การพัฒนารูปแบบการบริการในระบบสุขภาพปฐมภูมิ

  • photo  , 960x749 pixel , 63,750 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 65,726 bytes.
  • photo  , 1850x498 pixel , 109,239 bytes.

พิธีเปิดและบรรยายพิเศษโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการบริการในระบบสุขภาพปฐมภูมิ ของ นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2562

สรุปประเด็นสำคัญ

1.ภารกิจในระบบสุขภาพปฐมภูมิ ต่อไปนี้จะต้องไม่ใช่การตัดเสื้อโหล เช่น แพทย์ไม่ได้ต้องไปตรวจ opd 5 วัน ต่อไปนี้จะขึ้นกับ "บริบทพื้นที่" ซึ่งต้องสอดคล้องกับ "การใช้ชีวิตของประชาชน" โดยทีมต้องคุยกัน ออกแบบระบบ เพื่อดูแลประชาชน 10,000 คน

2.งานปฐมภูมิจากหลายพื้นที่ที่แตกต่างหลากหลาย วิธีการเเตกต่างกัน แต่ผลลัพธ์ดีขึ้น ดังนั้น งานปฐมภูมิ จะต้องเน้นที่ผลลัพธ์ มากกว่าเน้นกระบวนการที่ต้องเป็นการจัดการในเชิงบริบท

3.พรบ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำให้ระบบปฐมภูมิ มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ซึ่งเป็นกฏหมาย ที่เขียนจากแนวคิดของยุโรป มาปรับเชิงบริบทของประเทศไทย และทั่วโลกขณะนี้ มุ่งให้ระบบปฐมภูมิมีความเข้มแข็งมากขึ้น


3.1 ขณะนี้ต้องมุ่งเน้นให้เกิด คณะกรรมการเต็มขณะตาม พรบ.


3.2 กลไกการเงิน จะต้องปรับเปลี่ยน 80%op กับ 100% PP จะเป็นของปฐมภูมิ ซึ่งกลไกการคุยระหว่างแต่ละกองทุน ได้เริ่มดำเนินการเเล้ว เงิน OP จะเป็น 2 กอง Hospital based กับ Non hospital


4.การสนับสนุนด้านบุคคล เช่น หลักสูตรอบรมพัฒนาแพทย์ เพื่อจะทำงานในปฐมภูมิ จะสนับสนุนโดย ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและ สสป. การอบรมสหวิชาชีพ รวมทั้งต้นปี 63 จะมี Dr. Win จากอังกฤษ ซึ่งเป็นคนไทย ผู้รับผิดชอบการผลิตแพทย์ GP ของ Brighton มาไทย ซึ่งจะจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และลงเยี่ยมทีมที่ไปอบรมที่อังกฤษ


5.เป้าหมายสำคัญของปี 63 คือ ประชาชน 40% ประมาณ 26 ล้านคน ต้องมีหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ 2,600 หน่วย

6.ผลระยะยาวของการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ ตาม พรบ.จะทำให้มีความคุ้มค่าถึง 220,000 ล้านบาท และทำให้ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน


สรุปโดย นพ.สฤษดิ์เดช เจริญไชย

ขอบคุณข้อมูลจาก Facebook Sariddet Charoenchai

Relate topics