ถอดบทเรียนโครงการต้นแบบการดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคมภายใต้การสนับสนุนของ Node flagship สสส.สงขลา

  • photo  , 960x540 pixel , 46,107 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 72,345 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 61,962 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 59,507 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 57,064 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 96,272 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 100,805 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 86,748 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 55,041 bytes.

นัด ๓ โครงการต้นแบบการดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคมภายใต้การสนับสนุนของ Node flagship สสส.สงขลามาเจอกัน

ทั้ง ๓ โครงการมีจุดเด่นที่แตกต่างจากฐานเดิมที่ต่างสะสมทุนมาระดับหนึ่งก่อนที่จะมาทำโครงการต่อยอด

๑.ต.ทับช้าง และต.คูหา เป็นพื้นที่ดำเนินงานศูนย์สร้างสุขชุมชนที่มีกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพอบจ.สงขลาให้การสนับสนุน มีความร่วมมือหนุนเสริมจากพชอ.ทั้งนาทวีและสะบ้าย้อย รวมถึงหน่วยงานต่างๆก็เริ่มเข้ามาทำงานด้วยอย่างใกล้ชิด ทั้ง ๒ พื้นที่ได้เก็บข้อมูลคนยากลำบากฯ คนพิการ ผู้ป่วยรอการฟื้นฟู ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงลงใน www.communinfo.com หรือแอพฯiMed@home มาก่อนหน้า

๒.เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ตำบลบ่อยาง ต่อยอดจากการทำงานของชุมชนแหลมสนอ่อนในนามกลุ่มออมทรัพย์ ที่ได้ดำเนินการกับศปจ.เมือง เก็บข้อมูลคนยากลำบากมาแล้วเช่นกัน และต่อมาได้รวมตัวกับกลุุ่มออมทรัพย์อีกหลายชุมชนในนามเครือข่าย

ทั้ง ๓ โครงการได้ต่อยอดกิจกรรม เริ่มด้วยการตรวจสอบข้อมูลเพื่อนำข้อมูลเข้าสู่ระบบการทำงานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีทั้งรูปแบบเก็บข้อมูลเพิ่ม คืนข้อมูลผ่านเวทีประชาคมหมู่บ้าน สร้างการยอมรับและทำให้ฐานข้อมูลที่มีถูกยอมรับ หรือมีการลงเยี่ยมบ้านโดยคนกลาง เก็บภาพถ่ายเชิงประจักษ์มายืนยันความถูกต้องของข้อมูล แหลมสนอ่อนใช้กิจกรรมห้องเรียนชุมชนและการทำกติกาหรือธรรมนูญกลุ่มมาคัดกรองผุ้เข้าร่วมมาเป็นทีมและแกนนำ ค่อยๆเรียนรู้การทำงานของแกนนำแต่ละชุมชน เหล่านี้คือพื้นฐานการทำงานที่จำเป็นจะต้องสะสมและสร้างขึ้นก่อนที่จะเดินหน้าต่อไป

จากข้อมูลที่ได้มา นำมาสู่การทำแผนระดับตำบลและแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับบุคคล ทั้ง ๓ แห่งเดินทางลัดใช้วิธีเก็บข้อมูลไป แก้ปัญหาไป ด้วยเหตุที่ความเดือดร้อนนั้นรอไม่ได้ หรือแกนนำเองก็ยังไม่ได้ประสานหน่วยงาน หรือสร้างระบบทีมขึ้นมาเพื่อการประสานความช่วยเหลืออย่างบูรณาการไปด้วยกัน แหล่งทุนหรือหน่วยงานที่ลงมาช่วยเองก็ใช้วิธีแยกส่วนลงมาช่วย ด้วยข้อจำกัดด้านเวลาและระเบียบการใช้งบประมาณ ที่สำคัญคือวัฒนธรรมการทำงานแยกส่วน ต่างคนต่างทำยังเป็นกระแสหลักที่เกาะกุมหัวใจ

ความท้าทายก็คือ จะปรับรูปแบบการทำงานจากความคุ้นชินเดิมทั้งการแยกส่วนทำงาน การปรับพฤติกรรมการทำงานจากผู้นำเดี่ยวมาเป็นระบบทีม การเปลี่ยนภาวะผู้นำเดี่ยวมาเป็นนำแบบรวมหมู่ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมทุน ทั้ง๓ โครงการมีระบบข้อมูลที่ครบวงจรตั้งแต่นำเข้า ประมวลผลและรายงานผลสามารถใช้เป็นเครื่องมือใหม่ๆ และนำมาสู่การจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งท้องถิ่น ท้องที่ เอกชน ชุมชน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ หรือเลือกทำเฉพาะบางเรื่อง...โจทย์นี้ยากนัก เพราะไปปรับระบบการทำงาน บางแห่งยังกำลังสร้างมีส่วนร่วมและปราศจากประสบการณ์ในการทำงานร่วมโดยใช้กลุ่มเป้าหมายเป็นตัวตั้ง อีกทั้งด้วยเหตุแห่งปัญหาที่แต่ละบุคคลประสบอยู่มีหลายประการ ต่างซับซ้อน หลากหลาย ปมปัญหาทางสังคมล้วนเป็นภูเขาน้ำแข็งที่เห็นแต่ปลายยอด หลายปัญหาซ่อนลึกไม่ใช่แค่สิ่งที่เห็นประจักษ์ภายนอก เช่น ซ่อมบ้าน เจ็บป่วย ปัญหาเชิงลึกเช่น สิทธิพื้นฐาน ความยากจน ยาเสพติด ความไม่เป็นธรรม ฯลฯ เหล่านี้ต้องใช้เวลาและความร่วมมือ ไม่ได้แค่ลงเยี่ยมให้กำลังใจหรือมอบเงินเล็กๆน้อยๆแล้วก็จบ

เป้าหมายคือ ให้แต่ละคนเข้าถึงสิทธิพื้นฐานในชีวิต มีปัจจัย ๔ พอให้ประคองชีวิตไปได้ แล้วเราจะวัดผลความสำเร็จที่ตัวบุคคลเป้าหมายได้หรือไม่ นี่คือเป้าหมายของโครงการ

เห็นพลังของทั้ง ๓ โครงการ เห็นความสำเร็จที่เกิด แต่ก็ยังมีเป้าหมายที่จะต้องทะลุไปให้ถึงอีกไม่น้อย โดยเฉพาะการทำงานเป็นทีม มีแกนนำชุมชนที่สามารถยืนหยัดทำงานต่อเนื่องกับภาครัฐ ภาคท้องถิ่น และที่สำคัญ สามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics