"เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ กขป.เขต ๑๒"

  • photo  , 960x540 pixel , 104,480 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 108,720 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 188,656 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 73,687 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 103,140 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 201,058 bytes.
  • photo  , 270x480 pixel , 27,431 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 99,308 bytes.

"เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ กขป.เขต ๑๒"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓  ประชุมทีมวิชาการประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อเตรียมการประชุมเชิงปฎิบัติการระหว่างกขป.  คณะอนุกรรมการ  คณะทำงาน  วันที่ ๒๘ พฤศจิกายนนี้

ร่วมเติมเต็ม ประสานการขับเคลือนแผนปฎิบัติการ และเสนอเชิงนโยบายให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในช่วงเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ปี ๖๓

โดยมี ๓ แนวทางสำคัญ

๑.ระดับเขต กขป.เขต ๑๒ มีแผนปฎิบัติการ ๒ ปี ประกอบด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ สุขภาวะชาวสวนยางและสวนยางยั่งยืน อนุรักษ์ฟื้นฟูพันธุกรรมพิ้นบ้าน เฝ้าระวังสารเคมีอันตราย ส่งเสริมเกษตรสุขภาพ การตลาดอาหารสุขภาพ และการวิจัยการจัดการความรู้รวมถึงระบบสนับสนุน เหล่านี้จะเป็นทิศทางและเป้าหมายของการดำเนินงาน โดยมีกลไกคณะอนุกรรมการระดับเขตรองรับ

๒.ระดับจังหวัด มีแนวทางผลักดันให้เกิดกลไกคณะทำงานที่จะประสาน "ตัวจริง" ของแต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาทำหน้าที่ลดช่องว่าง บูรณาการ วางรากฐานการทำงานระดับจังหวัด เริ่มด้วยการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลเกษตรกรทุกคนให้อยู่ในฐานเดียวกัน จำแนกพื้นที่ มาตรฐาน กลุ่ม/บุคคล พื้นที่การผลิต ประเภทผลผลิต ความต้องการ, สำรวจความต้องการทางการตลาด(รพ./โรงแรม/มหาวิทยาลัย/โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก/ตลาดเขียว/ตลาดอาหารปลอดภัย) อาศัยตลาดล่วงหน้ากำหนดแผนการผลิต, สำรวจความต้องการของผู้บริโภค(ผู้ป่วย แม่บ้าน คนรักสุขภาพทุกช่วงวัย) จัดทำเมนูสุขภาพ และวางระบบสนับสนุนในส่วนของเวทีกลาง ข้อมูลกลาง กติกา/มาตรฐาน/ธรรมนูญ/นโยบายสาธารณะ งบประมาณ รวมถึงคนกลางอย่างวิสาหกิจเพื่อสังคม/ธุรกิจเพื่อสังคม)

นำกลไกเหล่านี้มาจัดทำแผนงานยุทธศาสตร์ร่วมกัน ขับเคลื่อนตามประเด็นยุทธศาสตร์ โดยมีเครือข่ายเกษตรสุขภาพระดับจังหวัดเป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญ และมีภาคีที่จะมาเสริมหนุนที่มาจากภาคีในพื้นที่เป็นหลัก

๓.สร้างรูปธรรมขับเคลื่อนระดับพื้นที่ จุดเน้นจะอยู่ที่อำเภอ โดยประสานเชื่อมโยงผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้สนับสนุน บูรณาการ ๖ ยุทธศาตร์ของเขตเข้าด้วยกัน โดยมีกลไกกลางทำหน้าที่ประสานหนุนเสริม

ตัวอย่าง การขับเคลื่อนอาหารสุขภาพในรพ.อำเภอหาดใหญ่ ที่วางระบบตลาดเป็น ๒ ส่วนคือ ส่วนครัวของรพ.ที่จะมีเมนูอาหารสุขภาพกำหนดวัตถุดิบ รองรับผลผลิตทั้งมาตรฐาน GAP และ PGS และตลาดกรีนที่เปิดรับผลผลิตที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน PGS โดยมีวิสาหกิจชุมชนทำหน้าที่คนกลางเซ็นสัญญา รวบรวมผลผลิตมาส่ง มีการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดกับเครือข่า่ยเกษตรกรในพื้นที่ หน่วยงานสสจ. รพ. เกษตรและสหกรณ์จังหวัด บ.ประชารัฐฯ ๔PW

โดยมีการพัฒนาแอพพลิเคชั่น Green Smile รองรับการทำงานทั้ง ๓ ระดับ

Relate topics