บทเรียน-สู่ก้าวย่างการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา

  • photo  , 960x719 pixel , 78,993 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 37,527 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 40,029 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 83,600 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 56,309 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 45,309 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 85,170 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 44,141 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 76,666 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 57,657 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 41,519 bytes.

"บทเรียน-สู่ก้าวย่างการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา"

วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๓ เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา

ก้าวที่สองของการพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพทน.สงขลา นัดหมายคณะอนุกรรมการ/คณะกรรมการ และเครือข่าย มาร่วมกันย้อนมองตัวเองทั้งจุดเด่นและจุดที่ต้องเติมเต็มในฐานะที่ดำเนินการมาจะเข้าสู่ปีที่ ๑๒ ก่อนที่จะกำหนดทิศทางปี ๒๕๖๓

มีข้อสรุปสำคัญๆ

๑.รองนายกฯที่ดูแลให้นโยบายในส่วนการทำงานที่จะต้องมีส่วนร่วมกับเครือข่ายและให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย กองทุนที่นี่มีอนุกรรมการ ๓ ฝ่าย คณะทำงาน ๒ ฝ่าย ทำงานกับ ๕๕ ชุมชน ประชากร ๖๒,๖๗๘ คน เป็นผู้สูงอายุ ๑๐,๘๒๑ คน มีงบเฉลี่ยประมาณ ๕ ล้านบาทต่อปี

๒.ย้อนมองจุดเด่นของการทำงานก่อนอนุมัติโครงการ ผู้เข้าร่วมมองว่ามีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ระเบียดรัดกุม อนุมัติรวดเร็ว มีการกลั่นกรอง ประธานกรรมการเปิดกว้าง ไม่ชี้นำ มี PCU ๗ แห่งเป็นพี่เลี้ยง

๓.จุดที่ต้องเติมเต็ม ให้มีแผนสุขภาพตามกลุ่มวัย แผนสุขภาพชุมชน มีการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ปฐมนิเทศคณะกรรมการเพื่อให้เข้าใจแนวคิด แนวทาง ระเบียบการเงิน มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ไปถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น การพิจารณาโครงการให้เพิ่มคุณภาพ มีการปรับปรุงแก้ไข ทำความเข้่าใจก่อนอนุมัติ ให้ความสำคัญกับงานข้อมูล ชี้แจงระเบียบการเงินกรณีการเบิกจ่ายได้ไม่ได้

๔.หลังอนุมัติโครงการ พบกิจกรรมโครงการเด่นๆ อาทิ โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยใส โครงการนมเด็ก การดูแลผู้ป่วย-ผู้ป่วยติดเตียง การควบคุมโรคไม่ติดต่อในชุมชนและโรงเรียน การให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง ส่วนที่จะต้องเติมเต็มก็คือการติดตามประเมินผล การทำความเข้าใจระเบียบ ลดกิจกรรมที่ซ้ำซ้อน ทำซ้ำ

๕.แนวทางดำเนินการต่อไป

๕.๑ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการอนุมัติโครงการให้ยืดหยุ่น ครอบคลุมมากขึ้น มีการกระจายชุมชนเป็น ๔ เขตพิจารณาอนุมัติพร้อมให้ผู้ขอการสนับสนุนมานำเสนอ เปิดรับโครงการทุก ๓ เดือน งบสนับสนุนภาครัฐเป็นไปตามปีงบประมาณ ส่วนชุมชนจะมีการสนับสนุนอย่างยืดหยุ่นไปตามความเป็นจริง

๕.๒ เพิ่มกลุ่มเป้าหมายในส่วนเด็กเล็ก อาหารเช้าสำหรับเด็ก มีจุดเน้นที่งานผู้สูงอายุ

๕.๓ ให้น้ำหนักการสนับสนุนเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่

๑)สนับสนุนตามแนวทางเดิม ๕๐% เพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ

๒) พัฒนางานเชิงคุณภาพให้ครบวงจร โดยเน้นที่ชุมชนตัวอย่าง จัดทำแผนสุขภาพชุมชนโดยมีชุมชนนำร่องทั้ง ๔ เขต มีการเก็บข้อมูลทุกกลุ่มเป้าหมายรายบุคคล พัฒนาระบบทีมและร่วมกับเครือข่ายภายนอกที่จะมาหนุนช่วย ทั้งส่วนภูมิภาค วิชาการ เอกชน ประชาสังคม จัดทำแผนงานโครงการอย่างมีส่วนร่วมรองรับ

๓)จัดทำแผนสุขภาพตามกลุ่มเป้าหมาย เน้นที่กลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ มีโครงการเชิงนวตกรรมดำเนินการในภาพรวม

๕.๔ นัดหมายครั้งต่อไป เดือนกุมภาพันธ์  ชวนภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกมาร่วมจัดทำแผนสุขภาพกองทุนฯ สานต่องานเดิมและสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกันต่อไป และอนุมัติโครงการในส่วนของหน่วยงานภาครัฐที่มีโครงการนำเสนอเข้ามาแล้ว

จุดใหญ่ใจความอยู่ที่การยกระดับจากงานเชิงปริมาณไปสู่คุณภาพในบริบทงานพื้นที่ของความเป็นเมือง วางรากฐานของชุมชนด้วยการสร้างความเป็นชุมชนก่อนที่จะหาคนหรือทีมงานมารับโครงการ มิเช่นนั้นจะติด "คอขวด" ที่กระบวนการระหว่างทาง พร้อมกับหามิตรจากภาคส่วนต่างๆที่อยู่ในพื้นที่และนอกพื้นที่ มาเป็น "ตัวช่วย" ที่จะเข้ามาทำงานร่วม มิให้เป็นภาระของบุคคลหรือแกนนำจนเกินไป และร่วมกันสร้างสิ่งใหม่ๆ อาทิ การทำแผนสุขภาพชุมชนคู่กับการตั้งกองทุนสุขภาพชุมชนและธรรมนูญชุมชน ระดมทุนทั้งเงิน ของใช้มือสอง อาศัยกิจกรรมร่วมกันสร้างความเป็นชุมชนอย่าให้มีแต่ชื่อ

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics