ประชุมทีมอนุวิชาการประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ กขป.เขต ๑๒

  • photo  , 1000x563 pixel , 109,691 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 78,461 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 64,463 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 75,728 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 73,800 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 190,379 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 198,854 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 190,425 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 98,142 bytes.
  • photo  , 480x270 pixel , 43,053 bytes.

"ประชุมทีมอนุวิชาการประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ กขป.เขต ๑๒"

วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๒ ประชุมทีมอนุวิชาการประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ เตรียมความพร้อมก่อนนัดจัดการความรู้ ผลผลิตของประเด็นที่จะต้องไปให้ถึง คือ

๑.การทบทวนข้อมูลจาก Mapping ข้อมูลภาคีเครือข่าย พื้นที่ปฎิบัติการ พื้นที่ต้นแบบ รวมจากการทำงานที่ผ่านมาเพื่อให้เกิดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อหน่วยงานและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

๒.เกิดผลการขับเคลื่อนตามแผนปฏิบัติการ ๓.เกิดตัวแบบการพัฒนาแบบใหม่ที่ไปสู่การพัฒนาต่อไป

เตรียมกิจกรรมประชุมกลุ่มย่อย ๒ ครั้ง(๓๐ ตค.และ ๑๓ พย.) เพื่อจัดการความรู้จัดทำร่างข้อเสนอและร่างตัวแบบการขับเคลื่อนประเด็น

จากนั้นนำเสนอในการประชุมคณะอนุกรรมการชุดใหญ่ ๑ ครั้ง(๒๘ พย.) และนำเข้าสู่เวที Kick off ในช่วงต้นปี

เป้าหมายที่วางไว้ คือ

๑.ให้ชาวสวนยางพออยู่พอกิน

๒.ส่งเสริมเกษตรสุขภาพ

๓.ส่งเสริมตลาดอาหารสุขภาพ ในส่วนแผนงานโครงการตามแผนปฎิบัติการวางไว้ ๖ โครงการ

ประชุมครั้งนี้ยกร่างตัวแบบ(ตัวอย่าง)การขับเคลื่อนที่จะหลอมรวมทั้ง ๖ โครงการเข้าด้วยกันในลักษณะเชิง Platform ที่มีทั้งเครืองมือ กระบวนการ กลไกกลาง โดยจุดเน้นคือ

๑)มีกลไกกลางระดับจังหวัดที่จะเป็นเครือข่ายเกษตรกรร่วมขับเคลื่อนกับภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชน เดินไปในรูปแบบเก้าอี้ ๔ขา

๒)อาศัยตลาดนำการผลิต นำข้อมูลความต้องการจากตลาด ไม่ว่าจะเป็นรพ. โรงแรม ตลาดชุมชน วางแผนการผลิตร่วมกับขยายฐานการผลิตเกษตรสุขภาพและพัฒนาระบบมาตรฐานทั้งแบบ GAP และ PGS มีตั้งแต่สวนยางยั่งยืน เกษตรผสมผสาน เกษตรเมือง ใช้เมล็ดพันธุกรรมท้องถิ่น ไม่ใช้สารเคมี รวมไปถึงใช้เทคโนโลยีพลังงานงานทดแทน การจัดการขยะ และการสร้างผู้ประกอบการใหม่ร่วมกับผู้ประกอบการทางสังคม โดยมีปลายทางไปถึงธุรกิจเพื่อสังคม มาเป็นคนกลางในการรวบรวมผลผลิตและทำสัญญาส่งผลผลิตไปจำหน่าย

๓)พัฒนาแอพฯ Green smile เพื่อรองรับการทำงานของเกษตรกร ผู้สนับสนุน นำข้อมูลมาสู่การวางแผนการผลิต การทำตลาดล่วงหน้า การติดตามรายงานผล

โดยถอดความรู้จากเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา มาเป็นหนึ่งในตัวแบบที่แต่ละจังหวัดสามารถต่อยอดไปผสมผสานให้สอดคล้องกับบริบทของตัวเอง

๑.ใช้กลไกเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา(Songkhla Green Smile) หรือชื่อย่อว่า SGS ที่ประกอบด้วยฐานเกษตรกร ๔๐ กว่ากลุ่ม หน่วยงานภาครัฐ เช่น สสจ. รพ.หาดใหญ่ เกษตรและสหกรณ์ วิสาหกิจ บ.ประชารัฐ มูลนิธิชุมชนสงขลา ฯลฯ จับมือร่วมกันดำเนินการเป็นเจ้าภาพหลัก

๒.มีมาตรฐาน ๒ แบบ ได้แก่ GAP มีกลุ่มวิสาหกิจ ๒ แห่งเป็นคนกลางรวบรวมและส่งผลผลิตให้กับรพ.หาดใหญ่และอื่นๆ และมาตรฐาน PGS ภายใต้ชื่อ SGS : PGS ที่ได้จัดทำธรรมนูญเครือข่ายมารองรับ และมีเกษตรกรที่ผ่านการรับรองแล้วร่วม ๓๐ แปลง จะเริ่มส่งผลผลิตเข้าสู่ครัวรพ.หาดใหญ่และเปิดตลาด green smile ในกลางเดือนธันวาคมนี้ทุกวันศุกร์ของแต่ละสัปดาห์

๓.พัฒนาแอพฯGreen Smile จัดทำฐานข้อมูลเกษตรกร แผนที่ รูปแบบการผลิต ข้อมูลการผลิต ปัจจัยการผลิต ผังฟาร์ม ระบบสอบย้อนผลผลิต และข้อมูลผู้สนับสนุนในส่วนความต้องการ ราคา ระบบการรับส่ง และการรายงานผลการดำเนินงาน

๔.พัฒนาไปสู่ธุรกิจเพื่อสังคม ยกระดับวิสาหกิจชุมชนในลักษณะร่วมทุน ร่วมทำ สร้างความเป็นเจ้าของร่วม จับมือกับภาคีในแต่ละพื้นที่ นำแนวทางดังกล่าวไปสร้างเครือข่ายความร่วมมือ พื้นที่ปฎิบัติการให้ครบวงจร

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics