เตรียมการทำแผนสุขภาพเทศบาลนครสงขลา

  • photo  , 960x719 pixel , 48,415 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 69,823 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 56,765 bytes.

เตรียมทำแผนสุขภาพเทศบาลนครสงขลา


เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง


วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ช่วงเช้า  ผอ.อภิชดา สุคนธปติภาค ผอ.กองสาธารณสุข ชวนมาให้ช่วยทำแผนสุขภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลของเทศบาล ซึ่งต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากเดิม ผนวกกับมีผู้จัดการกองทุนคนใหม่มารับหน้าที่

วันนี้ชวนลูกทีมและผู้รับผิดชอบมาร่วมวางแผน สรุปบทเรียนเบื้องต้นเพื่อให้เข้าใจพื้นฐานการทำงานเดิม และทิศทางใหม่ที่ต้องการ ได้ข้อสรุปก็คือ

๑.จุดแข็งอยู่ที่ฝ่ายบริหารให้อิสระกับคณะทำงาน ส่วนจุดที่จะต้องเสริมเติมก็คือ การทำงานในลักษณะเครือข่าย ลดช่องว่างระหว่าง PCU อสม.และชุมชน รวมไปถึงการทำงานภายในของกองสาธารณสุขกับกองสวัสดิการฯ ประเด็นสำคัญก็คือ ความเป็นชุมชนมีแต่แกนนำ(ที่แต่งตั้งผ่านฝ่ายการเมือง) แต่ไม่มีความเป็นชุมชน โครงการกระจุกตัวอยู่ในบางคนบางกลุ่ม ไม่กระจายไปถึงกลุ่มเป้าหมาย โครงการที่ทำกันขาดคุณภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลง กิจกรรมเป็นลักษณะทำแล้วจบ หรือเป็นงานคัดกรอง ทำซ้ำลอกกันไปมา หรือกันแบบเดิมทุกปี โครงการตัวอย่างที่สปสช.ให้มา ชุมชนก็ปรับกิจกรรมออกจนเหลือเพียงบางอย่างที่พอจะทำได้ อันเกิดจากปัญหาขาดพื้นฐานการทำงานร่วมเชิงระบบ รวมไปถึงกระบวนการทำแผนสุขภาพรวบรัดเกินไป ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมน้อยหรือเป็นเพียงแกนนำเดิม และการพิจารณาโครงการเปิดรับช่วงต้นปีงบประมาณรอบเดียว ทำให้การพิจารณาอนุมัติเป็นไปอย่างเร่งรีบ

๒.จัดตั้งทีมเล็กที่จะเป็น core team มาร่วมร่างตุ๊กตานำเข้าเวทีสรุปบทเรียนงานกองทุนฯ จัดทำข้อมูลพื้นฐานจำพวกข้อมูลครัวเรือน ทุนทางสังคม ต้นแบบที่มี พร้อมพิจารณาแนวทางเดิม หาจุดอ่อน จุดแข็ง mapping ภาคีเครือข่าย(ส่วนภูมิภาค/ท้องถิน/วิชาการ/เอกชน/ประชาสังคม/ชุมชน)ของ ๕ กลุ่มประชากรเป้าหมายหลักที่จะมาเสริมงานของแกนนำ PCU อสม. ตัวแทนชุมชน พร้อมออกแบบการจัดประชุมเพื่อสรุปบทเรียนเดิม

๓.ประสานแกนนำและคณะกรรมการกองทุนฯมาร่วมสรุปบทเรียนเดิม นำเสนอข้อมูลที่ทีมเล็กจัดทำ พร้อมเรียนรู้บทเรียนดูพัฒนาการตั้งแต่แรก หาจุดอ่อนจุดแข็งของกระบวนการทำงานตั้งแต่ก่อนได้มาซึ่งโครงการ การสนับสนุนปฎิบัติการตามโครงการ(งบประมาณ ๕ ล้านบาทต่อปี) และหลังดำเนินการโครงการ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและหาข้อสรุปถึงทิศทางอนาคตร่วมกัน ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

๔.เชิญภาคีเครือข่าย ๕ กลุ่มประชากรเป้าหมาย ๑๔ ประเด็นงาน มาจัดทำแผนสุขภาพตำบล นอกจากเป้าระยะสั้นให้ได้โครงการเข้าสู่การพิจารณา รอบนี้จะเพิ่มงานบริหารปรับกระบวนการจัดทำแผน โดยเน้นงานคุณภาพคู่ขนานให้มีพื้นที่ตัวอย่าง จัดเก็บข้อมูลประชากรรายครัวเรือน(ร่วมกับมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยพยาบาล) นำมาสู่การจัดทำแผนฯอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนที่มากกว่าแกนนำ พัฒนาแกนนำและเครือข่ายของแต่ละยุทธศาสตร์ที่อยู่ในแผนสุขภาพมาร่วมพัฒนาโครงการ (จุดเน้นจะเป็นงานผู้สูงอายุ การจัดการขยะ) จัดตั้งคณะทำงานกลางที่จะมาช่วยยกระดับการทำงาน สร้างตัวแบบและสร้างทีม วางพื้นฐานการทำงานกับชุมชน เครือข่ายใหม่ๆจะมาเสริมจุดแข็งเดิมหรือแกนนำเดิมที่มีอยู่

กขป.เขต ๑๒ และมูลนิธิชุมชนสงขลาจะมาช่วยในด้านงานข้อมูลกลาง โดยจะมีการลงนามความร่วมมือกับภาคีต่างๆอย่างเป็นทางการต่อไป

Relate topics