ความร่วมมือกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นทางสุขภาพ อบจ.พัทลุง

  • photo  , 960x720 pixel , 89,419 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 43,209 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 43,975 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 77,351 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 57,833 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 113,472 bytes.

"ความร่วมมือกับกองทุนฟื้นฟูฯอบจ.พัทลุง"

วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๒  นายก อบจ.พัทลุง ในฐานะกขป.โดยการประสานของเลขานายกนัดคณะอนุกรรมการประกอบด้วย ปลัดอบจ. ผอ.กองแผนและงบประมาณ หน.สำนักปลัด นักวิเคราะห์นโยบายและแผน เนติกร เจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจังหวัดพัทลุง ร่วมหารือความร่วมมือการทำงานกับกขป.เขต ๑๒ ประเด็นการดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคม(คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยรอการฟื้นฟู) โดยมีสมาคมอาสาสร้างสุข มูลนิธิชุมชนสงขลา สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ร่วมประชุม

กองทุนฟื้นฟูฯอบจ.พัทลุงเป็นพื้นที่แรกของเขต ๑๒ ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๕๖มีความเข้มแข็งที่น่าพอใจ แต่ก็ต้องการยกระดับการทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างการทำงาน ต้องการจัดตั้งกองส่งเสริมคุณภาพชีวิตและมีบุคลากรเฉพาะที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ขณะปัจจุบันคนรับผิดชอบกระจายไปคนละกอง

แนะนำการใช้ระบบฐานข้อมูล ที่มีศปจ.พัทลุงนำข้อมูลเข้าระบบจำนวนหนึ่งแล้ว รวมไปถึงพชอ.ควนขนุนที่นำข้อมูลผู้สูงอายุราว๔ พันคนเข้าระบบไปแล้ว มีข้อสรุปนัดหมายอนุกรรมการและภาคีที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมเพื่อกำหนดแนวทางดำเนินงาน โดยมีเป้าหมายสำคัญ

๑)จัดการฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายให้เป็นฐานเดียวกัน โดยประสานความร่วมมือกับกขป.เขต ๑๒ นำ Platform iMed@home และ www.ข้อมูลชุมชน.com ที่มูลนิธิชุมชนสงขลาดูแลอยู่มาสนับสนุนการทำงาน เริ่มจากนำ data ที่แต่ละองค์กรมีมาเข้าระบบเดียวกัน

๒) กำหนดแนวทางการทำงานร่วมบนฐานอำนาจหน้าที่ของตน พร้อม mapping ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งระดับจังหวัดและระดับเขตมาร่วมงาน ได้แก่ พชอ. พอช. สมาคมสวัสดิการฯ ภาคเอกชน ภาควิชาการ พัฒนาให้เกิดกลไกกลางระดับจังหวัด โดยมีอนุกองทุนฯ ทำงานร่วมกับเครือข่ายและอนุกรรมการกขป.เขต๑๒ นำข้อมูลที่มีมากำหนดยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด ทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน

๓) กองทุนฟื้นฟูต้องการปรับระบบงาน เน้นงานระดับจังหวัดในบางด้านมากขึ้น เช่น ศูนย์ซ่อมกายอุปกรณ์/ธนาคารเตียง การปรับสภาพแวดล้อม/ปรับสภาพบ้าน เชื่อมโยงกับเครือข่ายระดับต่างๆ รวมไปถึงการให้มีศูนย์สร้างสุขระดับตำบล ที่สามารถบูรณาการกับภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่

แนวคิดสำคัญก็คือ ไม่เพิ่มภาระงาน หรือเพิ่มเจ้าหน้าที่ แต่ปรับบทบาทมาประสานความร่วมมือ ดึงหน่วยงานและผู้ที่รับผิดชอบงานแต่ละด้านที่มีอยู่แล้วมาทำงานใน platform เดียวกัน โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชากรเป้าหมายเป็นตัวตั้ง

นัดครั้งต่อไป กขป.เขต ๑๒ เป็นเจ้าภาพร่วมกับกองทุนฯหารือความร่วมมือด้วยกัน ๑๔ มกราคา ๒๕๖๓ ณ อบจ.พัทลุง

เรียนรู้เติมเต็มต่อยอดขยายผล

แนวดิ่งถักทอแนวราบ

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics