ศปจ.ปัตตานีกับกลไกความร่วมมือเพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางผ่านระบบข้อมูล IMed@home

  • photo  , 960x720 pixel , 72,852 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 184,732 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 170,133 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 177,584 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 175,181 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 143,537 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 128,155 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 131,771 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 165,095 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 138,713 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 164,566 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 125,490 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 119,858 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 129,045 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 139,097 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 125,953 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 133,790 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 181,521 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 93,734 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 34,203 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 59,878 bytes.

วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๒  ศปจ.ปัตตานีจัดเวทีคืนข้อมูลคนพิการที่ยากลำบากให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งพมจ. อบจ. สสจ. พช. กศน. อบต. หอการค้า ที่นี่เก็บข้อมูลโดยทีมบัณฑิตอาสา หลังจากมีข้อมูลคนยากลำบากและเปราะบางทางสังคมเข้าระบบมาตัั้งแต่ปี ๖๑ รอบนี้ลงลึกด้วยแบบสอบถามคุณภาพชีวิตเริ่มด้วยคนพิการที่เป็นส่วนหนึ่งของคนยากลำบากและเปราะบางทางสังคม โดยใช้ระบบข้อมูลผ่าน www.commouneinfo.com และแอพฯ iMed@home ดำเนินการทั้ง ๑๒ อำเภอ ได้ข้อมูลคนพิการมาทั้งสิ้น ๘๗๒ คน

พบว่าคนพิการที่ลำบากมีมากที่อำเภอโคกโพธิ์ ไม้แก่น ประเภทความพิการส่วนใหญ่เป็นทางกายสาเหตุจากแต่กำเนิด จากการเจ็บป่วย และอุบัติเหตุ โดยมีพิการด้านสติปัญญาและการได้ยินรองลงมาตามลำดับ เป็นเพศชายมากกว่าหญิง มีทั้งโสด สมรสและอยู่ด้วยกัน การศึกษาระดับปฐมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้ประกอบอาชีพแต่มีผู้ดูแล ส่วนใหญ่ช่วยเหลือตัวเองได้ พบว่ายังไม่ได้จดทะเบียนคนพิการจำนวนหนึ่ง สภาพที่อยู่อาศัยเป็นบ้านชั้นเดียว ป่วยเป็นความดัน เบาหวาน ต้องการความช่วยเหลือ ต้องการเงิน อาหาร รถเข็น การฟื้นฟูสมรรถภาพ

จากการลงเก็บแบบสอบถามคุณภาพชีวิตคนพิการ พบปัญหาการเก็บข้อมูลอันเกิดจากความไม่พร้อมของคนพิการ ทั้งไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ให้ข้อมูลเชิงลึก ข้อมูลยังไม่สมบูรณ์รอการตรวจสอบที่มีข้อมูลไม่ระบุจำนวนหนึ่ง บวกกับปัญหาเดิมที่ต่างคนต่างเก็บ หรือเก็บข้อมูลแล้วไม่ได้ช่วยเหลือ หลังคืนข้อมูลแล้วจะมีการลงช่วยเหลือตามสภาพปัญหา และประสานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

บทเรียนการเก็บข้อมูล ทำให้บัณฑิตอาสาเรียนรู้ปัญหาการดูแลคนพิการ มีหลายอย่างในการแก้ปัญหาที่ไม่สอดคล้องกับคนพิการ ตัวคนพิการเองไม่เข้าใจระบบการทำงานของราชการหรือสังคม ต้องการคนกลางที่จะทำให้คนพิการสามารถเล่าปัญหาของตน

พมจ.ปัตตานีบอกว่าปัจจุบันมีข้อมูลพื้นฐานคนพิการที่มาจดทะเบียน ๑๗๐๐๐ กว่าราย ให้ดูข้อมูลที่ยังไม่สมบูรณ์และประสานการทำงานเพื่อร่วมแก้ปัญหา การมีชุมชนเข้มแข็งจะมีส่วนช่วยราชการในการแก้ปัญหาได้มาก

ตัวแทนจาก กศน. บอกว่าต้องการเก็บข้อมูลทุกคน และปรับใช้กับกลุ่มเป้าหมายอื่นได้ด้วย ในการศึกษาควรจะทำงานกับศูนย์การศึกษาพิเศษ/กศน. เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกัน

นำประสบการณ์การทำงานของสงขลาไปร่วมแลกเปลี่ยน เสนอให้อบจ.จัดตั้งกองทุนฟิ้นฟูสมรรถภาพฯจะได้มีงบและบุคลากรมาทำงาน อบจ.บอกว่าที่นี่บุคลากรน้อย หลังคืนข้อมูลให้ศปจ.รวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูลส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดระบบการทำงานระดับจังหวัด หากพมจ.ทำได้ควรเสนอให้มีคณะทำงานจากภาคส่วนต่างๆ มาทำงานร่วมกับกขป.เขต ๑๒ และสามารถใช้ระบบข้อมูลดังกล่าวด้วยการสมัครสมาชิกและส่ง Usernane มาให้ทีมกลางมูลนิธิชุมชนสงขลาอนุมัติสิทธิ์ในฐานะ Admin พร้อมกับหาพื้นที่ตำบลสร้างความรู้จากการปฎิบัติร่วมกัน โดยมีตำบลคลองใหม่กับตำบลไทรทองสนใจดำเนินการ

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics