สรุปบทเรียนและวางแผนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่ (4Pw) สู่ปีที่ 4

  • photo  , 1000x631 pixel , 147,190 bytes.
  • photo  , 1000x852 pixel , 90,341 bytes.
  • photo  , 960x816 pixel , 176,051 bytes.
  • photo  , 637x960 pixel , 135,974 bytes.
  • photo  , 937x960 pixel , 235,738 bytes.
  • photo  , 956x960 pixel , 183,789 bytes.
  • photo  , 903x960 pixel , 158,630 bytes.
  • photo  , 911x960 pixel , 148,217 bytes.
  • photo  , 714x960 pixel , 158,223 bytes.
  • photo  , 813x960 pixel , 114,885 bytes.
  • photo  , 902x960 pixel , 229,857 bytes.
  • photo  , 948x960 pixel , 155,719 bytes.
  • photo  , 928x960 pixel , 138,585 bytes.
  • photo  , 960x863 pixel , 134,988 bytes.
  • photo  , 790x960 pixel , 157,792 bytes.
  • photo  , 960x917 pixel , 189,948 bytes.
  • photo  , 960x923 pixel , 161,922 bytes.
  • photo  , 960x834 pixel , 157,360 bytes.
  • photo  , 1000x793 pixel , 91,781 bytes.
  • photo  , 960x924 pixel , 140,468 bytes.
  • photo  , 773x960 pixel , 131,265 bytes.
  • photo  , 960x919 pixel , 185,722 bytes.
  • photo  , 954x960 pixel , 188,132 bytes.
  • photo  , 960x863 pixel , 212,917 bytes.
  • photo  , 1000x746 pixel , 96,076 bytes.
  • photo  , 822x960 pixel , 183,349 bytes.
  • photo  , 960x885 pixel , 204,556 bytes.
  • photo  , 866x960 pixel , 225,205 bytes.
  • photo  , 1000x770 pixel , 88,275 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 71,353 bytes.
  • photo  , 1000x669 pixel , 99,122 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 72,053 bytes.
  • photo  , 960x907 pixel , 198,571 bytes.
  • photo  , 1000x730 pixel , 82,978 bytes.
  • photo  , 1000x778 pixel , 98,890 bytes.
  • photo  , 960x886 pixel , 167,406 bytes.
  • photo  , 1000x745 pixel , 86,401 bytes.
  • photo  , 960x820 pixel , 164,875 bytes.
  • photo  , 901x960 pixel , 231,199 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 64,710 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 78,521 bytes.

เก็บตกจากเวที "สรุปบทเรียนและวางแผนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่" 25-26 กันยายน 2562

เขียนโดย บัณฑิต มั่นคง

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สช. ได้สนับสนุนการดำเนินงานพัฒนานโยบายสาธารณะที่ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง มีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด เครือข่ายภาคประชาสังคม ได้ช่วยกันระดมความคิดเพื่อกำหนดประเด็นงานพัฒนาที่สำคัญที่สุดของจังหวัดออกมาชัดๆ ไม่เกิน 3 ประเด็น โดยเรียกมันว่า "ประเด็นคานงัดของจังหวัด"

ใช้กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา (Participatory Public Policy Process base on Wisdom : 4PW) มาขับเคลื่อนประเด็นคานงัด ผ่านเครื่องมือสำคัญภายใต้พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ได้แก่ สมัชชาสุขภาพ ธรรมนูญสุขภาพ และการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ และเครื่องมือต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

จนถึงขณะนี้ มีจำนวน 76 จังหวัดและพื้นที่กรุงเทพฯ อีก 6 โซนที่สามารถร่วมกันกำหนดประเด็น คานงัดของพื้นที่ตนได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประเด็นเหล่านี้คือ Local Reform Agenda ที่เครือข่ายพหุภาคีหรือประชารัฐในพื้นที่เป็นผู้กำหนด และ สช. กับองค์กรพันธมิตรระดับชาติจะร่วมกันสนับสนุนการขับเคลื่อนของพวกเขา

ทั้ง 76 จังหวัด มีประเด็นนโยบายสาธารณะมากถึงจำนวน 247 ประเด็น เรียงตามจำนวนดังนี้

1) ด้านความมั่นคงด้านอาหาร อาหารปลอดภัย เกษตรปลอดสาร จำนวน 42 ประเด็น

2) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ ภัยพิบัติ จำนวน 31 ประเด็น

3) ด้านสุขภาวะกลุ่มสูงวัย ผู้สูงอายุจำนวน 31 ประเด็น

4) ด้านการจัดการขยะ มลพิษ จำนวน 25 ประเด็น

5) ด้านชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษา ปัจจัยเสี่ยง จำนวน 25 ประเด็น

6) ด้านสุขภาวะกลุ่มเด็ก เยาวชน จำนวน 19 ประเด็น

7) ด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจพอเพียง พลังงาน จำนวน 15 ประเด็น

8) ด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 11 ประเด็น

9) การพัฒนาเมือง ที่อยู่อาศัย จำนวน 9 ประเด็น

10) อื่นๆ

ตัวอย่างประเด็นเหล่านี้ แยกย่อยออกมาได้หลากหลายชื่อ อาทิ เกษตรอินทรีย์ ท่องเที่ยวชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง แรงงานต่างชาติ เขตเศรษฐกิจพิเศษ ตัวอย่างประเด็นด้านสังคม เช่น ท้องวัยเรียน ยาเสพติด สังคมสูงวัย เด็กปฐมวัย ปฏิรูปการศึกษา ตัวอย่างประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะชุมชน จัดการลุ่มน้ำขนาดเล็ก ที่อยู่อาศัยชุมชนเมือง ทางจักรยาน พิบัติภัยธรรมชาติ การจัดการทรัพยากรดิน-น้ำ-ป่า ตัวอย่างประเด็นด้านสุขภาพ เช่น อุบัติเหตุทางถนน รณรงค์ลดเหล้า ธรรมนูญสุขภาพ การแพทย์พื้นบ้าน สารเคมีการเกษตร สันติภาพสันติสุข

ประเด็นคานงัดทั้งหมดจะเป็นจุดเริ่มต้นตามวงจรของกระบวนการ 4PW กล่าวคือเป็นขั้นของ "การริเริ่มนโยบาย" จากนี้ไปพวกเขาจะร่วมกัน "พัฒนาเป็นแผนงาน โครงการ และขับเคลื่อนปฏิบัติการ ไปจนกระทั่งถึงการประเมินผล"

อย่างไรก็ตาม บทเรียนจากการขับเคลื่อนมาก็มีทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนี้

บทเรียนด้านกลไก

  1. สามารถยกระดับไปสู่ “กลไกและเป็นพื้นที่กลางร่วมกันของทุกขบวนพัฒนาในจังหวัด” ได้จริงบนเงื่อนไขประเด็นนั้นเป็นเรื่องร่วมของคนในจังหวัดจริง ใช้กลุ่มแกนนำและคณะทำงานร่วม มีระบบฐานข้อมูลร่วม วิเคราะห์พื้นที่ทำงาน รูปแบบวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือเป็นเวทีกลางร่วม และร่วมหนุนเสริมทรัพยากรในการทำงาน เช่น สภาพลเมืองเชียงใหม่ วันพลเมืองสงขลา สมัชชาคนสตูล ประชาคมคนสุรินทร์ เป็นต้น

  2. องค์ประกอบของกลไกทำงานภาคประชาสังคมมีบทบาทนำสูง อาจเนื่องจากประเด็นร่วมเหล่านั้น ส่วนใหญ่เจ้าของประเด็นจะเป็นภาคประชาสังคมที่เป็นผู้ทำข้อเสนอเชิงนโยบายและนำนโยบายไปขับเคลื่อนเอง ทั้งนี้การปรับรูปแบบการสนับสนุนของ สช. ที่มุ่งเน้นไปที่ประชาสังคมก็มีส่วนทำให้ภาคส่วนอื่นลดบทบาทลง

  3. การจัดระบบงานภายในของเครือข่ายส่วนใหญ่จะเป็นแบบหลวมๆ กลไกกลาง (คณะทำงานชุดใหญ่) ของจังหวัดส่วนใหญ่ของจังหวัดจะประชุมเพื่อรับทราบความก้าวหน้าของการทำงาน ส่วนการขับเคลื่อนประเด็นมีคณะทำงานรับผิดชอบดำเนินการ (ทั้งตัวบุคคลและเป็นทีมทำงาน) มีฝ่ายเลขาทำหน้าที่ประสานงานและแจ้งความคืบหน้า ใช้ภาวะผู้นำที่เป็นผู้อาวุโสเชื่อมโยงกับการทำงานกับ กลไกอื่นๆ

  4. การสร้างความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะกับภาคีในระดับพื้นที่ (แสวงหาเพื่อนเพิ่ม) วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันมีความสำคัญมากที่จะทำให้เครือข่ายและการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะนั้นมีความเป็นไปได้จริงในการปฏิบัติ

  5. หลายจังหวัดมีการสร้างแกนนำรุ่นใหม่และพัฒนาศักยภาพแกนนำในทุกระดับ และใช้ทีมวิชาการ (คณะทำงานวิชาการกลางของจังหวัด) มาหนุนงานของแต่ละประเด็น/ภาคีเครือข่าย แต่พบว่าส่วนใหญ่กลุ่มแกนนำคนทำงานยังไม่หลากหลาย

บทเรียนด้านการพัฒนาและขับเคลื่อนประเด็นนโยบาย

  1. ขั้นตอนการคัดเลือกประเด็นมีความสำคัญมาก ถ้ากระบวนการวิเคราะห์ศักยภาพและทุนเดิมของจังหวัดมีข้อมูลประกอบรอบด้าน และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม จะทำให้การนำไปสู่การวางเป้าหมายร่วม การลงมือทำนโยบายบนฐานทุนร่วมกันได้จริง รวมถึงสามารถนำไปสู่การขับเคลื่อนที่เห็นผลลัพธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงและยกระดับไปสู่งานร่วมกันต่อไป

  2. การวางเป้าหมายการขับเคลื่อนนโยบายผ่านประเด็นร่วมนั้น พบว่าหลายจังหวัดทำมากกว่าการผลักดันนโยบายเข้าสู่หน่วยงาน แต่ยกระดับไปถึง “การสร้างชุมชนเข้มแข็ง การกระจายอำนาจ การลดปัจจัยทางสังคมที่ไม่เป็นธรรม การปรับพฤติกรรมส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อระบบสุขภาพ รวมถึงการปรับระบบการทำงานร่วมกัน”

  3. หลายจังหวัดมีการทบทวนประเด็นอยู่เสมอ อาจเนื่องมาจากเป็นประเด็นที่ยังอยู่ในความสนใจของคนเฉพาะกลุ่ม มีความเป็นไปได้น้อยในการปฏิบัติ มีหน่วยงานดำเนินการอยู่แล้ว มีงบประมาณในการขับเคลื่อนมีจำกัดหรือมีความขัดแย้งและไม่สอดคล้องกันในแนวทางการทำงาน การทบทวนนั้นทำตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงข้อเสนอ เปลี่ยนหรือเพิ่มคณะทำงานประเด็น เปลี่ยนวิธีการขับเคลื่อน รวมถึงการยกเลิกการขับเคลื่อนประเด็นดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์หน่วยงานที่เป็น Key success ของประเด็นเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนประเด็นให้สำเร็จ

  4. ช่องทางในการผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายไปได้หลายทาง โดยส่วนใหญ่จะใช้เวที (มินิ) สมัชชาสุขภาพจังหวัดเป็นช่องทางในการผลักดันนโยบาย นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ มีการส่งข้อเสนอที่ได้ให้กับหน่วยงานในจังหวัดโดยตรง และมีการเข้าพบเพื่อชี้แจงและผลักดันข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด

  5. รูปแบบการจัดสมัชชาสุขภาพจังหวัด ในปีแรกๆ ยังจัดในสถานที่ปิด เช่นในโรงแรม และในปีหลังๆ เริ่มมีการจัดในสถานที่เปิด เช่น สถาบันการศึกษาในจังหวัด หอประชุมของหน่วยงาน อบจ. ลานวัฒนธรรม ฯลฯ เพื่อให้คนส่วนใหญ่ได้เข้ามารับรู้ร่วม เป็นการสื่อสารต่อสาธารณะและมีการบูรณาการจัดร่วมกับงานของหน่วยงานอื่นๆ เช่น เวทีสภาพลเมือง เวทีของขบวนองค์กรชุมชนและงานของเครือข่าย สสส. เป็นต้น

การพัฒนาประเด็นนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่ ได้ก่อให้เกิดคุณประโยชน์มากมาย อาทิเช่น การช่วยกันทำนโยบายสาธาณะที่ขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดสังคมสุขภาวะมากถึง 247 ประเด็น ที่มีความแตกต่างหลากหลายตามบริบทพื้นที่ สามารถเชื่อมโยงบูรณาการและทำงานร่วมกับหน่วยงานได้ ทั้งภาครัฐ วิชาการ เชื่อมโยงกับเครือข่าย กลไกต่างๆ ในพื้นที่ได้ นอกจากนี้ยังเป็นพลังสำคัญในการรองรับการทำงานที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายระดับชาติ และทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต

นี่คือการขับเคลื่อนการปฏิรูปพื้นที่ของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน และเป็นทั้งฐานทุนสำหรับการพัฒนาประเทศในระยะยาวและการปฏิรูปพื้นที่ในระยะเปลี่ยนผ่าน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าของประชาชนและชุมชนท้องถิ่น

Relate topics