ก้าวต่อไปเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ตำบลบ่อยางเพื่อคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบาง

  • photo  , 960x540 pixel , 64,622 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 67,861 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 63,541 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 53,626 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 57,238 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 43,468 bytes.

"ก้าวต่อไปเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ตำบลบ่อยาง"

วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๓  นัดคณะทำงานเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ตำบลบ่อยาง เตรียมจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกเครือข่ายฯ วางจังหวะก้าวการทำงานต่อไป

๑.ทบทวนเป้าหมาย แนวทาง วิธีการเก็บข้อมูลสมาชิกที่มีความยากลำบากและเปราะบางในกลุ่มเครือข่าย สร้างความเข้าใจให้ตรงกัน ว่าต้องการให้สมาชิกได้เห็นความทุกข์ยากของสมาชิกด้วยกัน มองเห็นภาพรวมของปัญหา นำมาสู่การจำแนก วิเคราะห์การแก้ไข ข้อมูลรายบุคคลที่ได้จะนำเข้าแอพฯiMed@home เพื่อให้สามารถประมวลผล ติดตามผลได้

๒.จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกเครือข่าย จำแนกประเภทความเปราะบาง จำแนกปัญหาที่สามารถแก้ได้ด้วยตนเอง ปัญหาที่จะต้องประสานภาคีเครือข่าย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันดำเนินการ โดยการผลักดันเชิงนโยบายต่อไป โดยมีศูนย์บ่อยางพึ่งพาตนเอง เป็นกลไกประสานงาน

๓.พัฒนาการทำงานเป็นระบบทีมมากกว่าเน้นตัวบุคคล การเก็บข้อมูลนำไปสู่การขยายแกนนำ ข้อมูลที่ได้ในส่วนที่เร่งด่วนจะนำมาสู่การหารือร่วมกัน เกิดการทำงานข้ามชุมชน ข้ามพื้นที่ แกนนำจะได้มีทีมร่วมคิด ร่วมทำ

๔.ทิศทางที่จะดำเนินการต่อไป

๑) จัดระบบข้อมูลรายชุมชน นำข้อมูลที่ได้มานำมาจัดทำแผนฯ ในวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ คณะทำงานข้อมูลนัดดูภาพรวมในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์

๒)ห้องเรียนชุมชน จะแยกเป็น ๒ ส่วน คือ

๑.ห้องเรียนสำหรับเด็กเล็กที่มีราว ๖๐ คน จะเริ่มเปิดห้องเรียนในวันที่ ๑ กพ.นี้ โดยมีเครือข่ายและภาคีความร่วมมือที่เป็นจิตอาสามาร่วมทำกิจกรรมกับเด็กๆ เน้นความสนุกสนาน เปิดพื้นที่การอยู่ร่วมกันของเด็กๆคละวัย ค้นหาแกนนำเด็กๆที่จะมาร่วมกันขยายผลกิจกรรม วันแรกเน้นเรื่องดนตรี ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ชุมชนจะทำกระเป๋าจากเสื้อผ้ามือสองมาให้เด็กๆใส่สมุดปากกาที่จะนำเงินจากการบริจาคของคุณภูเบศมาดำเนินการจัดซื้อ แนวโน้มจะเปิดห้องเรียนทางการควบคู่กันไปด้วย เพราะมีเด็กๆที่ออกจากระบบการเรียนอีกจำนวนหนึ่ง จะได้ประสานกศน.และสถาบันการศึกษามาทำงานร่วมกัน

๒.ห้องเรียนชุมชน สำหรับผู้ใหญ่ เพื่อสร้างความเป็นชุมชน เน้นกิจกรรมลดรายจ่าย เสริมรายได้ ขยายสมาชิกและคณะทำงาน

๓)ยกระดับเรื่องปากท้องและรายได้ ทดลองทำธุรกิจเพื่อสังคมของชุมชน ด้วยการต่อยอดผลิตภัณฑ์ข้าวสวยนึ่ง เพื่อแก้ปัญหาสมาชิกที่ต้องการอาหารราคาถูก หรือขัดสนรายได้ ข้าวสวยนึ่งราคาต่อถ้วยจะหาซื้อได้ง่ายกว่าหุงเป็นหม้อ โดยแหลมสนอ่อนจะเป็นแหล่งผลิต สมาชิกของเครือข่ายที่ต้องการรายได้จะมาเป็นผู้ช่วยผลิต หรือจำหน่าย ก่อนที่จะกระจายการผลิตไปยังชุมชนต่างๆ กำไรต่อถ้วยจะนำมาเข้าสู่กองกลาง สร้างธุรกิจร่วมกัน และหารือยกระดับเป็นสหกรณ์บริการ หารือกับเคแอนด์เค บ.ประชารัฐฯ เพื่อหนุนช่วยผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในสนนราคาที่ร่วมมือกันได้ แบ่งปันผลกำไรไปสู่สมาชิก วางฐานการพัฒนาชุมชนระยะยาว

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics