กลุ่มชาติพันธุ์โอรังอัสลีและงานแม่และเด็ก

  • photo  , 2048x1152 pixel , 199,359 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 97,712 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 68,791 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 67,234 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 69,545 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 65,167 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 58,210 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 46,792 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 33,930 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 169,418 bytes.
  • photo  , 768x432 pixel , 48,745 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 136,736 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 201,357 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 149,110 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 169,322 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 194,198 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 204,690 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 151,860 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 140,733 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 135,627 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 94,392 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 179,910 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 147,378 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 90,761 bytes.
  • photo  , 960x775 pixel , 96,286 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 735,205 bytes.

"กลุ่มชาติพันธุ์โอรังอัสลีและงานแม่และเด็ก"

วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓  กขป.เขต ๑๒ ร่วมกับสปสช.เขต ๑๒ ลงเยี่ยมทีมสาธารณสุขของคุณประเวศ หมีดเส็น ศบ.สต. เพื่อหารือความร่วมมือ โดยมีทีมงานศอ.บต.(กปค.) ศบ.สต. สปสช.เขต ๑๒ และทีมกขป.เขต ๑๒ จำนวน ๒๐ ชีวิตร่วมประชุม ณ สำนักงานศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนใต้

๑)ทำความรู้จักศอ.บต. โครงสร้าง และทิศทางในปัจจุบันที่มุ่งเน้นมาสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่มากขึ้น เพื่อลดเงื่อนไขอันเกิดจากข้ออ้างของผู้ก่อการไม่สงบที่หยิบยกปัญหาด้านเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของผู้คนในการชักชวนเข้าร่วมกับกองกำลัง

๒)ภารกิจใหม่ของคุณประเวศ หมีดเส็น ได้ดูแลงานของ กองประสานงานโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริและกิจการพิเศษ (กปค.) ที่มี ๓ กลุ่มงาน รับผิดชอบงานส่งเสริมพหุวัฒนธรรม มีงานวิจัยร่วมกับวช. (สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ) ชวนสถาบันการศึกษาในพื้นที่มาร่วมงานวิจัย ชี้เป้าการวิจัย และติดตามงานวิจัย ซึ่งมีงานที่สำคัญคือ การศึกษาสถานการณ์ปัญหาของกลุ่มโอรังอัสลี และร่วมแก้ปัญหา ซึ่งได้มีการจัดสรรที่ดินของนิคมสร้างตนเองอำเภอเบตงเป็นที่อยู่ชั่วคราวและที่ดินเกษตรกรรม(ปัจจุบันรอหนังสืออนุมัติ) กำหนดขอบเขต สนับสนุนการเข้าถึงบริการของรัฐ ออกใบรับรองยืนยันสถานะเพื่อยืนยันตัวตนชั่วคราว

ข้อมูลพื้นฐาน กลุ่มมานิและโอรังอัสลีในพื้นที่เขต ๑๒ มีจำนวน ๘๑๒ คน คาดว่าเป็นกลุ่มโอรังอัสลี จำนวน ๓๑๙ คน ในจำนวนนี้แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑.กลุ่มที่อยู่พื้นราบราว ๕๐คน ต.อัยเยอร์เวง ต.เบตง จ.ยะลา(พร้อมทำบัตรประชาชน)จากทั้งหมด๑๘๐ คน ๒.กลุ่มอาศัยไม่เป็นที่อยู่ที่ราบบ้างอยู่ในป่าบ้าง และ๓.เป็นกลุ่มที่ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน ทางศอ.บต.ต้องการดูแลในกลุ่ม ๑

ทางสปสช.เขต ๑๒ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็น ๒ ทาง กล่าวคือ ๑.หากกลุ่มชาติพันธุ์ได้ ID จะทำให้สปสช.สามารถอนุมัติงบเหมาจ่ายรายหัวให้กับรพ.ได้ทันที แต่ก็ประสบเหตุกลุ่มมานิมีการเดินทางเร่ร่อนไม่เป็นที่ จึงได้ออกนโยบายให้มานิสามารถเข้าใช้บริการได้ทุกที่ และกรณีที่ ๒ ได้จัดสรรงบปรับเกลี่ยเพื่อช่วยลดภาระของโรงพยาบาลที่ให้ความช่วยเหลือดูแลกลุ่มชาติพันธุ์ในกรณีที่ไม่มีบัตรประชาชนโดยดูผลงานให้บริการย้อนหลัง ๕ ปี จัดสรรงบปรับเกลี่ยให้

ข้อสรุปการแก้ปัญหา ๑.ทั้งศอ.บต.และสป.สช.เขต ๑๒ สื่อสารไปยังรพ. รพ.สต.และกำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ให้เข้าใจแนวทางการใช้งบปรับเกลี่ยของสปสช.เขต ๑๒ ให้กลุ่มโอรังอัสลีสามารถเข้าถึงระบบบริการ และเสนอให้ทางศอ.บต.ผลักดันเชิงนโยบายกับมหาดไทยในการออกระเบียบในการทำบัตรประชาชนกรณีเทือกเขาสันกาลาคีรี โดยประสานทีมอ.ธรรมศาสตร์มาร่วมทำจีโนแกรมพิสูจน์ความเป็นคนไทย

๒.ประสานเครือข่ายในแต่ละพื้นที่(อาจเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ รพ.สต. ผญ.ฯลฯ) ที่สามารถเป็นผู้นำลงสำรวจข้อมูลจัดทำผังเครือญาติ พิสูจน์หาต้นตอของตระกูล ค้นให้ได้มาซึ่งแกนนำที่โอรังอัสลีที่ไว้ใจ เพื่อประสานการแก้ปัญหา โดยศอ.บต.สามารถเรียนรู้ประสบการณ์จากตำบลละงู ทีมงานรพ.ละงู

๓.ร่วมกันแก้ปัญหาผูกพันในฐานะเป็นคนไทยหลังจากได้บัตรประชาชน เช่น การเกณฑ์ทหาร สำรวจโอรังอัสลีกรณีได้รับสัญชาติมาเลเซีย กลายเป็นคน ๒ สัญชาติ ในการแก้ปัญหาควรอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมของโอรังอัสลีให้มากที่สุด กรณีมีบัตรประชาชนขึ้นต้นด้วยเลข 0 สามารถเข้าใช้สิทธิ์ผ่านงานสังคมสงเคราะห์อีกกองทุนหนึ่ง

๓)งานแม่และเด็ก ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ความสำคัญกับสาเหตุการตายที่มาจากความไม่พร้อมของระบบบริการ ซึ่งได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น แต่ก็มีกลุ่มเสี่ยงอันเกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษหรือความชำนาญของผู้ทำคลอดที่ควรเพิ่มการทำคลอดด้วยสูตินรีที่เชี่ยวชาญ ประกอบกับมีมิติด้านเศรษฐกิจทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่สามารถมาหาหมอได้ และปัญหาปลายน้ำ การดูแลหลังคลอดไม่ดี

๑.จากการประชุมราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย พบปัญหาภาวะครรภ์เป็นพิษเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กรณีนี้ควรรณรงค์ให้มารดาลดหวานมันเค็มอันเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงแก้ปัญหามาเข้าระบบฝากครรภ์ช้า ในส่วนระบบบริการทำครบกระบวนแล้วแต่พบจุดอ่อนในฟากของผู้มารับบริการ ยังต้องส่งเสริมสร้างความรอบรู้ มีข้อเสนอแนะให้ความรู้เรื่อง อนามัยเจริญพันธ์แก่ผู้นำศาสนา ครูอนามัย ครูโรงเรียน หมอตำแย หรือให้มีการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานโดยกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการผ่านงบของสปสช.

๒.กลุ่มเป้าหมายที่ควรพิจารณาให้ความสำคัญ จากการทำงานพบว่า ในจำนวน ๑๐๐% มี๓๐%มาเข้าระบบโดยตัวเอง อีก ๖๐% หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องออกแรงรณรงค์ กระตุ้น และกลุ่มที่มีปัญหาที่สุดก็คือ กลุ่ม ๑๐% ที่เป็นกลุ่มเดินทางไปมาระหว่างไทยและมาเลเซีย มีความเชื่อทางศาสนาสูง อาศัยอยู่ในพื้นที่ความมั่นคงสีแดงจัด(ไม่ต้องการให้มาเข้าระบบบริการของทางการไทย) ที่ใช้ความพยายามในการแก้ปัญหามากๆ ทุกหน่วยงานควรให้ความใส่ใจในส่วน ๑๐% ดังกล่าว ทั้งในส่วนองค์กรภาคประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศอ.บต.จะทำหลักสูตรครุซุสแบบเข้มข้นกับคณะกรรมการอิสลามมากขึ้น ให้มีครู ก.ประจำอำเภอ


ชาคริต โภชะเรือง  เลขานุการ กขป. รายงาน

Relate topics