เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา SGS-PGS

  • photo  , 960x539 pixel , 61,036 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 83,464 bytes.
  • photo  , 960x466 pixel , 87,511 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 222,247 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 208,576 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 114,394 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 191,744 bytes.
  • photo  , 1478x1108 pixel , 99,530 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 242,848 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 118,063 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 196,051 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 180,252 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 151,813 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 230,336 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 199,129 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 159,389 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 226,727 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 231,891 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 172,480 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 220,752 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 251,778 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 90,350 bytes.

"เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา SGS-PGS"

อีกงานที่สงขลากำลังนับหนึ่ง

หลังจับมือกับรพ.หาดใหญ่ ส่งพืชผักเข้าสู่โรงครัว ผ่านเมนูอาหารล่วงหน้า และมีการหารือกันมาหลายรอบจนกระทั่งเริ่มส่งผลผลิตเข้าสู่โรงครัวตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยมีคนกลางคือวิสาหกิจกล้วยหอมทองระโนดกับวิสาหกิจรักษ์ส้มจุกจะนะ รวบรวมผลผลิตมาตรฐาน GAP ล่วงหน้าไปก่อน

ขณะที่เกษตรกรสายอินทรีย์อีกจำนวนหนึ่งต้องการส่งผลผลิตมาจำหน่ายในตลาดกรีนที่จะเปิดในเดือนมกราคมและส่งผลผลิตเข้าโรงครัวเช่นกัน ก็ได้เริ่มพัฒนาการรับรองแบบมีส่วนร่วม มาตรฐาน PGS (Participatory Guarantee Systems)

การสร้างมาตรฐานเครือข่ายผู้ผลิตแบบอินทรีย์ที่แทบน้อยคนจะผ่านการรับรองมาตรฐานอินทรีย์ ด้วยเป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อส่งออกมากกว่าส่งเสริมเกษตรกรรายย่อย ทำให้เกิดการพัฒนามาตรฐานที่่รับรองกันด้วยเครือข่ายขึ้นมาอุดช่องว่าง แต่กระนั้นการรับรู้ทั่วไปยังคิดว่ามาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practice) ที่หน่วยงานรับรองให้น่าเชื่อถือกว่าอยู่ดี ทั้งที่ตัว Q หรือGAP ที่ออกให้นั้นให้เฉพาะพืชผักชนิดที่ตรวจ และมีการใช้ปู่ยเคมีแต่มีการควบคุมการใช้ให้ปลอดภัย

มูลนิธิชุมชนสงขลากับเกษตรกรจำนวนหนึ่งในสงขลาโดยการสนับสนุนของอบจ./๔PW/กขป.เขต ๑๒ จึงรวมตัวกันในนามของเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา พัฒนามาตรฐาน SGS(Songkhla green smile)-PGS ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ได้ร่วมกันกำหนดกติกาของเครือข่ายด้วยกัน วางกลไกการทำงานเป็นคณะทำงาน และลงตรวจแปลงที่เข้ามาแล้ว ๓๒ แปลง

ลงตรวจแปลงรอบแรกมีทีมตรวจ ๖-๙ คนประกอบด้วย ตัวแทนหน่วยงาน สสจ.สงขลา รพ.หาดใหญ่ มูลนิธิชุมชนสงขลา/บ.ประชารัฐฯ แกนนำเกษตกร

ใช้เวลาหลายวันกว่าจะครบทุกแปลง การลงตรวจถึงพื้นที่ด้านหนึ่งได้เห็นกระบวนการผลิต เห็นผลผลิต เห็นเกษตรกรโดยตรง ขณะที่เกษตรกรจะต้องส่งผังฟาร์ม ประเภทผลผลิต มาให้ก่อนล่วงหน้า ลงไปดูมาแล้วก็นัดมาสรุปภาพรวมร่วมกัน ที่มีทั้งให้ผ่านแบบไร้เงื่อนไข ผ่านแบบมีเงื่อนไข และไม่ผ่าน อีกด้านหนึ่งเป็นการสร้างการเรียนรู้ของกันและกัน หน่วยงานที่ลงไปจะเข้าใจเกษตรกรมากขึ้น เข้าใจความยากง่ายในการผลิตเกษตรอินทรีย์มากขึ้น เกษตรกรเองก็ได้เรียนรู้ประสบการณ์ของคนอื่น ที่จะมีผลต่อการวางแผนการผลิต การทำแนวกันชน การลดต้นทุนต่างๆ ทีมกลางก็ได้บทเรียนและค้นพบแนวทางของตนที่จะส่งเสริมสนับสนุนต่อไป

การรับรองแบบมีส่วนร่วมไม่จำเป็นจะต้องมีทีมเดียว เครือข่ายเดียว ด้วยเหตุความหลากหลายของความคิด ความเชื่อ บริบทของพื้นที่ ฐานทรัพยากร

ทำไปเรียนรู้ไปครับ

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics