อบต.คูหากับภารกิจร่วมดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคม

  • photo  , 960x720 pixel , 93,892 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 54,265 bytes.
  • photo  , 720x479 pixel , 55,494 bytes.
  • photo  , 720x479 pixel , 37,116 bytes.
  • photo  , 720x479 pixel , 32,195 bytes.
  • photo  , 720x479 pixel , 44,601 bytes.
  • photo  , 959x720 pixel , 127,066 bytes.
  • photo  , 959x720 pixel , 161,532 bytes.
  • photo  , 1833x892 pixel , 186,878 bytes.
  • photo  , 1836x892 pixel , 147,374 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 50,782 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 51,190 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 95,035 bytes.

"อบต.คูหา"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

อบต.คูหา อำเภอสะบ้าย้อย เป็นอีกพื้นที่ดำเนินการดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคมที่มีทั้งคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน กำลังจะเป็นตำบลแม่ข่ายในการสร้างสุขภาวะชุมชนอีกแห่งของสงขลา

กลุ่มเด็กที่ถูกมองว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงด้านความมั่นคง แต่จริงๆแล้วพวกเขาต้องการพื้นที่แสดงออก หลังจากการศึกษาดูงานที่ อบต.นาทอน กลับมาอบต.เริ่มทำงานกับกลุ่มเยาวชน พวกเขาอยากสร้างสนามฟุตบอลในร่ม คิดถึงขนาดหาเงินซื้อที่ดินเอง โดยรับจ้างเจ้าของสวนถางสวน เลี้ยงน้ำชา จึงเกิดมีกิจกรรรมกินน้ำชาทั้งหมู่บ้านร่วมด้วยช่วยกัน พวกเขาขยายไปสู่การวางแผนการจัดการขยะ จัดตั้งให้มีสภาเด็กที่จะทำเรื่องชุมชนขยะฐานศูนย์

จุดเด่นของพื้นที่นี้คือ นายกอบต.ค่อนข้างให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับชุมชนค่อนข้างมาก เป็นตำบลแม่ข่ายของ สสส.สำนัก ๓ ในเรื่องของชุมชนน่าอยู่ และเป็นพื้นที่ดำเนินการศูนย์สร้างสุขชุมชนร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจังหวัด และ node flagship สสส.จัดเก็บข้อมูลรายบุคคลผ่าน iMed@home สิ่งที่ชุมชนได้เรียนรู้จากการเก็บข้อมูลของชุมชนคูหาคือ เป็นชุมชนคนเคยมี(ชุมชนคนเคยรวย) แต่ปัจจุบันเริ่มยากจน บางครอบครัวแม้แต่ไฟฟ้ายังไม่มีใช้ ชุมชนเข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น การเข้าถึงยารักษาโรคเอดส์ ผู้ป่วยตาบอดที่ไม่เคยรู้ว่ามีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพ ชุมชนเองดำเนินกิจกรรมธรรมนูญ ผ่านวิธีคิด “จากคนของฉันไปสู่คนของเรา” ทำให้คนในชุมชนดูแลกันมากขึ้น ถือว่าเป็นตำบลต้นแบบที่ดำเนินการครอบคลุมทุกเรื่องและค่อนข้างมีความเข้มข้นมาก

กระบวนการในการทำงาน เก็บข้อมูลกลุ่มเปราะบางทุกกลุ่ม และคืนข้อมูลในเวที ซึ่งมองเป้าหมายตรงปัจจุบันว่าคุณภาพชีวิตคนเปราะบางเหล่านั้นเป็นอย่างไร ทำความเข้าใจและลงคุยกับผู้ช่วย ผู้ใหญ่บ้าน ทุกคนช่วยสอบทานผู้เปราะบางทีละคน และให้เซ็นต์รับทราบข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลแล้วนำมาทำ care plan เป็นแผนรายบุคคลในการแก้ปัญหาแล้วจัดกลุ่มระดับตำบล เช่น เรื่องที่อยู่อาศัย สวัสดิการ สร้างอาชีพ เตรียมผู้ดูแลคนเปราะบาง การเก็บข้อมูลอย่างเข้มข้นและทุกภาคีเครือข่ายต้องยอมรับข้อมูลเดียวกัน เป็นการทำงานที่ได้รับการยอมรับและใช้ประโยชน์จากกฎหมายของศูนย์ช่วยเหลือประชาชนของ อปท. และเชิญนายอำเภอ ปลัดปกครอง มาดูและนำเสนอ ให้เกิดการยอมรับ เป็นกลไกบูรณาการ เป็นกลไกเดียวกัน ปัจจุบันสามารถเป็นพื้นที่ศึกษาดูงานเพื่อถ่ายทอดการเรียนรู้ให้กับพื้นที่อื่นได้

Relate topics