ขับเคลื่อนสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืน

  • photo  , 960x720 pixel , 69,600 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 44,134 bytes.
  • photo  , 960x598 pixel , 42,862 bytes.
  • photo  , 960x588 pixel , 58,358 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 73,639 bytes.

วันที่ 3 ก.พ.63 ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีการประชุมคณะทำงานการขับเคลื่อนสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืน ครั้งที่ 1/63 ในประเด็นการพิจารณาการจัดทำข้อเสนอมาตรการเชิงนโยบายรองรับสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืน ประกอบการจัดทำ (ร่าง) กฎหมายสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืน จำนวน 4 มิติ โดยมีนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เป็นประธานคณะทำงาน พร้อมด้วยผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พม. มท. ก.การคลัง ก.แรงงาน สธ. ศธ. สภาพัฒน์ สช. จุฬา มธ. ฯลฯ

ในส่วนของ (ร่าง) ข้อเสนอแผนการสร้างระบบรองรับสังคมคนไทยอายุยืน : มิติสุขภาพที่นำเสนอที่ประชุมในวันนี้ สช.ในฐานะเลขาฯ ประเด็นนี้ มีการหารือวงเล็กร่วมกับผู้บริหารจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สธ. พม. สสส. สปสช. สช. ฯลฯ โดยมีข้อเสนอมาตรการและแนวทาง(เพิ่มเติม)เพื่อรองรับสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืน ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญๆ เช่น

1) การสนับสนุนให้เกิดศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล เพื่อทำหน้าที่เป็น Operation unit บูรณาการทรัพยากรด้านต่างๆ ทั้ง งบประมาณ บุคลากร และภารกิจที่สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกมิติ ครอบคลุมทุกพื้นที่ จากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการระดมสรรพกำลังและทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนพื้นที่ เช่น บ้าน ศาสนสถาน สถานศึกษาทุกระดับ หน่วยบริการสุขภาพ เป็นต้น

2)การสร้างและใช้ความรู้สู่มาตรการทางการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนสุขภาพของประชาชน

3) การปรับระบบการทำงานของผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) ในระยะยาวผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) หรืออาสาบริบาลท้องถิ่น ที่เป็นวิชาชีพได้รับการพัฒนาให้ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับดูแลของ Care Manager หรือองค์กรวิชาชีพนั้น ๆ

4) การดูแลและสนับสนุนการทำงานของ informal Care Giver ด้วยมาตรการ ส่งเสริม สนับสนุนการฝึกอบรม ความรู้และทักษะ และสร้างจิตสำนึกในการดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ให้แก่ญาติและบุคลากรกลุ่มที่ไม่ใช่วิชาชีพ เช่น อาสาสมัคร สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น ส่วนผู้ดูแลที่ได้รับการว่าจ้างได้รับการพัฒนาให้ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรวิชาชีพนั้นๆ ตัวอย่างเช่น การให้พนักงานและลูกจ้างในสังกัดสามารถจัดสรรเวลาดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้ การจัดหาพื้นที่ในที่ทำงานหรือสถานประกอบการและดำเนินการให้มีการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในครอบครัวของพนักงานลูกจ้าง การทำงานผ่านระบบสารสนเทศที่ทำให้พนักงานและลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านพร้อมกับการดูแลผู้สูงอายุไปด้วยกันได้ เป็นต้น

5) การจัดการให้ประชาชนได้รับการบริการ Palliative Care ให้ครอบคุลมทั้ง 3 กองทุน เพราะชุดสิทธิประโยชน์ในเรื่องการดูแลแบบประคับประคองของแต่ละสิทธิ คือ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มีความเหลื่อมล้ำและแตกต่างกัน

6) การพัฒนาและกำหนดมาตรฐาน และการควบคุมการดำเนินการของ Hospice สถานบริบาลผู้สูงอายุ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ และธุรกิจส่ง Caregiver ไปดูแลที่บ้าน เนื่องจากปัจจุบันมีการเปิดให้บริการ Hospice และ Nursing home ขึ้นอย่างแพร่หลายในประเทศไทย และเมื่อไปพิจารณากฎหมายและนโยบายของรัฐพบว่าไม่มีกฎหมายและนโยบายของรัฐในการกำหนดมาตรฐานและการควบคุมคุณภาพของ Hospice และ Nursing home โดยตรง มีเพียงพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 เท่านั้นที่ควบคุมคุณภาพเละมาตรฐานของสถานพยาบาลเอกชน โดยกฎหมายดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนสถานที่ที่มีการให้บริการสาธารณสุขโดยผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขเป็นสถานพยาบาล

หลังจากนี้ คณะทำงานฯ จะนำร่างมาตรการทั้ง 4 มิติ ไปเพิ่มเติมรายละเอียดให้มีความคมชัด ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ก่อนที่จะนำเสนอคณะทำงานย่อยที่มีองค์ประกอบจากกฤษฎีกา เพื่อวางแนวทางการเขียนในลักษณะที่เป็นตัวบทกฎหมายในระยะต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สช.สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

Relate topics