ตำบลแว้ง’ อยู่ดี มีสุข ด้วยโอกาสทางสังคมและศักยภาพชุมชน

  • photo  , 960x640 pixel , 72,077 bytes.
  • photo  , 800x800 pixel , 75,291 bytes.
  • photo  , 800x800 pixel , 104,119 bytes.
  • photo  , 800x800 pixel , 107,004 bytes.
  • photo  , 800x800 pixel , 82,538 bytes.
  • photo  , 800x800 pixel , 118,655 bytes.

ตำบลแว้ง’ อยู่ดี มีสุข ด้วยโอกาสทางสังคมและศักยภาพชุมชน

งานและกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางสังคมในพื้นที่ตำบลแว้ง เป็นรูปธรรมที่แสดงให้เห็นการขับเคลื่อนทุนทางสังคมและกิจกรรม เชื่อมประสานกันอย่างเป็นระบบภายใต้แนวคิด การสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถ สร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม การเข้าถึงบริการ และการใช้ประโยชน์

โดยสามารถสรุปรูปแบบงานและกิจกรรมในการสร้างโอกาสทางสังคมเพื่อความอยู่ดีมีสุขได้ 5 กลุ่ม ดังนี้

1.การจัดสวัสดิการสังคมในชุมชน สร้างหลักประกันและบริการที่จำเป็นให้ครอบคลุมสังคม แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ‘หลักประกันทางการเงิน” หลักประกันเพื่อการยังชีพของคนในชุมชน เช่น กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลแว้ง เป็นกองทุนที่ช่วยเหลือสมาชิกในด้านสวัสดิการสุขภาพ และ “หลักประกันเพื่อแก้ปัญหาทางสังคม” กิจกรรมที่ทำให้เกิดความช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชน เช่น กลุ่มกุมปังเสน่ห์แห่งศรัทธา เป็นการรวมกลุ่มกันของเด็กและเยาวชนเพื่อเล่นดนตรี ช่วยแก้ปัญหายาเสพติดของเด็กและเยาวชน

2.การส่งเสริมการดูแล 13 กลุ่มประชากร เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต โดยการดูแล ส่งเสริมให้ประชากรทุกกลุ่มวัยได้รับสิทธิการเข้าถึงบริการพื้นฐาน ทำให้มั่นใจว่า ประชาชนตำบลแว้งจะเป็นคนที่ไม่ยากจน ไม่มีหนี้สิน หรือมีก็เพียงเล็กน้อย ได้รับสวัสดิการตามที่รัฐจัดให้ และเข้าถึงสวัสดิการของชุมชนได้ครอบคลุม

3.การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประชาชนทุกคนมีสิทธิและโอกาสในการเรียนรู้ อบต.แว้ง เป็นกลไกสำคัญในการค้นหากลุ่มประชากรเป้าหมายที่ต้องได้รับโอกาสในการเรียนรู้ และค้นหาทุนทางสังคมที่สามารถจัดการเรียนรู้ได้แบบลดเงื่อนไขหรือข้อจำกัด

4.การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน เน้นขจัดความยากจน ขจัดความหิวโหย ยกระดับคุณภาพชีวิต และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ประกอบด้วย การที่ทุกครัวเรือนมีอาหารรับประทาน มีน้ำสะอาดดื่ม อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย ไม่เป็นโรคที่ป้องกันได้ มีการลดรายจ่าย ออมเงิน ผลิตอาหารเองได้ ร่วมกันจัดหาน้ำดื่มสะอาด เป็นต้น

5.การสร้างจิตอาสา เป็นการสร้างโอกาสทางสังคมที่เป็นรูปธรรมมากรูปแบบหนึ่ง อาศัยหลักการของการมีส่วนร่วมในการเชิญชวนประชากรแว้งสมัครใจร่วมกิจกรรมทางสังคม อบต.แว้งออกแบบ กระบวนการสร้างจิตอาสา ด้วยการให้ข้อมูล รณรงค์ เชิญชวน ให้ผู้ที่สนใจมาทำงานที่ไม่มีค่าตอบแทน มีการฝึกทักษะที่จำเป็นสำหรับแต่ละงาน เช่น กลุ่มเด็กและเยาวชนสร้างสุขกำลังสาม เป็นจิตอาสาเก็บขยะในชุมชนจากการรวมตัวของเด็กและเยาวชนในตำบล ลงพื้นที่เก็บขยะ และทำความสะอาดบ้านผู้สูงอายุ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งการเป็นจิตอาสานี้กลุ่มเยาวชนทำด้วยความสมัครใจ โดยมีอบต.แว้ง สภาเด็กและเยาวชนสนับสนุน


เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ชุมชนเข้มแข็ง สสส.

ขอบคุณข้อมูลจาก เพจ สุขภาวะชุมชน

Relate topics