เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ตำบลบ่อยาง

  • photo  , 1000x667 pixel , 200,481 bytes.
  • photo  , 640x959 pixel , 104,880 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 246,295 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 216,446 bytes.
  • photo  , 960x641 pixel , 103,020 bytes.
  • photo  , 720x959 pixel , 143,427 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 108,997 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 138,438 bytes.
  • photo  , 720x959 pixel , 94,157 bytes.
  • photo  , 720x959 pixel , 125,537 bytes.
  • photo  , 720x959 pixel , 107,157 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 82,101 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 108,482 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 100,014 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 111,731 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 134,604 bytes.
  • photo  , 1000x486 pixel , 111,939 bytes.
  • photo  , 1000x486 pixel , 71,525 bytes.

"เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ตำบลบ่อยาง"

พี่อ้น บุณย์บังอร เล่าว่าเครือข่ายนี้ต่อยอดจากงานของชุมชนแหลมสนอ่อนที่มีปัญหาในเรื่องข้อพิพาทเรื่องที่ดิน เนื่องจากชุมชนอาศัยอยู่ในที่ราชพัสดุ จึงมีการรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อนำเงินมาช่วยเหลือกันในกลุ่ม และเข้าสู่โครงการบ้านมั่นคง สมาชิกของกลุ่มราว ๓๐ คนและเครือข่ายชุมชนมีการรวมตัวกัน มีนัดหมายทุกวันที่ ๙ ของทุกเดือนเป็นวันที่สมาชิกมาส่งเงินสัจจะและนั่งคุยกัน หิ้วปิ่นโตมาทานอาหารร่วมกันเป็นกติการ่วมกันของชุมชน กินอาหารเสร็จก็ทำสวนผักร่วมกัน พร้อมเปิดห้องเรียนชุมชนมา ๒ ปีแล้ว

ใช้พื้นที่ข้างบ้านและในป่าสน มีวิทยากรในชุมชนให้คำแนะนำคือ ในเรื่องของการปลูกตำลึง นำตำลึงมาเรียงเป็นเถาว์ทำเป็นรั้วที่ค่อนข้างสวยงาม เกิดเป็นจุดเช็คอินของชุมชนแหลมสนอ่อน เปิดตัวเอง ร่วมกับสมาคมอาสาสร้างสุขรับบริจาคเสื้อผ้ามือสองมาคัดแยกส่งต่อและจำหน่ายสร้างรายได้ จัดงานเลี้ยงน้ำชาระดมทุนจัดตั้งกองทุนกลาง ก่อนขยายพื้นที่ไปยังตำบลบ่อยาง และตำบลใกล้เคียง และมีกติกาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พี่อ้นเล่าว่ากิจกรรมที่จุดเริ่มต้นความสนใจคือ การเก็บข้อมูลคนเปราะบาง ต่างชุมชนเมื่อรู้เรื่องนี้จึงมาขอความช่วยเหลือ เมื่อเห็นว่ามีคนใส่ใจความทุกข์ของคนอื่น และมีกิจกรรมอื่นๆที่เสริมกำลังใจให้กัน ทำให้เกิดพลัง สมาชิกในชุมชนเองได้เห็นความทุกข์ยากของคนอื่นทำให้ลดความรู้สึกอันย่ำแย่ของตัวเองลง

ปัจจุบันขยายไปยังชุมชนหัวป้อม ชุมชนกุโบร์ พาณิชย์สำโรง ชุมชนหลังอาชีวะ ในนามเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ตำบลเป็นการเชื่อมโยงการทำงาน ทำให้การทำงานง่ายขึ้น และมีการเพิ่มกติกาหรือธรรมนูญของเครือข่าย เช่น ลดละเลิกการเล่นพนัน การมีกิจกรรมห้องเรียนชุมชน ห้องเรียนเด็กเล็ก ลดรายจ่ายในครัวเรือน และสร้างช่องทางสร้างรายได้เรื่องปากท้องที่เป็นปัญหาหลัก ได้มีการเชิญผู้จัดการเอสเอ็มอี แลกเปลี่ยนให้ฟัง ซึ่งชุมชนให้ความสนใจกันเยอะ และมีกติการ่วมกันว่าต้องมีการทำบันทึกรายรับรายจ่ายครัวเรือน และทุกวันที่ ๙ จะต้องถือสมุดบันทึกรายรับรายจ่ายระดับครัวเรือน เพื่อเป็นเงื่อนไขหนึ่งของการพิจารณาในการกู้ยืม และให้เห็นความพยายามในการปรับพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่ม

นอกจากนี้มีการทำงานเพื่อแก้ปัญหาความยากจนให้กับคนในพื้นที่ เช่น อาชีพไม่ชัดเจน รายได้ไม่แน่นอน จึงได้มีการส่งเสริมอาชีพไอติม ให้คนเปราะบางเอารถพ่วงไปขายไอติม ซึ่งสามารถสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนเปราะบาง จนพ้นภาวะความเปราะบางได้

พี่อ้นเล่าอีกว่าข้อค้นพบก็คือ การเปิดโอกาสให้คนเปราะบางได้มีโอกาสในการช่วยเหลือตัวเอง ควบคู่กับตัดวงจรปัญหาและพฤติกรรมผิดๆที่ถูกส่งทอดไปสู่เด็กเล็กจากครอบครัว ปรับพฤติกรรมใหม่ การมีเครือข่ายจะช่วยทำให้กลุ่มเปราะบางรู้สึกมีหลังอิงพักพิง และได้ทำกิจกรรมขยะแลกข้าวเชื่อมโยงไปยังกลุ่มเปราะบางให้ถึงอาหาร โดยนำข้าวนึ่งไปแจกคนในชุมชน และได้ข้อมูลคนที่กล้าแสดงตัวว่าเป็นคนลำบาก ทำให้ง่ายต่อการเก็บข้อมูล ปัจจุบันมีแนวคิดขายข้าวนี่งเป็นถ้วยให้กับคนเปราะบางได้กินข้าวในราคาถูก สิ่งที่จะทำร่วมกันคือ ทำเป็นธุรกิจเพื่อสังคม ตั้งเป้าไว้ ขายให้ได้วันละ ๑๐,๐๐๐ ถ้วย จากการทำงานมาระยะหนึ่งสิ่งที่แกนนำค้นพบคือ วินัยในการบริหารจัดการตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชน ตอนนี้กำลังหารือร่วมกับสหกรณ์จังหวัด และเครือข่าย ในเรื่องการวางแผนเรื่องร้านค้าของชุมชน

ชาคริต โภชะเรือง เล่าเรื่อง

Relate topics