เครือข่ายตำบลน่าอยู่สงขลาเดินหน้าขับเคลื่อนงานดูแลกลุ่มเปราะบาง

  • photo  , 1000x563 pixel , 94,832 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 83,763 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 58,008 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 55,009 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 56,611 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 73,707 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 63,863 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 71,053 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 77,850 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 94,558 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 94,331 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 60,670 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 70,952 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 87,970 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 189,155 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 104,328 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 169,593 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 148,991 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 161,855 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 162,347 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 146,629 bytes.

วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๒ นัดเครือข่ายตำบลบางส่วนที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนงานในสงขลา มีประเด็นหารือสำคัญดังนี้

๑.กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบูรณาการสร้างสุขภาพอนามัยภาคประชาชนจังหวัดสงขลา โดยมีการสนับสนุนงบประมาณร่วมดำเนินการจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาตำบลละ ๔ หมื่นบาท เพื่อขับเคลื่อนงานระดับตำบล เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การจัดการสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นสุข โดยต่อยอดจากกิจกรรมงานเดิมคือ ธรรมนูญตำบลน่าอยู่ที่ดำเนินการอยู่

๒. พื้นที่ดำเนินงานที่มาวันนี้ ประกอบด้วย ต.ท่าชะมวง ต.บ่อยาง ต.แค ต.ปากรอ ต.เกาะใหญ่ ต.ควนลัง ต.ท่าประดู่ ต.โคกม่วง ต.คูหา และเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์

๓.ข้อค้นพบจากการแลกเปลี่ยน

-วิกฤตคือโอกาส ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่(ชุมชนแตกแยกต่างคนต่างอยู่ ขยะ คนเปราะบางฯลฯ)หรือบุคคลที่เป็นแกนนำ(สุขภาพ)จะเปิดโอกาสให้กับแกนนำชุมชนร่วมกับสมาชิกในชุมชนสร้างพลังและเป็นแรงขับสำคัญนำไปสู่การพัฒนากลไกค้นหาแนวทางแก้ปัญหาและก่อให้เกิดความรู้จากประสบการณ์ตรงในการทำงาน

-แกนนำในพื้นที่สามารถประสานความร่วมมือจากเครือข่ายภายนอก(สถาบันวิชาการ เอกชน)มาร่วมลดช่องว่างการทำงานที่เต็มไปด้วยปัญหา ไม่สามารถสานพลังภายในจับมือรวมกันเพียงลำพัง แต่การทำงานร่วมกับภาคีต้องมีการต่อรองเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชน(ต.ปากรอ ต.แม่ทอม) ขณะเดียวกัน ความเข้มแข็งของพื้นที่จะเกิดขึ้นได้ก็ควรมีการทำงานร่วมกันอย่างเท่าเทียม มีรูปแบบเป็นคณะทำงานจากหลายฝ่ายร่วมมือกัน โดยเฉพาะมีแกนนำชุมชนที่จะเป็นขาหลักในการทำงาน จะลดทอนปัญหาขาดความต่อเนื่องหรือผูกติดงานไว้กับตัวบุคคล

-เทคนิคการทำงานที่ค้นพบ เช่น อาศัยบริบทและรากฐานความสัมพันธ์บนฐานวิถีของชุมชนไม่ว่าจะเป็นชาติพันธ์ ภาษา ศาสนาใด(ต.แค-วิถีพุทธ/มุสลิม ทม.ปาดังเบซาร์-พุทธ/มุสลิม/จีน) ผสานทุนที่มีนำมาสู่การแก้ปัญหาร่วมกัน เริ่มการทำงานจากเรื่องเล็กๆ ค่อยๆต่อยอดขยายผลเชื่อมโยงไปถึงเรื่องอื่น มีการสื่อสารสาธารณะอย่างกว้างขวาง เริ่มต้นด้วยกิจกรรมความสัมพันธ์ที่ทำได้ง่ายๆ ไม่นำปัญหามาเป็นตัวตั้ง บางพื้นที่ใช้วิธีกินน้ำชาร่วมกัน กินข้าวร่วมกัน(กรณีต.แค ต.บ่อยาง) นำไปสู่การกำหนดทิศทางการพัฒนาที่เป็นภาพฝันร่วม มองข้ามความขัดแย้งหรือความเชื่อที่แตกต่างของบุคคล รูปแบบการสร้างความยั่งยืนในการทำงาน มีการจัดตั้งกองทุนหรืออุปกรณ์หมุนเวียน(ต.บ่อยาง ต.ปาดังเบซาร์) การระดมทุนจากของใช้มือสองหรือขยะ(ต.บ่อยาง ต.ท่าประดู่ ต.โคกม่วง ต.ท่าชะมวง) และเปลี่ยนวิธีคิด “จากคนของฉันไปสู่คนของเรา”(ต.คูหา) ทำให้คนในชุมชนดูแลกันมากขึ้น

-การทำงานระดับท้องถิ่นควรใช้พื้นที่และประชากรเป้าหมายเป็นฐานยกระดับการทำงานในเชิงลึกมากขึ้น สร้างฐานข้อมูลประชากรรายบุคคลแบบครบวงจร ทยอยทำไปตามกำลังและทำให้ครอบคลุม

-การแก้ปัญหาความเปราะบาง ในส่วนกลไกระดับตำบลจำเป็นจะต้องมีการบูรณาการคณะทำงานที่แยกส่วนกันมาทำงานร่วมกันจนเกิดการรับรู้และเข้าใจตรงกัน นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบจนเกิดความเชื่อมั่นและสร้างความเป็นธรรมในการช่วยเหลือ(ต.คูหา ต.บ่อยาง) ในส่วนการแก้ปัญหาจำเป็นต้องแก้ตัดวงจรปัญหาอันเกิดจากความรับรู้ประสบการณ์ที่ถูกถ่ายทอดมาจากครอบครัวเป็นหลัก ปรับพฤติกรรมจากผิดมาเป็นถูก ไม่ส่งต่อความรู้ที่ผิดพลาดไปให้กันและกันไปไม่สิ้นสุด โดยมีเครือข่ายเข้ามาร่วมประคับประคอง เป็นเสมือนพี่เลี้ยงร่วมดำเนินการ โดยเฉพาะความยากจนควรเริ่มจากการสร้างระเบียบวินัยการใช้เงิน (เช่น มีกติการ่วมกันว่าต้องมีการทำบันทึกรายรับรายจ่ายครัวเรือน เพื่อเป็นเงื่อนไขหนึ่งของการพิจารณาในการกู้ยืม) ก่อนที่จะมาถึงการส่งเสริมอาชีพ รายได้ การแก้ปัญหาความเปราะบางที่ทำอยู่ตอนนี้เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ กรณีไม่มีบัตรประชาชน ควรจัดเวทีประชาคมในพื้นที่รับรองคนที่ไม่มีบัตรประชาชนส่งต่อให้กับฝ่ายปกครองดำเนินการ

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics