ประชุมทีมเลขานุการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนทั้ง ๑๓ เขตผ่านระบบ vdo conference ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)

  • photo  , 960x540 pixel , 67,053 bytes.
  • photo  , 2048x1151 pixel , 135,520 bytes.
  • photo  , 2048x1151 pixel , 204,160 bytes.
  • photo  , 2048x1151 pixel , 155,624 bytes.
  • photo  , 2048x1151 pixel , 141,777 bytes.
  • photo  , 2048x1151 pixel , 171,327 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 98,730 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 54,993 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 41,574 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 42,831 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 56,602 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 147,033 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 128,519 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 168,281 bytes.

"ปรับตัวรับโควิด-๑๙"

วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๓ ประชุมทีมเลขานุการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนทั้ง ๑๓ เขตผ่านระบบ vdo conference ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)

มีวาระสำคัญๆ ๑.หารือการทำงานของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน และทดสอบการประชุมทางไกลไปในตัว

-การสรรหากรรมการ กขป.ในตำแหน่งที่ว่างลง ปัจจุบันกล่าวเฉพาะเขต ๑๒ มีกรรมการทั้งสิ้น ๔๓ คน(จาก ๔๕ คน) ไม่มีตัวแทนองค์กรวิชาชีพ ๑ คน และตัวแทนจากกระทรวงสาธารณสุข สัดส่วนผอ.รพ. ๑ คน

-ภาพรวมการทำงานที่ผ่านมา ๓ ปีมีการขับเคลื่อนงานทั้งหมด ๕๕ ประเด็นใน ๑๓ เขต โดยมีอาหารปลอดภัย การจัดการขยะ ผู้สูงอายุอุบัติเหตุ เด็กและเยาวชน เป็นประเด็นร่วมสำคัญตามลำดับ ท่ามกลางความท้าทายสำคัญได้แก่ การเชื่อมร้อยกลไกต่างๆ การกำหนดเป้าหมาย กลไกการทำงาน แนวทางการบูรณาการ การสื่อสาร ในการดำเนินการดังกล่าวมี ๒ รูปแบบสำคัญ ได้แก่ การใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง และการขับเคลื่อนเชิงประเด็น ด้วยการปรับ Mindset การทำงาน สร้างความไว้วางใจร่วมเป็นพื้นฐาน การ mapping ต้นทุนในพื้นที่ การมีข้อมูลและการจัดการความรู้ มีวงคุยสร้างความเข้าใจ พัฒนาตัวแบบเชิงคุณภาพแล้วนำไปขยายผล การหาพันธมิตรความร่วมมือ โดยปีนี้จะมีงบ flagship ในประเด็นสำคัญ เขตละ ๑ แสนบาท สมทบกับงบปกติของทุกเขต

-แต่ละเขตได้บอกเล่าการทำงาน และจุดเน้นในปี ๖๓ สำหรับเขต ๑๒ ได้ลำดับการทำงานดังนี้ ปี ๑ กำหนดทิศทาง เป้าหมาย และกำหนด๔ประเด็นร่วมในการขับเคลือนได้แก่ บุหรี่และปัจจัยเสี่ยง สุขภาวะแม่และเด็ก สุขภาวะกลุ่มชาติพันธ์และกลุ่มเปราะบางทางสังคม และเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ การทำงานเริ่มจากปรับวิธีคิดการทำงานให้เข้าใจงานของกขป. ปี ๒. Mapping ภาคีเครือข่ายว่ามีใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร โดยยึดหลักปัจจัยกำหนดสุขภาพและภาคีภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง ประสานมาทำแผนปฎิบัติการ ๒ ปีและจัดตั้งอนุกรรมการ ควบคู่กับการประสานภาคีหลักสร้างรูปธรรมต้นแบบของประเด็น ปีที่ ๓. ปีนี้ขยายผลระดับพื้นที่จังหวัดให้ครอบคลุมพื้นที่และจัดทำเสนอเชิงนโยบาย โดยสรุปผลผลิตที่มีภายใต้งานกขป. ๑.ระบบสนับสนุนที่จะเอื้อให้เกิดการทำงาน ได้แก่ กลไกคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ระบบข้อมูลกลาง-ใครทำอะไรที่ไหน อย่างไร ๒.แผนปฎิบัติการรายประเด็นที่ใช้ขับเคลื่อนร่วมกันผ่านอนุกรรมการและคณะทำงาน ๓.ร่วมกับภาคีหลักร่วมสร้างรูปธรรมพื้นที่แสดงตัวแบบการขับเคลื่อนเชิงประเด็น ๔.ข้อเสนอเชิงนโยบายที่เสนอแนะต่อหน่วยงานต่างๆ ทั้งนี้บทบาทเลขาร่วมทั้ง ๔ ส.มีการแยกหน้าที่รับผิดชอบประเด็น ประชุมร่วมกับประธาน ผู้รับผิดชอบ และมีวงย่อยไม่เป็นทางการก่อนนำสู่คณะกรรมการชุดใหญ่พิจารณา

-การจัดงานมหกรรมระดับภาค จะเว้นวรรคไปก่อน

๒.การเตรียมรับสถานการณ์โควิด-19 ส่วนกลางจะมีการประชุมร่วมกับเครือข่ายต่างๆ มีทำงานกับพชอ.(คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ) ให้ความสำคัญกับพื้นที่ตำบล หมู่บ้าน จัดทำยุทธศาสตร์และข้อตกลงร่วม/มาตรการร่วมของพื้นที่ระหว่างหน่วยงาน และชุมชน ที่เกี่ยวข้อง

Relate topics