunsanee Wongsawat

ขอบคุณทีมงานเฉพาะกิจ ที่ด้นสดกันหน้างานอย่างสนุกสนาน

-น้องตั๊ก Phailin Tak และเอ Taweezak Woraritrueangurai

-พี่เบ็ตตี้ Betty Napassaon

-น้องๆทีม CMC และครูมิ้ว Milk Pimpicha Boonanunt

ขอบคุณพี่ๆทีมพัทลุงที่มาชวนกระตุกต่อมคิดในวงเสวนา

  • เสณี จ่าวิสูตร ตัวแทนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหาร มูลนิธิภาคใต้สีเขียว

-พี่วิทย์ Wit Namatha เครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีเมืองลุง

ขอบคุณการสรุปข้อมูล โดยน้องตั๊ก ไพลิน

ขอบคุณภาพภายในงาน โดยพี่นิพนธ์, อ.แก้ม และเฟสบุ๊คผู้เข้าร่วมงานทุกท่าน

ขอบคุณทีมงานเบื้องหลังทุกท่านที่เกี่ยวข้องกับงานในครั้งนี้

Relate topics